วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560

บทความเรื่อง “ธรรมชาติของมนุษย์ในพุทธปรัชญา” The Nature of Human Being in Buddhist Philosophy




 โดย   พระอดิเรก  อาทิจฺจพโล (โลกะนัง)[๑]        

๑. บทนำ
             บทความนี้เป็นการศึกษาเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ที่นับว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่และสลับซับซ้อนมากที่สุด หากเราจะถามว่าท่านเข้าใจเรื่องมนุษย์ดีแล้วหรือ ก็คงมีผู้ตอบยืนยันได้น้อยมากเพราะคนเรามักไม่สนใจหรือทำความเข้าใจเรื่องของตนเอง ไม่สนใจปัญหาของตนเองไปสนใจเรื่องอื่นที่อยู่ภายนอกไกลตัว เมื่อสังคมปัจจุบันได้เจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีการผลิตวัตถุต่างๆ มาตอบสนองความต้องการของมนุษย์มาก ในส่วนหนึ่งมนุษย์อาจได้รับความสะดวกสบายนั้น อีกด้านหนึ่งสิ่งเหล่านั้นได้เข้าไปมอมเมามนุษย์ ปิดบังไม่ให้มนุษย์เข้าใจตนเองยิ่งขึ้น                                    การศึกษาทำความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ที่เราเรียกกันในภาษาฝรั่งว่า “The Nature of Human Beings” นั้นจึงสำคัญมาก ก่อนจะไปพูดเรื่องอะไรเกี่ยวกับคน เช่น จริยศาสตร์ ปรัชญาสังคมและการเมืองเป็นต้น ไม่เริ่มที่เรื่องนี้ก่อนจะยุ่ง เช่น มีคนเสนอว่าเราควรปรองดองกัน การปรองดองนั้นเป็นเรื่องดี ก็แปลว่าเรากำลังเสนอหลักจริยศาสตร์อันหนึ่งให้ผู้คนในบ้านเมืองเอาไปพิจารณา แนวคิดเรื่องการปรองดองนั้นเป็นเรื่องดี และจะดีกว่านั้นหากว่าผู้เสนอได้ศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งแล้วว่าลึกๆ มนุษย์มีธรรมชาติที่จะปรองดองกันในสถานการณ์ที่เหมาะสมบางอย่าง เมื่อศึกษาธรรมชาติของมนุษย์เช่นนั้นแล้ว ต่อมาจึงเสนอหลักการทางจริยศาสตร์อันสอดคล้องกับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ อันนี้เราถือว่าชอบแล้วในทางปรัชญา เพราะการเดินไล่ไปเป็นขั้นๆ[๒]

คำสำคัญ : มนุษย์ ,ธรรมชาติ

๒.  แนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์
             ปัญหาอภิปรัชญาที่เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ขั้นแรกนั้น เริ่มจากคำถามว่า มนุษย์คืออะไร จากนั้นก็จะถามไล่ไปเรื่อยๆ ว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เห็นแก่ตัวหรือเห็นแก่ผู้อื่น หรือว่าทั้งสองอย่าง หรือว่าเป็นกลางๆ อะไรเป็นแรงผลักดันให้มนุษย์เป็นเช่นนั้น  มนุษย์จะหลุดพ้นจากพันธนาการนั้นได้หรือไม่และอย่างไร ในที่นี้ผู้เขียนได้แยกนักปรัชญาที่นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ออกเป็น ๒ พวก คือ พวกแรกเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีเฉพาะด้านรูปธรรมที่เกิดจากการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตถ่ายทอดสืบต่อกันไปจากรุ่นสู่รุ่นจนมาเป็นมนุษย์ในปัจจุบัน ความคิด สติปัญญาของมนุษย์เป็นผลจากส่วนสมองเป็นผู้สั่งการ พฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมาล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสัญชาตญาณ เช่นเดียวกับสัตว์อื่นๆ ส่วนพวกที่ ๒ มีทรรศนะว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีทั้งด้านร่างกายและจิตวิญญาณ ร่างกายนั้นมีสภาพเป็นวัตถุไม่มีชีวิต แต่ที่แสดงพฤติกรรมต่างๆออกมาเป็นเพราะมีจิตวิญญาณคอยควบคุมบังคับบัญชาให้เกิดการกระทำต่างๆ หากจิตวิญญาณดับลง ร่างกายก็ไม่สามารถจะแสดงพฤติกรรมใดๆ ออกมาได้
             ทรรศนะแรกเป็นมติของนักวิทยาศาสตร์ ที่ได้พยายามศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์นับตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคของการปฏิวัติของชาร์ลส์ ดาร์วิน ผู้วางรากฐานอันมั่นคงให้กับทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ โดยเฉพาะทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติหรือ กลไกของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ถือได้ว่าเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติวงการวิทยาศาสตร์โลก ซึ่งปรากฏโฉมครั้งแรกในหนังสือ “กำเนิดสปีชี่ส์” ของชาร์ลส์ ดาร์วิน[๓]  การค้นพบครั้งนี้ทำให้โลกตื่นตะลึง จนต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ต่อการมองโลกของสิ่งมีชีวิต นับตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียวไปจนถึงมนุษย์ จากข้อเท็จจริงที่เป็นหลักสำคัญของทฤษฏีวิวัฒนาการ ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ดาร์วินเน้นหนักไปที่รูปธรรมหรือร่างกายและพฤติกรรมต่างๆ ของสัตว์เป็นส่วนสำคัญ โดยเขาจะพิจารณาเฉพาะพัฒนาการทางด้านรูปร่างลักษณะและพฤติกรรมเท่านั้นเอง ไม่มีการศึกษาถึงอิทธิพลของนามธรรม หรือจิตวิญญาณที่มีต่อสิ่งมีชีวิตแต่อย่างใดเลย  ดังนั้น การที่ทฤษฎีวิวัฒนาการประเมินค่าของสิ่งมีชีวิตเพียงด้านเดียว คือ เฉพาะทางด้านโครงสร้างของรูปร่าง(พืชและสัตว์) และพฤติกรรมต่างๆ ของสัตว์เท่านั้น ซึ่งก็เท่ากับว่าทฤษฎีนี้ยอมรับการมีอยู่ของสสารวัตถุ หรือรูปธรรมเพียงอย่างเดียว ซึ่งทัศนคติแนวนี้กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์และโต้แย้งอย่างหนักจากผู้ทรงคุณวุฒิในปัจจุบัน[๔]
             ทรรศนะที่สองเป็นมติทางในทางศาสนา พุทธศาสนาและปรัชญาอินเดียแทบทุกสำนัก (ยกเว้นปรัชญาจารวาก) มีทัศนะแตกต่างอย่างตรงข้ามกับลัทธิที่กล่าวมาแล้ว กลุ่มที่สองถือว่าสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์นั้นประกอบด้วยชีวะกับสรีระ สรีระ หมายถึง ร่างกาย ส่วนชีวะนั้น หมายถึง ชีวิตินทรีย์ ซึ่งเป็นเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมกับจิตวิญญาณ นั่นก็หมายความว่า ชีวะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับจิตวิญญาณ (ธาตุรู้) ที่อยู่ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ นั่นเอง และชีวะกับสรีระก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่แยกกันโดยเด็ดขาด ทั้งสองสิ่งนี้ต่างก็มีความสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อนมาก ในพุทธศาสนา มีพุทธพจน์รับรองว่า “ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุผู้รู้ ผู้เห็นอย่างนี้ ควรละหรือที่จะกล่าวว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะ กับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ผู้มีอายุ เรารู้เราเห็นอย่างนี้ จึงไม่กล่าวว่า ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือว่าชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน ดังนี้”[๕] ตามพุทธพจน์ ถึงแม้ว่าชีพ (นามธรรม) กับสรีระ(ร่างกาย)จะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกัน และก็ไม่ใช่สิ่งที่แยกกันได้โดยเด็ดขาดก็ตามทีแต่ทว่าทั้งชีพและสรีระต่างมีสัมพันธ์กัน และมีความเนื่องกันอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นมติทางพระพุทธศาสนายังก้าวล้ำลึกลงไป อีกด้วยวิธีการแยกร่างกายและจิตใจของมนุษย์และสัตว์ออกจากกันและชี้ว่า ความจริงสูงสุดมี ๔ อย่าง เรียกว่า ปรมัตถธรรม คือ จิต  เจตสิก  รูป  และ นิพพาน[๖] ทำให้เราได้ข้อสรุปที่ค่อนข้างจะชัดเจนว่า ร่างกายกับจิตวิญญาณ หรือกายกับจิตอันนี้ย่อมมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างสลับซับซ้อนมาก
             ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ผู้เขียนจึงต้องการจะศึกษาวิเคราะห์ธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นแนวคิดทางอภิปรัชญาในพุทธศาสนาอย่างละเอียด โดยมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ ได้แก่ (๑) ศึกษาแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่สำคัญ และ (๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ธรรมชาติของมนุษย์ในพุทธปรัชญา ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เราเป็นอย่างไร  พระพุทธศาสนามีแนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์เป็นอย่างไร และลักษณะดังกล่าวนี้แตกต่างจากลัทธิอื่นๆ อย่างไร การเป็นสมาชิกของโลกชีววิทยาอันเต็มไปด้วยการต้องแข่งขันและเอาตัวรอด คุณค่าดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดปัญหาภายในของมนุษย์อย่างไร มีแต่คนเท่านั้นหรือที่สามารถมีความขัดแย้งภายในอันลึกซึ้งเช่นนี้ได้ และถึงแม้จะมีนักปรัชญาเห็นต่างกันมากในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ เกี่ยวกับความรู้อันนี้ที่เราสามารถยอมรับร่วมกันได้ ดังนั้นเพื่อให้ธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังเป็นปัญหาทางอภิปรัชญาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์และค้นหาคำตอบอีกครั้ง ผู้วิจัยจึงหยิบยกเอาประเด็นดังกล่าวมาอภิปรายในทัศนะของพุทธปรัชญาอย่างเป็นสัดส่วนเป็นเรื่องๆ ไป และนำเอาประเด็นที่ได้ตั้งไว้แล้วนั้นมาวิเคราะห์และสรุปผล พร้อมทั้งนำเสนอในบทความนี้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ต่อไป
๓. ธรรมชาติของมนุษย์ในทรรศนะของนักปรัชญาคนสำคัญ
             ผู้เขียนได้นำเสนอแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ ในข้อที่ผ่านมาข้างต้นเพื่อแสดงให้เห็นธรรมชาติของมนุษย์ในภาพกว้างๆ พอสังเขป ต่อไปผู้เขียนจะได้นำเสนอธรรมชาติของมนุษย์ของนักปรัชญาคนสำคัญ ต่อไป ซึ่งนักปรัชญาอธิบายเอาไว้หลายท่าน ดังต่อไปนี้
             ๓.๑  ธรรมชาติของมนุษย์ตามทรรศนะของเรอเน  เดการ์ต (Rene Descartes, ค.ศ. ๑๕๙๖ – ๑๖๕๐)   เดส์การ์ตเป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เข้าศึกษาวิชาภาษาโบราณที่วิทยาลัยเยซูอิต ที่ลาแฟล็ซ ต่อมาจึงเข้าศึกษาวิชากฎหมาย ปรัชญา และคณิตศาสตร์อย่างจริงจัง ท่านสนใจพิเศษก็คือ วิชาปรัชญา หลังจากจบการศึกษาแล้ว เดส์การ์ต ได้เดินทางไปประเทศต่างๆ ในยุโรปเพื่อหาประสบการณ์ โดยการเข้าพบและสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้รู้ทางปรัชญา ในการท่องเที่ยวนี้ นอกจากจะได้เรียนรู้ปรัชญาแล้ว ท่านยังมีโอกาสได้เรียนวิชาดนตรีและการฟันดาบจนมีความชำนาญ เดส์การ์ตเป็นนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ได้เขียนหนังสือไว้มากมาย เช่น “ข้อคำนึงว่าด้วยอภิปรัชญาเพื่อพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าและอมตภาพของวิญญาณ” “กิเลสของวิญญาณ” “วิธีหาความจริงโดยแสงสว่างตามธรรมชาติ” เป็นต้น
             ญาณวิทยาของเดส์การ์ตมีปัญหาเหมือนกันกับเบคอนที่ว่าทำอย่างไรคนจึงจะมีความคิดตรงกัน แต่แตกต่างจากเบคอนที่คิดว่าอคติคืออุปสรรคให้คนคิดไม่เหมือนกัน ส่วนเดส์การ์ต บอกว่า อคติไม่ใช่อุปสรรคที่ทำให้คนคิดไม่ตรงกัน อุปสรรคที่แท้จริงก็คือ “วิธีคิด” และวิธีอุปนัยของเบคอนนั้นไม่สามารถจะให้ความมั่นใจแก่เราได้ว่าจะพบความจริง ท่านกล่าวว่า “ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ข้าพเจ้าเคยยอมรับว่าสิ่งที่เป็นจริงและแน่นอนที่สุดก็คือ ความรู้ที่ได้จากผัสสะแต่หลายครั้งประสบการณ์ต่างๆ ก็พิสูจน์ให้เห็นความหลอกลวงของผัสสะ ดังนั้นเราจึงไม่ควรไว้วางใจกับสิ่งที่เคยหลอกลวงเรามาก่อน” เพราะเหตุนี้ เดส์การ์ตจึงประกาศว่า “ เหตุผลทางนิรนัย(Deductive Logic) เพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นบ่อเกิดของความรู้ ทุกคนมีเหตุผล สามารถเข้าถึงความรู้โดยเหตุผล และสามารถเข้าถึงความจริงโดยพลังของเหตุผล เขาสรุปปรัชญาของเขาว่า “เมื่อฉันคิด ฉันจึงมีตัวตน”(I think, therefore, I am)
             เดการ์ตได้ชื่อว่าเป็นบิดาของลัทธิเหตุผลนิยม ซึ่งเป็นลัทธิที่ใช้เหตุผลมาพิสูจน์ความคิดของตนเอง เหตุผลที่นำมาพิสูจน์ไม่ใช่เหตุผลที่เกิดมาจากประสบการณ์หรือประจักษ์ แต่เป็นเหตุผลที่เกิดขึ้นมาจากความคิดของนักปรัชญานั้นๆ  บางทีนักปรัชญาบางท่านอาจมีประสบการณ์มาแล้วก่อให้เกิดความคิด แต่ไม่ได้หมายถึงความว่านักปราชญ์ลัทธิเหตุผลนิยมยอมรับความรู้หรือความจริงที่มาจากประสาทสัมผัส แต่ที่จริงแล้ว ลัทธินี้ปฏิเสธประสบการณ์ทั้งหมดว่าไม่สามารถจะให้ความรู้ที่ถูกต้องและความรู้ที่แท้ได้ ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เหตุผลนิยมของเดส์การ์ต ถือเอาวิธีการนิรนัยเพื่อพิสูจน์ความจริงทั้งในเชิงอภิปรัชญาและญาณวิทยา วิธีนิรนัยนี้แหละเป็นการใช้ความคิดล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับประสบการณ์หรือประสาทสัมผัส(Sensation)[๗]
             ๓.๒  ธรรมชาติของมนุษย์ในทรรศนะของจอห์น ล็อก (John Locke, 1632-1704) ล็อกเป็นนักปรัชญาลัทธิประสบการณ์นิยมคนหนึ่งของอังกฤษที่มีชื่อเสียงมาก ท่านเกิดที่ซอมเมอร์  เซ็ตเชอร์ (Sommer Setshir) เข้าเรียนหนังสือระดับมัธยมศึกษาที่เวสต์มินสเตอร์และเรียนปรัชญาที่ออกซฟอร์ด จบออกมาแล้วได้เป็นอาจารย์สอนวิชาภาษากรีกวาทศิลป์และปรัชญา อาชีพของท่านได้แตกต่างจากอาชีพของบิดาที่เป็นทนายความ
             ล็อกได้สร้างญาณวิทยาจากงานนิพนธ์ชื่อ An Essay Concerning Human Understanding งานชิ้นนี้ท่านได้ใช้เวลาค้นคว้าอยู่นานถึง ๗ ปี จึงได้พบแนวทางว่าความรู้เกิดมาโดยไม่มีใครเป็นคนสร้าง หรือความรู้เกิดมาเพราะอาศัยประสาทสัมผัส ถึงคนจะมีจิต แต่จิตไม่มีความรู้มาตั้งแต่เกิด จิตมีความรู้หลังจากได้รับอารมณ์ภายนอกเข้ามาที่จิต ดังนั้นความรู้ของล็อกจึงเกิดมาจากประสบการณ์ ข้อความต่อไปนี้เป็นตัวชี้ว่าท่านคือนักประสบการณ์นิยม เมื่อถามว่า “จิต” เกิดมาจากไหน ล็อกตอบว่า “จิต” เกิดมาพร้อมกับร่างกาย พระเจ้าเป็นผู้สร้างจิตและร่างกาย ท่านกล่าวว่า “พระเจ้าสร้างจิตและร่างกายโดยไม่ได้ใช้อะไรเลย เป็นสิ่งที่เกิดอำนาจการเข้าใจของเราก็จริง แต่ถึงกระนั้นข้อความนี้ก็เป็นจริง” และ “ใคร”เป็นผู้สร้าง ล็อกตอบว่า พระเจ้าสร้างจิต แต่จิตเกิดมาพร้อมกับร่างกายนั้นเป็นของว่างเปล่า หรือเหมือนกระดาษขาว ไม่มีรอยเปรอะเปื้อนใดๆ เป็นจิตบริสุทธิ์ ไม่มีจินตภาพใดๆ ในจิตนั้น แต่พอเกิดขึ้นมาแล้ว จิตนั้นๆ ค่อยมีความนึกคิด ความรู้ ความเข้าใจตามมาทีหลัง
             เมื่อถามว่า “ความคิดหรือความรู้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร” ล็อกตอบว่า “ความคิดหรือความรู้ทุกอย่างได้มาจากประสบการณ์ ประสบการณ์คือบ่อเกิดของความรู้หรือความคิดหรือจินตภาพทุกอย่าง โดยอาศัยการสัมผัส ของอายตนะภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ แล้วสร้างการรับรู้อารมณ์การไตร่ตรอง หรือการรับรู้ภายใน เช่นการรับรู้สัมผัส ความคิด ความสงสัย การใช้เหตุผลเป็นต้น[๘] ล็อกปฏิเสธความรู้ที่ติดตัวมาแต่เกิดของเดส์การ์ต ท่านกล่าวว่า “ความรู้ทั้งหมดมาจากประสบการณ์ ปราศจากประสบการณ์เสียแล้ว ความรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้ มนุษย์จะมีความรู้ก็ต่อเมื่อมนุษย์เกิดมาและมีประสบการณ์เท่านั้น ไม่มีความรู้ใดๆ ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด จิตของมนุษย์เมื่อแรกเกิดก็เหมือนกระดาษขาว หรือกระดาษที่ว่างเปล่า ความคิด ความรู้สึก จินตภาพ ความมีเหตุผลจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออายตนะภายใน ได้สัมผัสอายตนะภายนอกเท่านั้น ถ้ามนุษย์มีความรู้ติดตัวมาแต่ตั้งแต่เกิด อย่างพวกเหตุผลนิยมกล่าวไว้มนุษย์ทุกคนย่อมมีความคิดความรู้สึก เหตุผล จินตภาพเหมือนกันหมด แต่ในชีวิตจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น มนุษย์เมื่อมีประสบการณ์อย่างไร เขาก็จะมีความรู้อย่างนั้น มนุษย์มีประสบการณ์ต่างกัน เขาก็จะมีความรู้ไปคนละอย่างไม่เหมือนกัน ดังนั้นประสบการณ์จึงเป็นที่มาของความรู้และเป็นตัวตัดสินว่า ความรู้อะไรจริงและความรู้อะไรไม่จริง[๙]

             ๓.๓  ธรรมชาติของมนุษย์ตามทรรศนะของศาสตราจารย์สมภาร พรมทา
 สมภาร พรมทา ได้กล่าวถึง ธรรมชาติของมนุษย์ไว้ในหนังสือเรื่อง พุทธปรัขญา มนุษย์ สังคมและปัญหาจริยธรรม ว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีความขัดแย้งในตัวเอง ความขัดแย้งในชีวิตมนุษย์อาจมีได้หลายประเภทและหลายระดับ มนุษย์นั้นมีสองภาวะพร้อมกันในตัวเอง อย่างแรกคือการเป็นสมาชิกในโลก “ทางชีววิทยา” ในฐานะสมาชิกของโลกดังกล่าวนี้ ดูเหมือนว่าเราจะมีสภาพไม่ต่างจากสมาชิกอื่น ซึ่งได้แก่พืชและสัตว์มีข้อเรียกร้องทางชีววิทยาพื้นฐานอยู่จำนวนหนึ่งที่สมาชิกในโลกแห่งชีวภาพจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อความอยู่รอด เช่น ต้องกินอาหาร ต้องสืบต่อเผาพันธุ์ เป็นต้น มนุษย์ต้องปฏิบัติตามกฎพื้นฐานเหล่านี้อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง และที่สำคัญคือ กฎเหล่านี้ไม่เหมือนกฎต่างๆ ที่เราคุ้นเคยในชีวิต เช่นกฎห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เพราะบรรดากฎทั้งหลายที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้น เปิดช่องทางให้เลือกหรือมีความยืดหยุ่นมากกว่า การเลือกจะทำหรือไม่ทำตามกฎเป็นกิจกรรมของสมองหรือปัญญา ซึ่งอาจพิจารณาจากหลายๆ เงื่อนไขประกอบการตัดสินใจ แต่สำหรับกฎทางชีวภาพ เราไม่มีทางได้เลือกเลยแม้แต่น้อย เมื่อหิวเราต้องกิน เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ เราต้องมีคู่ครอง ต้องมีความรัก และมีสภาพทางจิตหลายๆ อย่างที่เป็นไปเพื่ออำนวยโอกาสและกระตุ้นกิจกรรมการสืบต่อเผ่าพันธุ์ของเรา เราไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่นเลย[๑๐]

๔. ธรรมชาติของมนุษย์ในพุทธปรัชญา
           ในหัวข้อนี้ผู้เขียนจะนำเสนอแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ในพุทธปรัชญา ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างจากแนวคิดแบบตะวันตกที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อก่อนหน้า แต่มีทั้งหมดก็รวมอยู่ในแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์เช่นกัน
             ๑.มนุษย์ในโลกทางชีววิทยา  ศาสตราจารย์สมภาร พรมทาได้กล่าวถึง ธรรมชาติของมนุษย์ ว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีความขัดแย้งในตัวเอง ความขัดแย้งในชีวิตมนุษย์อาจมีได้หลายประเภทและหลายระดับ มนุษย์นั้นมีสองภาวะพร้อมกันในตัวเอง อย่างแรกคือการเป็นสมาชิกในโลก “ทางชีววิทยา” ในฐานะสมาชิกของโลกดังกล่าวนี้ ดูเหมือนว่าเราจะมีสภาพไม่ต่างจากสมาชิกอื่น ซึ่งได้แก่พืชและสัตว์มีข้อเรียกร้องทางชีววิทยาพื้นฐานอยู่จำนวนหนึ่งที่สมาชิกในโลกแห่งชีวภาพจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อความอยู่รอด เช่น ต้องกินอาหาร ต้องสืบต่อเผาพันธุ์ เป็นต้น มนุษย์ต้องปฏิบัติตามกฎพื้นฐานเหล่านี้อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง และที่สำคัญคือ กฎเหล่านี้ไม่เหมือนกฎต่างๆ ที่เราคุ้นเคยในชีวิต เช่นกฎห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เพราะบรรดากฎทั้งหลายที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้น เปิดช่องทางให้เลือกหรือมีความยืดหยุ่นมากกว่า การเลือกจะทำหรือไม่ทำตามกฎเป็นกิจกรรมของสมองหรือปัญญา ซึ่งอาจพิจารณาจากหลายๆ เงื่อนไขประกอบการตัดสินใจ แต่สำหรับกฎทางชีวภาพ เราไม่มีทางได้เลือกเลยแม้แต่น้อย เมื่อหิวเราต้องกิน เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ เราต้องมีคู่ครอง ต้องมีความรัก และมีสภาพทางจิตหลายๆ อย่างที่เป็นไปเพื่ออำนวยโอกาสและกระตุ้นกิจกรรมการสืบต่อเผ่าพันธุ์ของเรา เราไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่นเลย[๑๑]
           ๒.มนุษย์ในโลกแห่งคุณธรรม (inference) หมายถึง ความรู้ภายหลัง คือความรู้ที่ตามมาจากความรู้อื่น เช่น เมื่อเห็นควันไฟอยู่ในบ้าน เราสามารถอนุมานได้ว่าต้องมีไฟอยู่ในบ้าน ความรู้ที่ว่า“มีไฟอยู่ในบ้าน”เป็นสิ่งที่เราไม่ได้รับรู้โดยตรง แต่เรารู้ได้จากความรู้อื่น คือ การเห็นควันไฟ
           ๓.มนุษย์ในฐานะสมาชิกปัจเจกบุคคล(testimony) หมายถึง ความรู้จากตำราหรือคำบอกเล่าจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ เช่นความรู้จากคัมภีร์พระเวท ความรู้จากการบอกเล่าของฤษีหรือเทพ
           ๔.มนุษย์ในฐานะสมาชิกของสังคม (comparison) หมายถึง การเปรียบเทียบ เป็นความรู้ที่เกิดจากการรับรู้ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งสองสิ่ง เช่น เด็กที่ไม่เคยเห็นเสือ แต่รู้ว่าเสือนั้นมีลักษณะหลายๆอย่างเหมือนแมว และต่างจากแมวตรงที่ขนาด เมื่อเด็กคนนั้นได้พบกับสัตว์ตัวหนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายแมว แต่ขนาดใหญ่กว่า จึงรู้ว่าสัตว์ตัวนี้เองที่เรียกว่าเสือ
           ๕.ความขัดแย้งระหว่างความรู้สึกกับเหตุผล (postulation) หมายถึง ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อข้อเท็จจริง(X)ชุดหนึ่งจะไม่สามารถเป็นไปได้หากปราศจากข้อเท็จจริงหรือคำอธิบาย(Y)อีกชุดหนึ่ง เราจึงต้องสร้างข้อเท็จจริงหรือคำอธิบาย(Y)ขึ้นมาเพื่อรองรับข้อเท็จจริง(X)ชุดแรกนั้น เช่น เรามีข้อเท็จจริง(X)ว่า “เพื่อนเราเป็นคนอ้วนแต่เขาไม่เคยรับประทานอาหารระหว่างวัน” ข้อเท็จจริง(X)ที่เรารับรู้มานี้มีความขัดแย้งกันอยู่ คือความอ้วนกับการไม่รับประทานอาหาร คนที่ไม่รับประทานอาหารไม่สามารถอ้วนได้ คนอ้วนนั้นต้องรับประทานอาหาร ข้อเท็จจริง(X)จะเป็นความจริงได้ต้องอาศัยข้อเท็จจริงหรือคำอธิบาย(Y)ที่ว่า “เพื่อนเราคนนี้ต้องรับประทานอาหารตอนกลางคืนอย่างแน่นอน” ข้อเท็จจริงหรือคำอธิบาย(Y)ที่ว่า “เพื่อนเราคนนี้ต้องรับประทานอาหารตอนกลางคืน” เป็นความรู้แบบอรรถาปัตติที่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริง(X)ที่ฟังดูขัดแย้ง
           ๖.ความขัดแย้งของข้อจำกัดทางชีววิทยากับความอยากรู้อยากเห็น (non-perception) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับการไม่ปรากฏของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ปรากฏ เช่น เมื่อเรามองไปในชามอาหารที่ว่างเปล่า แล้วเราไม่พบอาหารอยู่เลยภายในชามใบนั้น ทำให้เราทราบว่าในชามนั้นไม่มีอาหาร ความรู้ที่ว่าไม่มีอาหารอยู่ในชาม หรือ รู้ความไม่มีอยู่ของอาหารในชามใบนั้น เป็นความรู้ที่เรียกว่าอนุปลัพธิ
           ปรัชญาอินเดียแต่ละสำนักจะให้ความหมาย คำจำกัดความ และมีการจัดกลุ่มของเครื่องมือและแหล่งความรู้เหล่านี้แตกต่างกันออกไป[๑๒]  ปรัชญาจารวาก เชื่อว่าประจักษ์เป็นแหล่งความรู้เดียวที่สามารถให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่มนุษย์ได้ สางขยะยอมรับประจักษ์ อนุมาน และศัพทะ นยายะยอมรับประจักษ์ อนุมาน ศัพทะ และอุปมานะ ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า การที่แต่ละสำนักยอมรับแหล่งของความรู้ที่ต่างกัน นั้นมิได้หมายความว่าจะปฏิเสธแหล่งความรู้ที่ไม่ได้กล่าวถึงเสมอไป หากแต่อาจจัดอยู่ในหมวดของแหล่งความรู้อย่างอื่นก็ได้ เช่น บางสำนักอาจกล่าวว่า อรรถาปัตติแท้จริงแล้วก็คือการอนุมานอย่างหนึ่ง หรือบางสำนักอาจจะจัดอนุปลัพธิไปอยู่ในกลุ่มของประจักษ์ ขณะที่อีกสำนักไปจัดอยู่ในส่วนของอนุมาน เป็นต้น
           สำหรับปรัชญาตะวันตกของนักปรัชญาสองท่านอันได้แก่จอห์น ล็อก และเรอเน เดส์การ์ด นั้นแตกต่างไปจากญาณวิทยาอินเดียทั้ง ๓ สำนัก ลัทธิเหตุผลนิยม (Rationalism) ของเรอเน เดส์การ์ด มีพื้นฐานจากแนวคิดที่อธิบายความเป็นจริงว่า จิต/อุดมการณ์ จิต (สติปัญญา) ของมนุษย์เป็นคุณลักษณะพิเศษ สามารถรู้ความจริง เน้นศักยภาพของจิต (สติปัญญา) ซึ่งมีศักยภาพที่จะเข้าใจความจริง ที่เป็นสากล และแน่นอนตายตัว ซึ่งประสาทสัมผัสไม่สามารถให้ได้ ข้อสรุปนี้ เน้นบทบาทของจิต ในการแสวงหาความรู้ด้วยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นศักยภาพของมนุษย์ในการใช้สติปัญญา (จิต) เพื่อการรู้ความจริง ความจริง/ความรู้มีลักษณะที่แน่นอน ชัดเจนและเป็นสากล ดังนั้นต้องใช้จิตมนุษย์ ที่เป็นสากล จึงจะเข้าใจกันได้ (สิ่งเหมือนกัน ย่อมเข้าใจกัน) ซึ่งสรุปความคิดได้ว่าความรู้ที่ถูกต้อง ต้องมีความแน่นอน ตายตัว  มนุษย์มีสติปัญญาที่สามารถบรรลุถึงความจริงได้  เดส์การ์ดปฏิเสธความรู้ที่ได้จากประสาทสัมผัส ของจอห์น ล็อก เขาอ้างว่า เพราะประสาทสัมผัสหลอกลวงเรา (ประสาทสัมผัส เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ขึ้นกับกาลเวลา สถานที่) ยอมรับการใช้วิธีการ “นิรนัย” กล่าวคือ การพิสูจน์ความจริง อาศัยความจริงที่มีอยู่เดิม
           ส่วนแนวคิดประสบการณ์นิยม/ประจักษ์นิยม (Empiricism) ของ จอห์น ล็อค มีพื้นฐานจากแนวคิดที่เสนอว่าความเป็นจริง เป็นสสาร (สสารนิยม) แนวคิดนี้มีลักษณะตรงกันข้ามกับแนวคิดเหตุผลนิยม ด้วยการเน้นบทบาทของประสาทสัมผัส ว่าเป็นแหล่งที่มาของความรู้/ความจริง มนุษย์ไม่มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ต้องค่อยๆ เรียนรู้จากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ซึ่งสรุปความคิดได้ว่า การรู้ความจริงตามแนวเหตุผลนิยม (วิธีการนิรนัย) มีจุดอ่อน คือ ไม่ได้ความรู้ใหม่ ส่งผลให้วิชาปรัชญาไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้กับสังคม ล็อกยอมรับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ให้ความสำคัญแก่ประสบการณ์ในระดับประสาทสัมผัสในการแสวงหาความรู้ เพื่อได้ความรู้ใหม่ มาเป็นหลักการได้มาซึ่งความรู้ในการแสวงหา/เข้าใจความจริง จึงนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาเป็นวิธีการรู้ความจริงตามแนวปรัชญา และยอมรับการได้ความรู้อาศัยใช้วิธีการอุปนัย กล่าวคือ การกระโดดจากความจริง ส่วนย่อย (ที่มั่นใจแล้ว) ไปสู่ความจริงสากล
          
๕. สรุป/วิพากษ์
           อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับทั้งสองทฤษฎีนี้นักผู้เขียนมีทรรศนะว่า เหตุผลหากปราศจากประสบการณ์ก็ไม่อาจให้ความจริงที่ถูกต้องทั้งหมดได้ ส่วนประสบการณ์หากขาดเห็นผลก็ไม่อาจให้ความรู้ที่เป็นจริงได้เช่นกัน หากเราไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนเราย่อมจะไม่สามารถรู้ได้ว่า สิ่งที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะของเรานั้นเป็นอะไรได้เลย ตรงกันข้ามหากเรามีประสบการณ์แล้ว ไม่ส่งต่อไปยังจิตเพื่อคิดและวิเคราะห์เทียบเคียงกับประสบการณ์ในอดีต เราก็จะไม่สามารถแยกแยะ แบ่งแยก จัดประเภทสิ่งที่ผ่านเข้ามาในจิตของเราได้อีกเช่นกัน ดังนั้นทั้งสองทฤษฎีนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่ มากเพราะในปัจจุบันปรากฏว่า มีความรู้หลายชนิดที่มีลักษณะที่อธิบายด้วยเหตุผลและประสบการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เราคงจะต้องยอมรับว่ายังมีอีกหลายทฤษฎีที่มีทรรศนะแตกต่างกับทั้งสองทฤษฎีนี้ เช่น ปฏิบัตินิยม อัตฌัตติกญาณ ปรากฏการณ์วิทยา เป็นต้น.

          








บรรณานุกรม
๑. ภาษาไทย

     (๑) หนังสือ
ประยงค์  แสนบุราณ, ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่,กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๘.
ฟื้น ดอกบัว,ปวงปรัชญาอินเดีย.พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม.๒๕๕๕.
สุนทร ณ รังษี, ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ,พระนคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๗
อดิศักดิ์ ทองบุญ,ปรัชญาอินเดีย,พระนคร : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๓๒.

๒. ภาษาอังกฤษ
Bhelke, S. E. and P. P. Gokhale (eds.). Studies in Indian Moral Philosophy: Problems,
concepts and Perspetives. India: Pune.
Potter, Karl H. 2003. Knowledge and Reality in Indian Philosophy. In Brain Carr and Indira.
Mahalingam (eds.). Companionn Encyclopedia of Asian Philosophy. London and New York: Routledge,







[๑] นิสิตปริญญาเอกสาขาวิชา ปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
[๒] สมภาร  พรมทา,บทความชุด “ความคิดพื้นฐานทางปรัชญาที่สำคัญของพระพุทธเจ้า”,วารสารปัญญา ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๖. หน้า ๓๓๕.
[๓] ดูรายละเอียดใน. ชาร์ล ดาร์วิน,กำเนิดสปีชีส์.นำชัย ชีววิวรรธน์และคณะ แปล.พิมพ์ครั้งที่ ๒, สารคดี,กรุงเทพมหานคร : ๒๕๕๘.
[๔] ดูรายละเอียดใน. ชัยพฤกษ์ เพ็ญวิจิตร,ศาสตร์แห่งจักรวาล 2, เคล็ดไทย,กรุงเทพมหานคร : ๒๕๔๒. หน้า ๓-๑๔.
[๕] มหาลิสูตร, ที.สี. ๙/๑๕๗-๑๕๘.
[๖] จรูญ  วรรณกสิณานนท์,ศึกษาวิเคราะห์ “การปฎิเสธอัตตา”ในพระพุทธศาสนาเถรวาท,วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต,(สาขาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๔๘).
[๗] ประยงค์  แสนบุราณ, ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่,(กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๘).หน้า ๒๒๕-๒๒๖.
[๘] เรื่องเดียวกัน.หน้า ๒๖-๒๗.
[๙] เรื่องเดียวกัน.หน้า ๒๘.
[๑๐] สมภาร  พรมทา.มนุษย์ สังคม และปัญหาจริยธรรม.พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ศยาม.๒๕๔๘.หน้า ๑๙๐,
[๑๑] สมภาร  พรมทา.มนุษย์ สังคม และปัญหาจริยธรรม.พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ศยาม.๒๕๔๘.หน้า ๑๙๐,
[๑๒] Potter, Karl H. 2003. Knowledge and Reality in Indian Philosophy. In Brain Carr and Indira
Mahalingam (eds.). Companionn Encyclopedia of Asian Philosophy. London and New York: Routledge, pp. 251-265.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์เชิงปรัชญา พระอัครสาวก

  พระธาตุพนม บรมเจดีย์                                                                                                                      ...