ปรัชญาเต๋า
...เล่าจื่อ เขียนคัมภีร์เต๋าเต๋อจิงเพียงเพราะมีคนขอให้เขียน แต่ภายหลังคัมภีร์เล่มนี้มีความสำคัญและเป็นรากฐานของปรัชญาจีน แนวคิดแบบเต๋าเป็นแบบธรรมชาตินิยม เช่นเดียวกับพุทธนิกายเซ็น ปกติปรัชญาจีนจะไม่สนใจปัญหาอภิปรัชญา และค่อนข้างจะออกไปทางจริยศาสตร์ แต่คัมภีร์เต๋าเต๋อจริง อาจเรียกได้ว่า เป็นอภิจริยศาสตร์ (Meta Ethics) ในปรัชญาจีนเลยทีเดียว
...เล่าจื่อ เป็นเมธีจีนคนแรกที่สอนเรื่องสิ่งสัมบูรณ์แห่งจักรภพ ที่มิใช่พระเจ้ามีตัวตนอย่างศาสนาเทวนิยม แต่เล่าจื่อเรียกว่า "เต๋า" แปลง่ายๆว่า "ธรรมชาติ หนทาง กฎจารีต ฯลฯ เต๋าคือสมุฏิฐานของสรรพสิ่ง สรรพสิ่งในทรรศนะของเล่าจื่อคือ ธรรมชาติสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นอมตภาวะไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด สรรพสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและดับในเต๋านี้
...ถ้านำเต๋าไปเปรียบเทียบกับคำสอนในปรัชญาพราหมณ์ "เต๋า"ก็คือพรมหณ์ในคัมภีร์ภควัทคีตานั่นเอง.
อ.อาทิจฺจพโลภิกขุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น