เป็นบล๊อคเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาและปรัชญาแก่นิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไป
วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564
บทความพิเศษ: จากไฮพาเทีย ถึง มะแซจิน แรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่
วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564
ข้อพิจารณา(ร่าง) กฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่
โดย ด๊อกเตอร์ถังขยะ
วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564
ความเหมาะสมและความจำเป็นในการใช้ยานพาหนะของพระสงฆ์ร่วมสมัย
ใคร ๆ ก็ทำกัน!
...โดยธรรมชาติแล้วตัวเราไม่มีค่าต่ออะไร หรือต่อใคร เราจะมีค่าก็ต่อเมื่อเราทำตัวให้มีค่า คนดีก็ไม่ใช่อยู่ที่กำเนิด หรือเกิดมาดี คนดีคือคนธรรมดาที่เป็นได้ทั้งดีและชั่ว แต่เขาเลือกจะทำความดี ไม่ทำความชั่ว
...เราจะเห็นคุณค่าของใครต่อเมื่อเขาตกอยู่ในสถานการณ์ที่จำต้องเลือกระหว่าง "ดี กับ "ชั่ว" ดังนั้นเราจึงไม่ตัดสินคนจากชาติกำเนิดหรือจากสิ่งที่เขาเป็น ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร เป็นคนแบบไหน เขาย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกทำ และท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่เขาทำจะเป็นเครื่องหมายบอกคนอื่น ๆ ได้ว่าเขา "เป็นคนแบบไหน" ดี หรือ ไม่ดี
..สมมุติว่า เรามีโอกาสเลือกในการที่จะทำใบขับขี่ เพื่อให้ได้สิทธิ์ในการขับรถอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย โดยผู้ให้สิทธิ์นั้นเป็นของรัฐ และรัฐก็อนุญาต คำถามจึงไม่ใช่ว่า เรามีสิทธิ์ขับรถหรือไม่? แต่คือ เราเลือกที่จะขับหรือไม่?
...พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามไปเสียหมดทุกอย่างเพราะทรงรู้ดีว่า มนุษย์นั้นมีกิเลสอย่างไรบ้าง และอนาคตก็จะเกิดมีเหตุการณ์ที่เป็นมากกว่าในยุคของพระองค์ที่นอกเหนือจากที่ทรงบัญญัติห้ามเอาไว้เกิดขึ้น จึงทรงตรัสเป็นแนวทางวินิจฉัยเฉพาะในทางพระวินัย (great authorities; principal references)เอาไว้อย่างกว้าง ๆ ความว่า
1. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
2. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
3. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
4. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
...การที่ทรงตรัสอย่างนี้ก็เพื่อเป็นหลักการตีความการปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์(ในทางพระวินัย)ในอนาคตว่า หากเกิดเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่จำเป็นต้องเลือก หรือเกิดความอิหลักอิเหลื่อในทางศีลธรรม จริยธรรม ให้ใช้หลักนี้
...การที่รัฐออกมาให้สิทธิ์แก่พระภิกษุสงฆ์สามารถเลือกได้ ไม่ใช่เรื่องทางพระวินัย เพราะรัฐไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามพระวินัยหรือหลักการตีความในทางพระวินัยแต่อย่างใด แต่พระภิกษุ-สามเณร ผู้ครองเพศบรรพชิตต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกไม่ใช่กฎหมายของรัฐ แต่เป็นกฎเกณฑ์ทางพระวินัยและมองภาพความมั่นคงของพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นเรื่องใหญ่ แม้รัฐจะให้พระใช้สิทธิ์ส่วนตนได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง
...หากเราเลือกจะใช้สิทธิ์ที่รัฐหยิบยื่นให้ก็จะเกิดกรณีต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ใช่แค่ใบขับขี่ แต่มันจะหมายถึงการที่พระภิกษุจะมีอะไร ๆ เหมือนฆราวาสมากขึ้น ลองนึกภาพว่า " พระไปกิจนิมนต์ขับรถราคาแพงไป " ฯลฯ อีกมากตามมาที่กระทบกระเทือนศรัทธาของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป หรืออาจมีกรณีเกิดอุบัติเหตุทางถนน ที่ทำให้พระ กลายเป็น ผู้ต้องหา หรือ เป็นคู่กรณี ฟ้องร้องในศาล หรือ ตกเป็นจำเลยในคดีที่เกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เพราะสิ่งเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นบนท้องถนน มากกว่าในที่อื่น ๆ
...การอ้างว่า " ที่ไหนก็ทำกัน " เป็นการใช้เหตุผลวิบัติในทางตรรกศาสตร์ เรียกว่า "การอ้างคนส่วนใหญ่ทำกัน" หรือ Fallacy ในภาษาอังกฤษ การใช้เหตุผลแบบนี้ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป เพราะสิ่งที่คนอื่น ๆ เขาทำก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งนั้นถูกต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัย หรือตามความเหมาะสม ดังนั้นจึงใช้อ้างไม่ได้...
...การเสวนานี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการสรรหาวิทยากรผู้มีความรู้จากหลากหลายสาขาอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ตำรวจ ขนส่ง นักวิชาการ สำนักงานพระพุทธศาสนา พระผู้ขับขี่ มาให้ความคิดเห็น เป็นการเปิดเวทีสาธารณะให้สนทนาซักถามพูดคุยกัน ก่อนที่จะตัดสินใจทำหรือไม่ทำ เราจะไม่ด่วนตัดสินผิด ถูก ควรไม่ควรหากเรายังไม่ได้ใช้ปัญญาขบคิด ตั้งคำถาม และวินิจฉัยอย่างรอบด้านเสียก่อน อริยชนเขาทำกันแบบนี้ แต่จะเป็นเมื่อไหร่นั้นยังไม่แน่นอนครับ ( อ. อาทิจฺจพโลภิกฺขุ )
ระบบสังคมนิยมในพระพุทธศาสนา
...ปิดคอร์สหมดทุกวิชาแล้ววันนี้เพื่อให้นิสิตอ่านหนังสือเตรียมสอบภาคเรียนที่ 2/2563 ซัมเมอร์นี้มีวิชาที่ต้องรับผิดชอบอีก 3 วิชา คือ ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น, พุทธปรัชญาเถรวาท,และพระพุทธศาสนามหายาน
...ส่วนตัวแล้วมีหลักว่า "หากจะสอนวิชาใดก็จะต้องทผลงานวิชาการในวิชานั้น ๆ ก่อนจึงจะสอน สามวิชานี้ก็อาจจะเขียนเป็นบทความ หนังสือ ตำรา หรือวิจัยก็ได้แล้วแต่เวลาและโอกาส
...เทอมหน้านี้ที่จริงมีผลงานที่เขียนไว้ก่อนหน้านี้แล้วคือหนังสือ"พุทธปรัชญา" ส่วนงานคณะสงฆ์เลิกทำไปนานแล้วครับ มันมีอะไรที่มืดมิดซ่อนอยู่ที่แก้ไขไม่ได้มากกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว เพราะมีระบบอำนาจนิยมที่อิงอยู่กับ พรบ.คณะสงฆ์ ตำแหน่งเจ้าอาวาส เจ้าคณะ ฯลฯ เป็นอุปสรรคใหญ่ ( ระบบนี้สวนทางกับแนวคิดโดยรวมของพระพุทธศาสนา)
...พระพุทธศาสนาเป็นแบบสังคมนิยม พระพุทธเจ้าทรงมอบสิทธิในการปกครองและการบริหารแก่พระภิกษุทุกรูปเท่าเทียมกัน แม้พระองค์จะทรงเป็นประธานแต่การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ นั้นทรงมอบให้คณะสงฆ์ เวลามีทรัพย์สินเกิดขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ก็ทรงให้นำเข้าส่วนกลางเพื่อแจกจ่ายให้แก่พระสงฆ์อื่น ๆ อย่างเท่าเทียมกัน พระที่ทำหน้าที่ดูแล ก็ทำแค่เพียงดูแลให้เกิดความสะดวกแก่สมาชิกเท่านั้น
...ส่วนระบบอำนาจนิยมนั้นไม่มีในพระพุทธศาสนา แต่มีมาตามกฎหมายบ้านเมือง เมื่อมี พรบ.คณะสงฆ์ มีกฎมหาเถรสมาคม, บัญญัติขึ้น พระภิกษุได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน, เป็นเจ้าคณะ ฯลฯ เป็นพระครู เป็นเจ้าคุณฯ ตำแหน่งพวกนี้มาจากระบบอำนาจนิยมทั้งสิ้น ระบบนี้มีประโยชน์คือสามารถใช้ปกครองในสภาวะวิกฤตได้ชั่วคราว (บางครั้งก็ต้องจัดการอย่างเด็ดขาด รวดเร็ว ) แต่หากปล่อยเอาไว้ในระยะยาวจะเกิดผลเสียหายร้ายแรงต่อการพระพุทธศาสนาในทีสุด เพราะจะทำให้พระสงฆ์หลงไหลในอำนาจ ยึดติดกับลาภ ยศ สุข ที่เป็นเรื่องทางบ้านเมือง
...แม้จะเป็นที่รู้กันในทางปรัชญาการเมืองว่า "ไม่มีระบบใดที่ดีที่สุด" แต่อย่างน้อยเราก็พอจะรู้ได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้ระบบใดในการทำงานบริหารคณะสงฆ์ ในพุทธประวัติพระพุทธองค์จะไม่ทรงใช้ระบบอำนาจนิยมในการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์เลย ทรงยกให้สงฆ์เป็นใหญ่เหนือพระองค์ แม้จะทรงอยู่ในฐานะผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนาก็ตามที ทั้งนี้ก็เพราะทรงต้องการให้คณะสงฆ์มีอิสระในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ แม้ในเรื่องพระวินัยก็ทรงผ่อนปรนให้คณะสงฆ์สามารถถอดถอนบัญญัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้หากเห็นว่าสมควร ที่ทรงทำอย่างนั้นก็อาจเป็นเพราะทรงอยากให้คณะสงฆ์มีอายุยืนเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกและมนุษย์ต่อไปนาน ๆ
...งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน ต้องการความเป็นอิสระสูง เช่น อิสระทางวิชาการ อิสระทางความคิด และอิสระทางการตัดสินใจ จะมีใครไปใช้อำนาจในทางใด ๆ เข้ามาสั่ง มาแทรกแซงบิดเบือนให้เป็นไปตามความต้องการของตนเองเท่านั้น รังแต่จะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อพระพุทธศาสนาในที่สุด
...ปัจจุบัน ระบบอำนาจนิยมในคณะสงฆ์ไทยหยั่งรากลึกฝังแน่นเกินกว่าจะขจัดออกไปได้ พระพุทธองค์ไม่ได้มอบให้ใครเป็นใหญ่เหนือคณะสงฆ์ในทางใด ๆ แต่การมีมหาเถรสมาคม มี พรบ.คณะสงฆ์ มีเจ้าคณะหน เจ้าคณะภาค ที่อยู่ภายใต้การควบคุมสั่งการโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงเป็นสิ่งที่หันเหทิศทางจากเดิมไปคนละทิศทาง พระสงฆ์ที่ได้ตำแหน่งดังกล่าวก็ยึดโยงผูกติดอยู่กับอำนาจที่ได้ประเคนจากรัฐ จนหลงตัวหลงตนไปกับรสชาติอันหอมหวานแห่งอำนาจ มีสถานะไม่ต่างจากการเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ สวนทางกับแนวทางดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง ( อ. อาทิจฺจพโลภิกฺขุ )
วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ศาสนากับรัฐ : คุณค่าในโลกร่วมสมัย
วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ฟ้องศาลเอาผิดเทพเจ้า
ฟ้องศาลเอาผิดเทพเจ้าข้อหาหมิ่นเกียรติสตรี
......เมื่อไม่นานมานี้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ นายจันทัน กุมาร สิงห์ (Chandan Kumar Singh) ทนายความคนหนึ่ง ได้ยื่นเรื่องฟ้องร้องเอาผิดกับพระราม เหตุจากไม่ให้ความเป็นธรรมกับนางสีดา พระมเหสี โดยทนายความคนนี้ระบุว่า สาเหตุต้องฟ้องร้องพระรามครั้งนี้ เป็นเพราะพระรามได้กระทำการหมิ่นเกียรติสตรีเพศอย่างรุนแรง คือให้นางสีดาเดินลุยไฟเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ หลังถูกทศกัณฐ์จับตัวไปนานถึง 14 ปี ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องจึงฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเอาผิดพระรามนายจันทัน ยังระบุอีกว่า สาเหตุที่ตัวเขาตัดสินใจยื่นฟ้องศาลเอาผิดพระรามครั้งนี้ไม่ใช่เพื่ออยากดัง แต่เป็นเพราะต้องการให้เกิดความเท่าเทียม และต้องการให้ศาลสร้างบรรทัดฐานในเรื่องสิทธิสตรีแก่สังคม
.....แนวคิดเรื่องนารายณ์อวตารนี้เป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของนักปราชญ์ฮินดูผู้เลื่องชื่อคือ ท่านศังกราจารย์ ที่นำมาเผยแผ่ไว้เพื่อสร้างกระแสความศรัทธาแก่ศาสนิกของตน เป็นผลมาจากก่อนหน้านั้นศาสนาพราหมณ์ได้อ่อนแอลงอย่างมาก เนื่องจากผู้คนหันไปนับถือพระพุทธศาสนาและลัทธิอื่นๆ จนห่างเหินจากศาสนาพราหมณ์จึงเกิดแนวคิดนารายณ์อวตารขึ้น โดยคัมภีร์ที่เลื่องชื่อที่สุดได้แก่ ภควัทคีตาและวรรณกรรมเรื่องรามายณะ มีอิทธิพลต่อผู้คนทุกชนชั้นวรรณะของอินเดีย ในขณะที่คัมภีร์พระเวทย์ที่เป็นรากฐานของปรัชญาอินเดีย เล่าเรียนได้แต่เฉพาะคนวรรณะพราหมณ์เท่านั้น วรรณกรรมเรืองรามายณะจึงเข้าถึงจิตใจของคนอินเดียได้โดยไม่ยาก
....จากเรื่องนี้แสดงให้เราเห็นพัฒนาการของความเชื่อเรื่องเทพเจ้าและนารายณ์อวตารที่ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติต่อเทพเจ้าในเชิงรูปธรรมมากขึ้นแม้ต้องการสื่อถึงการปฏิบัติตนของมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันแต่การดึงเอาเทพเจ้ามาเป็นตัวอย่าง ก็สะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันธ์ที่ลึกซึ้งที่พวกเขามีต่อเทพเจ้าของตน
....อย่างไรก็ตามศาลแห่งรัฐพิหารไม่รับฟ้องคดีนี้โดยแถลงว่าเป็นคดีที่ไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ มิหนำซ้ำนายจันทัน กุมาร ซิงห์กลับถูกนายรันจัน กุมาร ซิงห์ผู้เป็นทนายความเหมือนกันฟ้องต่อศาลว่าการที่นายจันทัน กุมาร ซิงห์ ยื่นฟ้องพระรามครั้งนี้เป็นการลบหลู่ศาสนาฮินดูควรจะต้องถูกลงโทษสถานหนัก ซึ่งรายงานข่าวไม่แจ้งว่าศาลแห่งรัฐพิหารจะรับฟ้องหรือไม่..
วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
พุทธพาณิชย์
โดย...ด๊อกเตอร์ถังขยะ
... วันนี้วันจันทร์ ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๔ หากจะชวนทุกท่านสนทนาธรรมกันวันนี้ก็เห็นจะไม่มีอะไรที่ไม่เหมาะสม
....อ่านพบข้อความในเว็บไซต์กระทรวงวัฒนธรรมของไทย บอกว่าสิ่งที่เป็นปัญหาเร่งด่วนของพุทธศาสนาในไทย คือ พุทธพาณิชย์
....เรื่องพุทธพาณิชย์เกิดขึ้นมานานแล้วและไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนก็ไม่อาจเข้ามาแก้ได้ เพราะพุทธพาณิชย์ในประเทศไทยเข้มแข็ง โดยมีวัดเป็นผู้ชี้นำ เจ้าอาวาสเป็นใบเบิกทางจึงมีการปลุกเสก ธุรกิจขายบุญ ธุรกิจจัดงานศพ งานบวช เช่าบูชาวัตถุสิ่งของ ฯลฯ
...วันนี้จึงอยากจะหยิบเอาเรื่องราวนี้ขึ้นมาสนทนาธรรม เมื่อสนทนากันจบแล้ว ท่านจะเข้าใจเองว่า เพราะเหตุใดไทยจึงมีพุทธพาณิชย์เกิดขึ้น โดยจะขอยกความแตกต่างกันระหว่างนิกายมหายาน กับพุทธเถรวาทในไทยมาให้อ่านทั้งสองนิกายในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อให้ท่านได้ย้อนกลับมาพิจารณาประเด็นที่เราตั้งกันเอาไว้ จะเห็นความเชื่อมโยงกันในระดับลึกของคณะสงฆ์เถรวาทไทยกับความเป็นพุทธพาณิชย์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
....อย่างไรก็ตามเรื่องเล่าทางศาสนานั้น บางเรื่องมีรายละเอียดที่ต่างกันออกไปตามนิกายและการตีความสั่งสอนจึงจะยกเอาเรื่องที่ “พระพุทธเจ้า” เสด็จไปกุสินาราเพื่อปรินิพพานมาเล่าเทียบกันระหว่างเรื่องของ “พุทธมหายาน” ของจีนและทิเบตกับ “พุทธเถรวาทของไทย” ที่เราคุ้นเคย
...เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับ พุทธประวัติ เมื่อครั้งเสด็จถึงกุสินารา ก่อนปรินิพพานเสด็จถึงระหว่างทางแห่งหนึ่ง ซึ่งมีแม่น้ำเล็ก ๆ มีน้ำไหล พระพุทธเจ้าแวะลงข้างทาง เข้าประทับใต้ร่มพฤกษาแห่งหนึ่ง ตรัสบอกพระอานนท์ ให้พับผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น แล้วปูลาดถวาย ประทับนั่งเพื่อพักผ่อน แล้วตรัสให้พระอานนท์ นำบาตรไปตักน้ำในแม่น้ำ
....“เราจักดื่มระงับความกระหายให้สงบ” พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์พระอานนท์กราบทูลว่า แม่น้ำตื้นเขิน เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่มของพวกพ่อค้าเกวียนเพิ่งข้ามแม่น้ำผ่านไปเมื่อสักครู่นี้ เท้าโคล้อเกวียน บดย่ำทำให้น้ำในแม่น้ำขุ่น แล้วกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า 'อีกไม่ไกลแต่นี้ มีแม่น้ำสายหนึ่งชื่อกุกกุฏนที มีน้ำใส จืดสนิท เย็น มีท่าน้ำสำหรับลงเป็นที่รื่นรมย์ ขอเชิญเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปที่แม่น้ำนั้นเถิด พระเจ้าข้า' พระพุทธเจ้าตรัสปฏิเสธคำทูลทัดทานของพระอานนท์ถึง ๓ ครั้ง พระอานนท์จึงอุ้มบาตรเดินลงไปตักน้ำในแม่น้ำ
....ครั้นเห็นน้ำ พระอานนท์ก็อัศจรรย์ใจนักหนา พลางรำพึงว่า 'ความที่พระตถาคตพุทธเจ้ามีฤทธิ์และอานุภาพใหญ่หลวงเช่นนี้ เป็นที่น่าอัศจรรย์มาก แม่น้ำนี้ขุ่นนัก เมื่อเราเข้าไปใกล้เพื่อจะตักน้ำ กลับใส ไม่ขุ่นมัว' ครั้นแล้ว พระอานนท์ก็นำบาตรตักน้ำนั้นไปถวายพระพุทธเจ้า
...*ลองอ่านของมหายานดูบ้างจะรู้สึกได้ถึงการกระสวนความคิดและการสอนศาสนาพุทธในรูปแบบของเขา พระพุทธองค์ทรงเดินทางไปกุสินารากับสาวกไม่กี่รูปและตรัสว่า “ ฉันกระหายน้ำมาก ไปตักน้ำมาให้ฉันดื่มเถิด” สาวกที่ร่วมติดตามรูปหนึ่งได้เดินไปตักน้ำที่บึงและพบว่าเพิ่งมีกองเกวียนข้ามน้ำผ่านไป และน้ำในบึงก็ขุ่นไปด้วยโคลนตม จึงไม่ตักน้ำมาถวาย ได้กลับมากราบทูลไปถึงสาเหตุนั้น
.....หลังจากนั้นครึ่งชั่วโมง พระพุทธเจ้าก็ได้บอกให้สาวกรูปนั้นกลับไปที่บึงอีกครั้ง เพื่อตักน้ำมาถวาย แต่เมื่อกลับไปแล้ว น้ำก็ยังคงขุ่นอยู่ จึงได้กลับมาทูลอีกครั้งว่า ยังดื่มไม่ได้ หลังจากนั้นไม่นาน พระพุทธเจ้าได้ทรงให้สาวกรูปนั้นเดินกลับไปที่บึงอีกครั้ง ก็พบว่าน้ำใสแล้ว จึงได้ตักมาถวายพระพุทธองค์ได้ทรงมองไปที่น้ำในบาตรและได้ตรัสว่า
...'เห็นวิธีที่เธอจะได้น้ำที่ใสสะอาดไหม วิธีนั้นคือปล่อยให้น้ำมันเป็นไปตามนั้น อย่าไปยุ่งกับมัน แล้วโคลนตมก็จะนอนก้นลงเอง จิตใจของเธอเองก็เป็นแบบนั้น อย่าไปรบกวนมัน ปล่อยให้มันเป็นไปตามที่มันเป็น แล้วให้เวลากับจิตใจสักหน่อย มันจะสงบลงได้ด้วยตัวของมันเอง'
...เมื่อเรามาเทียบกันระหว่างเรื่องราวทั้งสอง สิ่งที่เราได้เรียนกันในสมัยเด็กจนแก่ในรูปแบบของเถรวาทคือ “ ด้วยพระอานุภาพใหญ่หลวงเช่นนี้ เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ทำให้น้ำใส” แล้วเราก็จบเรื่องเพียงเท่านี้ ยกประโยชน์ให้ในเรื่องจบลงด้วยปาฏิหาริย์ แบบไม่ได้อะไรจากเรื่องนี้
...มาดูทางฝั่งมหายานกันบ้าง เรื่องนี้ไร้ปาฏิหาริย์ ไร้พุทธานุภาพ แต่ทรงสอนให้สาวกได้เข้าใจถึงธรรมชาติ และเทียบกับจิตใจของคนที่ไม่ต่างกับน้ำ ยิ่งไปยุ่งกับมันก็ยิ่งขุ่นแต่ถ้าปล่อยมันไว้ ทิ้งเวลาให้จิตใจบ้าง มันจะกลับไปสู่สภาพปกติของมันเองนั่นคือ จบเรื่องนี้ด้วยคำสอนถึงวิธีที่จะรับมือกับจิตใจของตัวเอง
....บางครั้ง เมื่อผมอ่านพระสูตรหรือพระไตรปิฎกของมหายาน ผมก็เข้าใจครับว่า ที่ปราชญ์ราชบัณฑิตของไทยหลายๆ ท่านได้ออกมาพูดทำนองว่า 'ถ้าไม่มีนิกายมหายาน ศาสนาพุทธคงไม่อาจจะอยู่ได้ยืนยาวในโลกได้นานขนาดนี้' และพุทธแบบเถรวาทของไทยและประเทศใกล้เคียง คือชนกลุ่มน้อยของผู้นับถือศาสนาพุทธทั้งโลก
...เราไม่ควรทะนงตนว่า “ชาวพุทธเถรวาทนั้นมีดีกว่าผู้อื่น” เพราะชาวพุทธแบบมหายานนั้นได้พิสูจน์ตัวเองมาแล้วถึงสองพันกว่าปีว่าอยู่ได้ และอยู่แบบมั่นคงในแนวความคิดและคำสอนเสียด้วย พุทธเถรวาทของไทยนั้น เป็น “แขนงต่อมาจากลังกา ” และ แต่ละอรรถกถาจารย์ ต่างก็รจนาต่างๆ กันไปต่างกับ
....“พุทธมหายาน” ในจีน “พระถังซัมจั๋ง” ท่านเดินทางจากจีน ย่ำทะเลทราย บุกป่า - ฝ่าภูเขาไปศึกษาเล่าเรียนที่วัดหรือมหาวิทยาลัยนาลันทาในอินเดียโดยตรงคือ “ ต่อกิ่ง-ทาบตา ” มาจากต้นเลย! ๑๗ ปี ที่พระถังซัมจั๋งเรียนคัมภีร์พระธรรมและศาสตร์ต่าง ๆ ที่นาลันทาเหตุที่นานเพราะท่านต้องการศึกษาจาก “ต้น-ราก” จริง ๆ ตามที่ “พระอานนท์” ถ่ายทอดธรรมจากโอษฐ์พระพุทธองค์ให้บันทึกไว้
.....นาลันทา มีหลายสำนัก-หลายคัมภีร์ ว่าด้วยศาสตร์ต่างๆ ให้เลือกเรียน เหมือนมหาวิทยาลัยมีหลายคณะ หลากวิชาให้เลือกแต่ในแต่ละคัมภีร์ศาสตร์ รวมถึงพระไตรปิฎก บันทึกไว้ด้วยภาษาสันสกฤตท่านรู้แต่ภาษาจีน เพื่อการเข้าถึง จึงต้องเริ่มเรียนภาษาสันสกฤตก่อนแตกฉานในภาษาดีแล้ว จึงเรียนชนิดแทงทะลุคัมภีร์ศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะ "พระไตรปิฎก" ที่เป็นภาษาสันสกฤตช่ำชองทั้งเนื้อธรรมทั้งภาษา สามารถถ่ายทอดพระไตรปิฎกจากต้นฉบับสันสกฤต เป็นภาษาจีนได้ ไม่เพียงเท่านั้น ถึงขั้นแต่ง "คัมภีร์ธรรม" ด้วยสันสกฤตไว้หลายเล่มจนนาลันทายกย่องให้ท่านเป็น “พระตรีปิฎกาจารย์” ตรีปิฎก = ซัมจั๋ง หมายถึงพระไตรปิฎกนั่นแหละ และ นาลันทา ด้วยนักศึกษาเป็นพัน - เป็นหมื่น เลือกให้ท่านเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยไปขึ้นเวที “ โต้วาทีธรรม ” ในการชุมนุมเจ้าลัทธิ - นิกายธรรมครั้งใหญ่ด้วยคนเป็นหมื่น-เป็นแสนท่านก็เอาชนะได้ทั้งหมด ท่ามกลางเมธีธรรมนับหมื่น - นับแสนในเวที ทุกสำนักสยบยอมยกให้กับพระถังซัมจั๋งเป็นหนึ่ง! จะว่าไปแล้ว พระพุทธศาสนาเถรวาทของไทยนั้น ตั้งเป็นนิกายขึ้นมาเปียก ๆ ตอนจากลังกาเข้ามาย่านสุวรรณภูมิ
....ส่วนมหายาน นั้น มีกล่าวอยู่ก่อนแล้ว และเป็นพุทธนิกายมหายานอยู่ในจีนก่อนจะเกิดประเทศไทยด้วยซ้ำ แต่คงเหมือนในบ้านเราตอนนี้คือมากสำนัก มากอาจารย์ พุทธเหมือนกัน แต่เพี้ยนพุทธไปคนละหน่อ-ละแนว สำนักไหนจับหูช้าง ก็บอกว่า ตามคัมภีร์บอกช้างตัวแบน ๆ สำนักไหนจับหาง ก็บอก ตามคัมภีร์บอกช้างตัวเล็ก ๆ ยาวๆ พระถังซัมจั๋งเห็นไม่เข้าท่าในสมัยราชวงศ์ถัง พ.ศ.๑๑๗๒ จึงเดินทางไปอินเดีย ณ วัดหรือมหาวิทยาลัยนาลันทาทั้งศึกษาคัมภีร์ศาสตร์ พระไตรปิฎก รวมทั้งจาริกไปตามสังเวชนียสถานรวมทั้งเวลาเดินทางไป - กลับ ทั้งหมด ๑๙ ปี ตอนกลับ พระถังซัมจั๋งนำพระไตรปิฎกฉบับภาษาสันสกฤตมาด้วย
....ถึงเมืองฉางอาน ในสมัยพระเจ้าถังไท่จง โปรดเกล้าฯ ให้แปลเป็นจีน แล้วยังทรงให้เขียน "บันทึกการเดินทางไปอินเดีย" ไว้ทั้งหมด เรียกว่า "จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง" คุยกันคร่าวๆ ที่สุดแค่นี้ ก็คงหมดสงสัย ที่ปราชญ์ราชบัณฑิตพูดว่า"ถ้าไม่มีนิกายมหายาน ศาสนาพุทธคงไม่อาจจะอยู่ได้ยืนยาวในโลกได้นานขนาดนี้" ก็มหายาน นั้น พระถังซัมจั๋ง ไปร่อนเอา "แก่นพุทธธรรม" มาจากต้นตอโดยตรงคำสอนมหายานจึง "สั้น-ง่าย-กระชับ"แต่ "ตรง-ลึก"...ส่วนพุทธเถรวาทในไทย เหมือนคนร้อยคนยืนเรียงแถว แล้วไปกระซิบใส่หูคนแรกว่า "แมวตาย"จากนั้น ให้กระซิบคำว่า "แมวตาย" ใส่หูต่อ ๆ กันไป จากคนที่ ๑ จนถึง ๑๐๐ ลองไปถามคนที่ ๑๐๐ ดูซิว่า เขากระซิบว่าอะไร?จะกลายเป็น "แม้แต้" ใกล้เคียงหน่อยอาจจะ "แม้วตาย"! คือต่อ ๆ กันมา แล้วแต่ละอรรถกถาจารย์จะแต่งเติม เรียกว่ารจนาสำนวนใคร-สำนวนมัน
...มหายานแต่สองพันปี เขาแทงตรงถึงแก่นแต่เถรวาทในไทย แทงตรงกระพี้หรือแก่น ไม่ต้องดูไกล ในรัชกาลที่ ๔ ทอดพระเนตรวัตรปฏิบัติพระสงฆ์แล้วต้องแยกเป็น “มหานิกาย-ธรรมยุต” แม้ถึงยุคนี้ - วันนี้ก็เถอะ สงฆ์เถรวาทในบ้านเมืองเรา ก็ยังเน้นอภินิหารไปถึงขั้นเป็นพุทธพาณิชย์อย่างที่เห็นกันอยู่ทุกถนนหนทางวันนี้.
-
ศาสนาแห่งเสรีภาพในปรัชญายุคหลังสมัยใหม่ Freedom Religion in Postmodern Philosophy พระอดิเรก อาทิจฺจพโล นิสิตปริญญาเอก สาขาปรั...
-
สังคมอินเดียและคติความเชื่อของสังคมอินเดียในสมัยพุทธกาล” โดย ด๊อกเตอร์ถังขยะ .....เมื่อกล่าวถึงประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาล พบว่า ประเทศอินเ...
-
พระราชมุกดาหารคณี(ยอด ยสชาโต) ... พระราชมุกดาหารคณี (ยอด ยสชาโต) หรือหลวงตายอด มีนามเดิมว่ายอด บรรเทิงใจ เกิดเมื่อวันอาท...