วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2564

ไฟสีเหลือง

 


โดย: ด๊อกเตอร์​ถังขยะ

.. จากกรณี​ที่​เป็นข่าวเกี่ยวกับ​ 2 พระสงฆ์​ เรื่องนี้คณะสงฆ์​ไทยควรจัดการเรื่องนี้ทำให้เป็นแบบอย่าง​แก่พุทธบริษัท​ชาวไทย จะไปอวยกันไม่ได้​ ถ้าจะปกป้อง ต้องปกป้องที่พระธรรม​วินัย​ ไม่ใช่ปกป้องพรรค​พวก​

... วัดสร้อย​ทองตอนนี้ดังดับ​  ไม่ใช่เจริญ​ แค่คนได้ยิน​ชื่อเขาก็เอือมระอาแล้ว​  จากจุดที่สองท่านนี้ทำอยู่​จะเห็​นได้ว่า ทำให้สังคมประณาม​ ​ พระสงฆ์​เป็นศูนย์กลาง​ของ​คุณ​ความดี​ แต่มาทำให้สังคม​ประณาม​เสียเอง​แบบนี้่.. ท่าจะแย่...

... มจร.​ ยกย่องสองท่านนี้ว่าเป็นบุคคล​ต้นแบบ​ แต่ตอนนี้​กลายเป็นต้นแบบของตัวตลก​ ล้อการเมือง​ โฆษณา​สินค้า​ ทำให้สังคมเสื่อมศรัทธา​ในองค์กร​สงฆ์​ไทย​ หากยังปล่อยไว้และช่วยกันปกป้อง​ สุดท้ายเขาก็จะเป็นแม่แบบที่ผิดเพี้ยนบิดเบี้ยว​ให้แก่คนรุ่นใหม่​

... การอ้างว่าพระที่ทำแบบเก่าๆ​ นั้นคนรุ่นใหม่​ไม่สนใจ​ ไม่ถูกต้องตามหลักการใช้เหตุผล​ และอาจมีคนแย้ง​ว่า​ เทศน์​แบบใหม่มีคนเข้าถึงธรรมะสักกี่คน​ (ความเข้าถึงธรรมวัดไม่ได้จากยอดคนดู)​ 

... พระพุทธ​เจ้าตั้งศาสนธรรมไว้เพื่อให้คนใช้ดับทุกข์​ ไม่ได้ให้คนมาศรัทธา​ในตัวพระองค์​หรือพระสงฆ์​ คนรุ่นใหม่​ตอนนี้ต่อไปก็กลายเป็นคนรุ่นเก่า​ตกรุ่น​ไปเช่นกัน​ แล้วรุ่นใหม่จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ​ ถ้าหากจะปรับเปลี่ยนไปตาม​ยุคตาม​สมัย​ ต่อไปคงหาแก่นไม่เจอ..

...​ทางที่ดีที่สุดตอนนี้ก็คือ​ พระสงฆ์​ผู้ใหญ่​ต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาดและรัดกุม​เพื่อรักษา​ไว้ซึ่งพระธรรม​วินัย​ การว่ากล่าวตักเตือน​ห้ามปรามนั้น​ คณะสงฆ์​เคยทำมาแล้ว​ แต่ก็สังเกต​ได้ชัดเจนว่าไม่ได้ผล​ ควรหาวิธีอื่น​ ซึ่งคิดว่ามีอีกหลายวิธีที่พระพุทธเจ้า​ทรงวางกฏไว้

... ครั้งนี้เป็นสัญญานเตือน​ เป็นไฟสีเหลือง​ ที่กำลังจะเปลี่ยนเป็นสีแดงในเร็วๆ​ นี้​ แม้ว่าเรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องร้ายแรงและสามารถปล่อยผ่านไปได้​ แต่ในไม่ช้าไม่นาน​ ไฟเหลือง​จะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงแน่นอน​ และเมื่อวันนั้น​มาถึง​ เราจะโทษใครไม่ได้นอกจากชาวพุทธ​เราเอง... 

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564

จดหมายเปิดผนึกถึง มจร.

 


จดหมายเปิดผนึก ถึง มจร 

(ตอนที่ 1) มูลเหตุแห่งการล่มสลาย)

    ฉันเริ่มเขียนถึง มจร.ครั้งแรก ตอนงานรับน้องใหม่ของชมรมปรัชญา มจร. เมื่อหลายปีก่อน หลังจากนั้นก็ไม่เคยเขียนถึงอีกเลย แม้ชีวิตในช่วงสิบสามปีมานี้จะวนเวียนอยู่กับ มหาวิทยาลัยแห่งนี้มาตลอด แต่ก็ยังไม่คิดจะเขียนคงเขียนอย่างอื่นเสียมากกว่า ตอนนี้คิดว่าคงถึงเวลาที่จะเขียนถึง มจร.ในบทความขนาดยาวรวมเอาประสบการณ์สิบสามปี ตั้งแต่เป็นนิสิตจนถึงเป็นอาจารย์ มจร. มาลงไว้บ้างสักเล็กน้อย เพื่ออะไรนะหรือ? ฉันเองก็ไม่แน่ใจนัก เอาเป็นว่า เมื่อคุณอ่านไปเรื่อยๆ คุณก็จะพบวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความนี้ด้วยตนเอง ไม่แน่ว่า เมื่อคนรุ่นใหม่ได้มาอ่าน บางทีองค์กรแห่งนี้อาจจะยังพอมีความหวังอยู่บ้าง ก่อนที่มันจะล่มสลายไป

1). ความสง่างาม

    วรรณกรรมโบราณของอินเดียมักกล่าวถึงหลายนิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ หนึ่งในจำนวนนั้นคือ ลูกที่สง่างามเมื่ออยู่ท่ามกลางประชุมชน ความสง่างามนั้นเกิดไม่ได้หากเราไม่มีความรู้ และความรู้ที่จะทำให้เกิดความสง่างามต้องเป็นความรู้ที่มาจากความคิดของเราเอง ไม่ใช่ความรู้ในรูปชุดอันสำเร็จรูปมาแล้วของสิ่งที่คนอื่นได้พูดไก่อนหน้านี้ คนมีเงินอาจส่งลูกไปเรียนต่างประเทศได้ แต่การที่ลูกของเขาจะมีความรู้อันสง่างามหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับเงินของพ่อแม่ แต่เกี่ยวกับตัวเขาเอง ถ้าเขาเป็นคนมีความคิด เขาก็ดีด้วยตนเอง แต่ถ้าเขาไม่ใช่คนที่มีความคิด อานิสงฆ์แห่งทรัพย์ของตระกูลก็ช่วยให้เขาได้มาเพียงกระดาษแผ่นหนึ่ง กระดาษแผ่นนั้นอาจช่วยให้เขาดูเหมือนจะสง่างามได้ตราบเท่าที่เขายังไม่ได้พูดแสดงความคิดออกมา “หิโตปเทศ” กล่าวเอาไว้ตอนหนึ่งว่า " คนโง่ที่สวมใส่แพรพรรณอันงดงามอาจไปนั่งปะปนอยู่ในหมู่ของนักปราชญ์ในที่ประชุมได้ เขาอาจจะหลอกคนอื่นๆ เชื่อว่าเป็นคนฉลาด แต่เมื่อใดที่เขาเอ่ยปากพูดแสดงความคิดเห็นออกมา แพรพรรณอันงดงามนั้นก็จะไร้ความหมายทันที " แผ่นปริญญาบัตรและเสื้อครุยนั้น บางครั้งก็ซื้อได้ด้วยเงิน แต่ของพวกนี้ก็ไม่ต่างจากแพรพรรณราคาแพงที่คลุมกายของคนโง่ตามที่ “หิโตปเทศ”กล่าวเอาไว้ คนเรานั้นต้องพูดสักวันหนึ่ง ทำอย่างไรศิษย์ของเราจึงจะยืนอยู่ท่ามกลางสมาคมของผู้รู้และกล่าวแสดงความคิดออกมาได้ อย่างสง่างาม 

    พันธกิจทางจริยธรรมของอาจารย์มหาวิทยาลัยและเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือ " การทำตนให้สง่างามทั้งวิชาการและจริยธรรม " คำว่า อาจารย์ กับ ครู แม้มีความหมายที่แตกต่างกันแต่ก็ใช้ร่วมกันได้ หลายคนแม้มีการงานและหน้าที่ในการสอน แต่ก็ไม่เรียกว่า อาจารย์ หรือครู เพราะปัญหาที่มันไม่เป็นไปตามความหมายที่แท้ของคำ ๆ นี้นั่นเอง มีภาษิตต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับเรืองดังกล่าว ว่า 

        "มีแต่ปาก วากวอน สอนคนอื่น
        มีดาดดื่น เหลือรับ นับไม่ไหว
        สอนตนเอง ฝึกตนเอง บ้างเป็นไร
        สอนเขาได้ ตนทำได้ นั่นแหละดี"(พระเทพวรมุนี)
        
        "บัณฑิต พึงตั้งตนไว้ในที่อันสมควรก่อน
        สอนผู้อื่นภายหลังจึงไม่มัวหมอง" (พระพุทธเจ้า)

        "ยิ่งคุณเรียนรู้มากเท่าไหร่ ควรจะยิ่งมีจิตใจที่กว้างขวางมากขึ้นเท่านั้น ในขณะที่
        มันจะต้องทำให้คุณรู้สึกตัวเล็กลง"
        "ตัวอย่างที่ดีดีกว่าคำสอนปฏิบัติดีดีกว่าขอพร เป็นแต่สอนทำไม่ได้ไม่ใช่ครู "
      
    ในโลกแห่งการดิ้นรนเอาตัวรอด ต่างคนก็ต่างเห็นแก่ตัวของตนเป็นที่ตั้ง มนุษย์ในอุดมคติทางศาสนากลายเป็นสิ่งเลื่อนลอยในสายตาของผู้คน "นิพพานเป็นเรื่องที่เอาไว้พูดเพื่อเรียกศรัทธา จากบรรดาศาสนิก เพื่อให้พวกเขาบริจาคให้กับวัด แต่ไม่เคยมีใครเคยคิดจะไปจริง ๆ "
    วิถีของครูบาอาจารย์ทางศาสนาที่ในอดีตมีฐานะเป็นเหมือนผู้นำทางจิตวิญญาณ เป็นครุ ได้กลายเป็นเพียงข้าราชการ พนักงานภาครัฐ ที่ใครมีวุฒิการศึกษาสูง ๆ และสอบเข้าได้ ก็ได้เป็นแล้ว การกลับมาสู่วิถีทางที่ถูกต้อง เป็นเรื่องน่าหัวร่อ และดูถูกดูแคลน ผู้คนพยายามแสดงให้โลกเห็นว่า " การมีชีวิตรอดด้วยการอยู่ในตำแหน่งที่สูง ๆ การตะเกียกตะกายขึ้นไปตายบนหอคอยที่ประดับด้วยยศฐา อันอุดมด้วยเพชรนิลจินดา คือ วิถีที่ดี และเหมาะสม"
    วิถีชีวิตแบบนี้จึงเข้ากันไม่ได้กับวิถีของ "ผู้สอนศาสนา" มีเพียงวิธีเดียวที่พอจะยอมรับได้ คือ เขาต้องเดินตามวิถีของพระศาสดา และตะกายลงมาจากปราสาทราชวัง ดำเนินอยู่ในป่า ดำรงชีวิตด้วยอาหารเพียงเล็กน้อย ไร้ยศ ไร้ตำแหน่ง หลีกเร้นอยู่ในป่าเขา สำหรับภาวนา เพื่อกลับสู่วิถีที่ถูกต้องแท้จริง และสอนในสิ่งที่เขาค้นพบจากการกระทำของเขาเอง อันจะทำให้ การเป็นอาจารย์ หรือ ครู ในทางศาสนานั้นมีความงดงาม สง่างาม ทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และในที่สุด ดำเนินรอยตามอย่างพระอรหันต์ และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาไม่แล้วเขาก็จะเป็นเพียงผู้ที่สอนวิชาและลัทธิที่ผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ และพาบรรดาศาสนิกหลงโลก หลงทาง เป็นเพียงผู้อาศัยศาสนาเพื่อหาเลี้ยงชีพเท่านั้น หาใช่ครู อาจารย์ ที่แท้จริงไม่ และเมื่อหัวใจสำคัญของมหาวิทยาลัย คือ ตัวครู อาจารย์ ไม่ใช่ครูอาจารย์ที่แท้ก็เท่ากับว่า นี่เป็นมูลเหตุของการล่มสลายของ มจร.ข้อแรก


2) ความยุติธรรมโดยธรรมชาติ
    ข้อต่อมาคือ การขาดลักษณะแห่งความยุติธรรม มจร.ที่อาตมาพูดถึงนี้ อาจไม่เหมือนกับ มจร.ในความคิดของใครหลายคน หรือ มจร.ในสายตาคนนอก การมองมจร.ต้องมองจากข้างในจึงจะเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อเริ่มก้าวเท้าเข้าสู่รั้ว มจร. คุณจะไม่เห็นอะไรมากไปกว่ามีพระเณร ชี้เดินตามท้องถนนภายในมหาวิทยาลัย และนึกสงสัยว่า “ท่านมาทำอะไรที่นี่”  พระก็ต้องศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติธรรมเพื่อมุ่งสู่ความบริสุทธิ์แห่งจิตใจบรรลุคุณธรรมวิเศษตามอุดมคติของพระศาสดามิใช่หรือ แต่ที่เห็นอยู่ต่อหน้าในขณะนี้คืออะไร สถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ในความคิดคนนอกนั้นไม่ได้มีความหมายมากไปกว่านี้ แต่หากมองอย่างคนที่เรียนมจร. แล้ว มจร.ไม่ได้มีความหมายอื่นใด มากไปกว่า สถาบันทางการศึกษาแห่งหนึ่งมีหน้าที่ให้ความรู้แก่นิสิตนักศึกษาที่เข้ามาเรียน และให้ปริญญาในระดับต่างๆ  ต่างกันก็เพียงแต่อาภรณ์ที่สวมใส่อาจเป็นจีวร หรือ ชุดขาวของแม่ชี และศรีษะที่โล้น เท่านั้น แต่ระบบอื่นๆ  นั้นก็เหมือนกัน มีพิธีประสาทปริญญาบัตรเหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ
    ลักษณะหนึ่งของธรรมชาติ คือ ธรรมชาติจะไม่มีการเสแสร้งหรือแกล้งทำธรรมะชาตินั้นตรงไปตรงมาเสมอ ไม่ว่าจะกับคนหรือสัตว์ หรือสิ่งไม่มีชีวิตก็ตามธรรมชาติจะไม่เลือกว่า เป็นพระ หรือเป็นฆราวาสและเลือกจะปฏิบัติกับสิ่งหนึ่งแตกต่างจากสิ่งหนึ่ง  ธรรมชาติของมจร. ก็เช่นกัน แม้ว่าจะเป็นพระเป็นเณร เป็นชี หรือเป็นฆราวาส เมื่อเข้ามาเป็นนิสิตของมจร.ย่อมจะได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน แม้นิสิตด้วยกันเองก็รู้สึกอย่างนั้น ดังนั้นเราจะเห็นภาพที่คนนอกมองแล้วอาจจะดูไม่เหมาะสม หลายอย่างครั้งหนึ่งแท็กซี่เข้าไปส่งอาตมาที่ มจร. ในระหว่างที่ขับรถจะเข้าหอพักคนขับแท็กซี่คันนั้นก็พูดขึ้นมาว่า “ พระอาจารย์เห็นมั้ยครับมีพระนั่งคุยใกล้ชิดกันกับแม่ชี นั่งติดกันเลย ไม่เหมาะสม นั่นไง ตรงต้นไม้นั่น”อาตมามองตามไปเห็นแล้วก็เลยพูดกับคนขับรถแท็กซี่คันนั้นไปว่า“เห็นทุกวันนั่นแหละโยม” แท็กซี่แกก็บ่นพึมพัมของแกจนถึงหอพัก ซึ่งตอนนั้นก็คงไม่ต้องอธิบายอะไรต่อไป คงปล่อยให้เขาคิดของเขาต่อไป

    เหตุการณ์ภายในมจร.นั้น คนนอกเข้ามาเห็นเป็นของใหม่ แต่คนในจะเห็นเป็นของเก่า เวลามีคนพูดถึง มจร. พวกเขาพูดถึงพระพุทธศาสนา พูดถึงพระอริยสงฆ์ พูดถึงพระพุทธเจ้า หรือพูดถึงมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  เหตุการณ์ที่คนขับรถแท็กซี่เห็นนั่นไม่ใช่เขาไม่เคยเห็น เพราะในมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ก็มีให้เห็นดาดเดื่อน มันจึงไม่แตกต่างกันเมื่อนำมามองเข้าไปในมจร. แต่การมองโดยมีอคติว่า นี่เป็นพระ นี่เป็นชี นี่เป็นโยม เข้าไปร่วมด้วย โดยไม่ได้มองว่าเป็นนิสิตนักศึกษาและเป็นมนุษย์คนหนึ่งนั่นมีปัญหา และที่ผ่านมาปัญหามันก็เกิดขึ้นเพราะมายาคติเหล่านี้  แต่ มจร.เองก็ดูเหมือนจะเข้าใจความอึดอัดใจของคนนอก จึงพยายามมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ ออกมาเพื่อป้องกันความเสียหายเหล่านี้ด้วย ซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจของนิสิตนักศึกษาหรือแม้แต่คณาจารย์มากนัก เพราะขัดแย้งกันกับหลักการของความเป็นมหาวิทยาลัย ของ มจร.อย่างแรง

   มหาวิทยาลัยนั้นต้องมีความยุติธรรมโดยธรรมชาติ ไม่อาจเลือกปฏิบัติโดยอ้างสถานะของบุคคลได้  ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร ไม่ว่าเขาจะมีสถานะใด นับถือศาสนาใด เชื้อชาติใด นุ่งห่มอย่างไร มจร.จะต้องไม่กำหนดว่า เขาไม่ควรจะทำอย่างนั้น อย่างนี้ ด้วยเหตุแห่งสถานะโดยเด็ดขาด การห้ามพระคุยกับโยม ห้ามนั่งใกล้ชิดกัน กฎพวกนี้ออกมาไม่ได้ด้วยเหตุผลดังกล่าว มีครั้งหนึ่งพระพม่า แตะบอลกันบริเวณหอพัก แล้วมีคนนอกเข้ามาเห็นเขาก็ตำหนิติเตียน มจร.ก็ออกกฎมาว่า ห้ามพระเตะฟุตบอล แม้จะเป็นเรื่องที่ดีงามตามพระธรรมวินัย แต่มหาวิทยาลัยจะกลายเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสถานะของบุคคล ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล และหลักการอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยควรต้องมีความยึดมั่นในหลักการนี้ ไม่ใช่ทำลายมันเสียเองอย่างที่เคยทำมา

    ความยุติธรรมนี้ยังต้องรวมไปถึงการชำระค่าเล่าเรียนอีกด้วย มจร.มีระบบการจ่ายค่าเล่าเรียนที่แปลกประหลาดคือ ถ้าเป็นพระจ่ายครึ่งจำนวน แต่เป็นฆราวาสจ่ายเต็มจำนวน ยกตัวอย่างค่าเทอมในระดับปริญญาตรี ตามมาตรฐานของ มจร. จะอยู่ประมาณ  7,000 บาท / เทอม แต่หากเป็นพระภิกษุ หรือสามเณร จะได้รับการลดจำนวนลงอยู่ที่ประมาณ 3,500- 4,000 บาท/เทอม ด้วยเหตุผลว่า “ท่านเป็นพระ เณรไง หาเงินเองไม่ได้ เลยต้องลดราคาเพื่อช่วยเหลือให้โอกาสพระเณรที่ไม่มีทุน” แต่หากเป็นฆราวาส เหตุผลนี้จะไม่นำมาพิจารณาร่วมด้วยเพราะ มจร.ให้เหตุผลว่า ฆราวาส ทำงานหาเงินเรียนเองได้ ซึ่งทำให้นิสิตฆราวาสที่เคยเข้ามาเรียนในมจร. ต้องเก็บความขับข้องใจนี้เอาไว้แล้วก้มหน้าจ่ายค่าเล่าเรียนในอัตราเต็มกันต่อไป เพราะอย่างน้อย มจร.ก็ยังถูกกว่า มหาวิทยาลัยอื่นอยู่ดี หากเทียบกันแล้ว

    เมื่อมจร เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสถานะแล้ว มจร.ย่อมสูญเสียความน่าเชื่อถือ และความเป็นกลางทางศีลธรรม เพราะไม่มีมหาวิทยาลัยแห่งใดเขามีระเบียบดังกล่าว ทำไมเราถึงเลือกปฏิบัติกับฆราวาสแตกต่างจากพระภิกษุที่เป็นนิสิต แต่กับอาจารย์เรากลับให้ค่าตอบแทนเท่ากันในอัตราปกติ เช่น อาจารย์ตำแหน่งบรรจุ ก็จะได้รับอัตราเงินเดือนตามอัตราราชการจากงบประมาณแผ่นดิน จำนวนเต็มตามวุฒิ เช่นเดียวกับฆราวาส โดยทั่วไป ก็เพราะว่า ระเบียบราชการตรงนี้ไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสถานะบุคคล เพราะถ้าคิดตามนี้ การจ่ายเงินเดือนให้กับพระก็ถือว่า ผิดพระธรรมวินัยเช่นกัน แต่ก็ไม่มีกฎหมายออกมาห้าม ทั้งนี้เพราะขัดกับหลักความเท่าเทียม ความยุติธรรมดังกล่าว แต่มจร. ก็ไม่ได้นำความยุติธรรมนี้มาใช้อย่างตรงไปตรงมา เอื้อประโยชน์ให้กับพระนิสิต มากกว่า นิสิตฆราวาส และมีท่าทีว่าจะเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกยาวนาน

    อาจารย์หลายท่าน ตัดสินใจละทิ้ง มจร.เพราะเบื่อหน่ายกับระบบเส้นสาย เด็กท่าน หลานเธอ และพวกประจบสอพลอเจ้านาย รับจ้างทำวิจัย รับจ้างทำวิทยานิพนธ์ให้อาจารย์และนิสิต ฯลฯ อีกมากมายที่เป็นการละเมิดจริยธรรมทางวิชาการ ภาพของวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในอุดมคติหายไปหมดสิ้น กลายเป็นองค์กรอะไรก็ไม่รู้ ที่อาศัยพระศาสนาบังหน้า เพื่อที่อาจารย์ภายในจะได้เสพสุขสำราญกับลาภ ยศ เงิน ทอง และชื่อเสียงประดามี แม้จะรู้ทั้งรู้ว่า "สิ่งที่ทำอยู่นั้นผิดศีล" แต่ก็ไม่มีใครยี่หระเพราะได้สถาปนาตัวตนไว้ในตำแหน่งที่มั่นคง( บรรจุแล้ว ) แล้วนั่นเอง ทีนี้อาจารย์ใหม่ๆ ที่พึ่งเริ่มต้นเริ่มแรกก็จะก้มหน้าก้มตาทำงานหนัก เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน(ของตน)โดยคิดว่า มันเป็นวิธีที่ถูกต้อง และดำเนินไปตามกฎ ระเบียบ แบบแผนประเพณีอันดีงาม คนเหล่านี้กลับพบว่า ไม่ได้รับความสนใจใยดีจากผู้บริหารที่นั่งคอยคิดจะตักตวงผลประโยชน์ใส่ตนอยู่ทุกวัน หากเขาไม่ได้ให้ประโยชน์ใด ๆ ต่อเจ้านายของเขา เขาก็จะได้รับเพียงเศษอาหาร (เงินเดือนอันน้อยนิด) เพื่อแลกกับการมีงานทำ 

    ดังนั้นเขาถูกสอนว่าอยากก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและมีการงานที่มั่นคงมันจึงไม่ใช่การที่เขาเป็นคนดี แต่คือ การที่เขาต้องทำให้เจ้านายพอใจ ด้วยการช่วยทำให้เจ้านายได้รับประโยชน์สูงสุด เช่น เขียนงานให้เจ้านาย ทำวิจัยให้ เพื่อให้เจ้านายนำไปใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการ หากเขาทำสำเร็จ เจ้านายจะพอใจเขา และอวยประโยชน์ต่าง ๆให้เขา ความยุติธรรม ความมีศีลธรรม กลับกลายเป็นสิ่งที่จะมาขัดขวางเสียด้วยซ้ำหากอยู่ในองค์กรแบบนี้ แต่ถ้าคุณเป็นคนชอบประจบสอพลอ และไม่ต้องคิดคำนึงว่า การกระทำใดผิดจริยธรรม ขอเพียงเจ้านายชอบใจเท่านั้นคุณก็อยู่ได้และเจริญก้าวหน้าไปเท่าที่ เจ้านายคุณมีอำนาจอยู่ แต่หากเจ้านายคนนั้นหมดสิ้นอำนาจแล้ว คุณก็ต้องไปประจบคนใหม่ต่อไป นี่เป็นชะตากรรมของ คนในองค์กรที่น่าสงสาร ไม่ต่างอะไรกับระบบทาส


3)  การปกปิดความล้มเหลว 

    เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ การไม่ยอมรับความล้มเหลวของตนเอง และดันทุรังเพื่อที่จะอยู่ในตำแหน่งที่ล้มเหลวนั้นต่อไป โดยไม่คิดจะถ่ายโอนอำนาจให้กับผู้อื่น เป็นเหตุแห่งการล่มสลายได้อย่างรวดเร็ว เพราะเมื่อผู้บริหารไม่ยอมรับความล้มเหลวที่ตนเองได้ก่อไว้ และไม่ยอมลงจากอำนาจ ก็ทำให้เกิดความล้มเหลวซ้ำ ๆ จน มจร.เองนั้นบอบช้ำจนถึงที่สุด การจัดการศึกษา ที่วน ๆ อยู่แต่เรื่องเดิม ๆ  ไม่มีอะไรใหม่ในการประชุม ไม่มีอะไรเปลี่ยน แม้ว่าจะประชุมกันสักกี่ครั้ง ก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรได้  เพราะความคิดแบบเดิมๆ คนเดิมๆ วิธีการเดิมๆ ไอน์สไตน์บอกว่า มีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่ทำแบบเดิมๆ ซ้ำ ๆ แต่หวังให้ได้พบความก้าวหน้า และค้นพบสิ่งใหม่ๆ 

   การเรียกประชุมเป็นเหมือนการเรียกมาเพื่อจะถามว่า ใครมีอะไรใหม่ และเมื่อแต่ละคนเสนอความคิดเห็น ก็จะถูกบล๊อคจากคนที่มีความคิดแบบเดิมๆ และถ้ายิ่งความคิดใหม่ๆ นั้นมันทำให้คนส่วนใหญ่เห็นว่า พวกตนจะยุ่งยาก และต้องลงแรงหนักขึ้น หรือผลประโยชน์ส่วนตนถดถอย ก็จะยิ่งถูกมองผ่านไป ดังนั้นวิธีการที่คนกลุ่มนี้ใช้ในการบริหารการศึกษาก็คือ การที่คิดว่า เอาคนใหม่ ๆ หนุ่มๆ เข้ามาทำงาน เพื่อหวังจะให้ได้พบสิ่งใหม่ ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่น่าขบขัน  เพราะความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ และเรียนรู้ผิดถูก

  ผู้บริหารที่เอาตนเองเป็นศูนย์กลางอำนาจมาอย่างยาวนาน ทำให้ มจร.กลายเป็นบริษัทส่วนตัว ที่วนเวียนอยู่แต่กับผู้บริหารหน้าเดิมๆ ไม่มีการผลัดเปลี่ยน แม้จะมีระเบียบที่ให้เปลี่ยนทุก 4 ปี แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า คนเก่าก็สามารถเป็นต่อไป เพื่อเปิดช่องให้สืบทอดอำนาจ วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้การบริหารแบบเผด็จการในองค์กรที่เป็นเสรีชน การปกปิดความล้มเหลวของการบริหาร ด้วยการพึ่งบุคคลากรของสถาบันและหน่วยงานอื่น ๆ มีวิธี คือ ทำเสมือนว่าองค์กรของตนมีบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพ โดยการนำเสนอผลงานการฝึกอบรมบุคคลากร  การไปสัมมนาและเรียนรู้มาจากองค์กรอื่นในระดับเดียวกัน การหลอกลวงนี้จะต้องทำให้เห็นได้ทั่วไป เพราะการไปอบรม ไปสัมมนา ไปเรียนรู้จากภายนอกสะท้อนให้เห็นความประสิทธิภาพของบุคคลากรในองค์กร  โดยพยายามหลีกเลี่ยง ปกปิดข้อบกพร่องอันหนึ่งเอาไว้ คือ การไม่เคยเป็นผู้นำทางวิชาการให้กับหน่วยงานอื่น ๆ "   ทำทีเสมือนว่าบุคคลากรที่ไปอบรม ไปสัมมนากลับมาทุกปี มีการสร้างสรรค์ผลงานที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เกิดสิ่งใหม่ๆ เกิดผลงานใหม่ๆ ขึ้น   นี่คือความล้มเหลวที่จะต้องถูกปิดบังเอาไว้ การพึ่งพาองค์กรแม่ เพื่อให้หน่วยงานย่อยเป็นที่ยอมรับของสังคมและหน่วยงานอื่นๆ จะมีประโยชน์กับองค์กรที่ล้มเหลวได้เป็นอย่างดี และมักจะเกิดขึ้นกับหน่วยงานที่มีสาขาหลายสาขา เวลาเกิดวิกฤต


4) การทำคิดแบบแยกส่วน

  การศึกษาที่ถูกต้องจะส่งเสริมให้มนุษย์มีเอกภาพในความคิดความรู้สึกและโลกทัศน์อย่างลึกล้ำความเป็นเอกภาพนี้ (ไม่มองแบบแบ่งแยก) ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในการศึกษากระแสหลักที่ดำเนินอยู่ทุกวันนี้ ที่มุ่งเน้นให้ยอมจำนนเป็นทาสของค่านิยมของคนส่วนใหญ่ และให้ความสำคัญเกินควรกับเทคนิค วิธีการ โดยไม่มีลักษณะอันสร้างสรรค์ที่เกิดจากความเข้าใจของตนเอง" (กฤษณะ มูรติ) ............(ต่อ)...........


5) ปรัชญาการศึกษาในทรรศนะของพระพุทธเจ้า
..หากมจร. เป็นมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนา ก็หมายความว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้ใช้แนวทางปรัชญาการศึกษาของพระพุทธเจ้าเป็นหัวใจสำคัญ หากไม่ใช่ก็ไม่ใช่มหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนาอย่างที่กล่าวอ้างกัน ซึ่งเมื่อดูอย่างรอบด้านแล้ว ปรัชญาการศึกษาของพระพุทธเจ้า ทรงเน้นไปที่การออกจากวัตถุนิยม เพราะทรงเห็นว่า "หากความเจริญทางวัตถุมีมาก แต่ความเจริญทางจิตใจน้อยลง โลกมนุษย์จะเป็นเพียงนรกที่มีสีสันสวยงามเท่านั้น ผู้คนจะได้รับแต่ความทุกข์ทรมาน ชาวโลกควรตระหนักในข้อนี้ หากสังคมเจริญทางด้านวัตถุมากจนเกินไป จะประสบปัญหาอาชญากรรม คอร์รัปชั่น ยาเสพติด ฯลฯ ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งเหล่านี้คือ สัญญาณของการที่ศีลธรรมตกต่ำลงนั่นเอง
...การปลูกฝังให้เด็ก ๆ เชื่อว่า " ให้ตั้งใจเรียน จะได้ทำงานดีๆ มีเงิน มีฐานะร่ำรวย จะได้สบาย " เหมือนการสอนให้เด็ก ๆ มุ่งแสวงหาลาภ ยศ สุข สรรเสริญในฝ่ายวัตถุนิยม เพราะสอนกันแบบนี้ จึงทำให้มนุษย์กลายเป็นพวกทุนนิยมและบริโภคนิยม แสวงหาแต่เงินตรา เหินห่างการพัฒนาจิตใจ และสติปัญญาอย่างที่ควรจะเป็น การศึกษาจึงผิดทิศผิดทาง แสวงหาความรู้เพื่อนำไปใช้แสวงหาเงินตรา สั่งสมความร่ำรวย และยกฐานะทางเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยที่สอนในแนวทางนี้จึงผิดทิศผิดทาง
...พระพุทธเจ้าก็ทรงประสบกับปัญหานี้มาก่อน จึงทรงละทิ้งลัทธิวัตถุนิยม บริโภคนิยมในสมัยของพระองค์เสีย ออกบวชเพิ่อการแสวงหาหนทางหลุดพ้นจากสิ่งเหล่านั้น เมื่อทรงใช้เวลา ๖ ปี ในการวิจัยทางจิต ก็ทรงค้นพบว่า การจะพัฒนาเพียงด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้ไม่อาจพัฒนาชีวิตจนเจริญถึงขีดสุดได้ ที่ทรงเรียกว่า ทางสุดโต่งสองสาย ทรงเสนอทางสายกลาง คือการพัฒนาควบคู่กันไปอย่างชาญฉลาด
.....พระพุทธศาสนาแบบของพระพุทธเจ้านั้น เล็ก กระทัดรัด งดงาม ออกแบบมาพอเหมาะพอดีสำหรับใช้ดับทุกข์ในชีวิต มีเหตุผลหนักแน่นในตัวเอง ซึ่งจากรากฐานที่เล็กกระทัดรัดแต่อัดแน่นที่ว่านั้น เมื่อเราคิดขยายให้กลายออกมาเป็นปรัชญาในลักษณะต่างๆ เช่น ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาสังคมและการเมือง ผลที่ได้ก็ย่อมหนักแน่นและงดงามตามไปด้วย
...ทรงค้นพบว่า การศึกษาที่ถูกต้อง คือ เพื่อการออกจากทุกข์ มิใช่เพื่อการสั่งสมความสุข อำนาจวาสนา บารมี ทรงเสนอหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้คนได้นำไปเป็น " id plan " ในการศึกษาพัฒนาตนเองและสังคมให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง โดยเมื่อขยายออกก็จะได้ ๘ ประการ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ชาวพุทธทั่วโลก ยกย่องว่าเป็นหลักธรรมที่ดีที่สุดของการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์
...มจร.ควรมุ่งไปในทิศทางนี้ แต่ปัจจุบันกลับไม่เป็นเช่นนั้นมีความพยายามจากคณาจารย์บางคน พยายามผลักดันให้เปิดสาขาวิชาที่ไม่ได้เป็นไปทางหลุดพ้น แต่เน้นไปที่ทางโลกธรรมมากขึ้น คือ เรียนไปเพื่อสั่งสมลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ไม่ใช่เรียนเพื่อปล่อยปละละวางวัตถุนิยมเหล่านั้น การเดินทางสายนี้จึงขัดแย้งกับปรัชญาการศึกษาของพระพุทธเจ้าโดยตรง แม้จะมีการพยายามอธิบายว่า มจร.ไม่ได้ละเว้นจากการพัฒนาจิตใจก็ตาม แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมากว่า 10 ปี พบว่า " ไม่ได้มีความพยายามที่จะเดินตามปรัชญาการศึกษาที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นแต่อย่างใด" แม้จะมีความพยายามขอเปิดหลักสูตรปริญญาโทและเอกทางพระพุทธศาสนาและปรัชญา(ในส่วนภูมิภาคบางแห่ง) แต่ผู้บริหารก็บ่ายเบี่ยง เลี่ยงไปเปิดสอนในสาขาวิชาอื่น ที่ให้ผลตอบแทนเป็นวัตถุ เงินทอง รายได้ มากกว่าที่จะมุ่งทำตามปรัชญาการศึกษาของพระพุทธเจ้า สาขาวิชาต่าง ๆ เหล่านี้จึงผุดขึ้นมาเหมือนดอกเห็ด กลายเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่จะทำให้ มจร.ในอนาคตกลายสภาพเป็นมหาวิทยาลัยในทางโลกให้พระสงฆ์ได้เล่าเรียน คณาจารย์ก็กลายเป็นผู้มากไปด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์ เลื่อนชั้นสมณะศักดิ์กันสูงขึ้น ๆ เรื่อย ๆ และล่มสลายไปในที่สุด

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ข้อโต้แย้งเรื่องอาหาร


โดย. ด๊อกเตอร์ถังขยะ

ชาวสุขนิยมมีแนวคิดว่า " ชีวิตนี้ธรรมชาติสร้างมาและมีเวลาน้อยนิดดังนั้นคนเราควรที่จะใช้ชีวิตให้มีความสุข ควรแสวงหาชีวิตที่มีความสุขให้มากที่สุด โดยแบ่งความสุขที่ควรแสวงหาเป็น ๒ อย่างคือ ๑.สุขกาย ๒.สุขใจ ชาวสุขนิยมมีแนวคิดว่า " ชีวิตนี้ธรรมชาติสร้างมาและมีเวลาน้อยนิดดังนั้นคนเราควรที่จะใช้ชีวิตให้มีความสุข ควรแสวงหาชีวิตที่มีความสุขให้มากที่สุด โดยแบ่งความสุขที่ควรแสวงหาเป็น ๒ อย่างคือ ๑.สุขกาย ๒.สุขใจ 

...เรื่อง"อาหาร" เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต สำหรับมนุษย์ "อาหาร" เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ ให้มีความสมบูรณ์และมีอายุยืนยาว แต่พระพุทธเจ้าทรงมองว่า "อาหาร" สามารถเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้ เพราะทรงเคยใช้วิธีอดอาหารเพื่อให้บรรลุธรรม แต่ไม่สำเร็จและทรงพบว่าไม่ใช่หนทางบรรลุคุณธรรมใดๆ ได้ จึงทรงกลับมาเสวยพระกระยาหารใหม่ นอกจากนั้นยังทรงสรรเสริญอาหารไว้ในคราทั้ง ๒ คือ ๑.อาหารที่ฉันแล้วทรงตรัสรู้ และ๒. อาหารที่ทรงฉันแล้วดับขันธปรินิพพาน ว่ามีอานิสงค์มากกว่ามื้ออื่นๆ ดังนั้นอาหารในพุทธปรัชญาไปไกลกว่า อาหารบำรุงร่างกาย แต่หมายถึง " อาหารเพื่อการหยั่งรู้ " การขบฉันอาหารจึงต้องกระทำไปเพื่อเป้าหมายเดียวกันคือ " เพื่อรู้แจ้งสัจธรรม " 

เมื่อนำแนวคิดสุขนิยมดังกล่าวข้างต้นมาเป็นตัวตั้ง เราจะเห็นว่า" อาหาร" เป็นมากกว่าเครื่องประทังชีวิต แต่ต้องให้ความสุขแก่ผู้กินด้วย ดังนั้นอาหารตามแนวคิดนี้จึงต้องปรุงขึ้นอย่างพิถีพิถัน ทั้งรสชาติและคุณสมบัติอื่นๆเช่น ตกแต่งให้ดูสวยงามน่ากิน รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดี เพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความสุขเมื่อกินเข้าไปหรือภายหลังกินแล้ว แต่ถึงอย่างไรนอกจากพุทธปรัชญาแล้วก็ยังมีแนวคิดอื่นๆ อีกที่มีความเห็นที่แตกต่างจากพวกสุขนิยม เช่น แนวคิดอสุขนิยม แนวคิดประโยชน์นิยม

บทความนี้เป็นเรื่องการส่งเสริมการบริโภคอาหารในมิติทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเกิดประเด็นที่เป็นการถกเถียงกันบ่อยครั้งเกี่ยวกับการบริโภคอาหารระหว่างนักมังสวิรัติกับกลุ่มนิยมบริโภคเนื้อสัตว์ การที่จะศึกษาทำความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ที่เราเรียกกันในภาษาฝรั่งว่า

The Nature of Human Beings” ซึ่งมีความสำคัญมาก ก่อนจะไปพูดเรื่องอะไรเกี่ยวกับคน เช่น จริยศาสตร์ ปรัชญาสังคมและการเมืองเป็นต้น จะต้องเริ่มที่เรื่องนี้ก่อน[1]ประเด็นแรกคือเรื่องที่ว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์กินพืชหรือกินเนื้อโดยมักจะเอาหลักฐานมาตอบโต้กันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของฟัน ลำไส้และระบบการย่อย ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์กินได้ทั้งพืชและเนื้อสัตว์เราสามารถย่อยและได้พลังงานจากแหล่งพลังงานทั้งสองดังจะเห็นได้ว่าทั้งพืชและเนื้อสัตว์มันกินได้เหมือนกันแต่ผลออกมาไม่เหมือนกัน

ประเด็นต่อมาคือแง่มุมทางด้านนิเวศวิทยาว่า การกินเนื้อสัตว์ถูกมองจากกลุ่มนี้ว่าเป็นการช่วยปรับความสมดุลเชิงนิเวศวิทยาหากสัตว์ไม่ถูกฆ่ากินโดยมนุษย์จำนวนสัตว์ก็จะมีมากจนเกินไปดังนั้นการกินเนื้อสัตว์ในแง่หนึ่งเป็นการช่วยปรับความสมดุลเชิงนิเวศวิทยาให้แก่โลกเช่นเดียวกับการที่สัตว์กินกันเอง หรือสัตว์กินพืช หรือพืชกินสัตว์ ที่เป็นไปตามกระบวนการทางธรรมชาติ และธรรมชาติก็มีระบบคัดเลือกความเหมาะสมในตัวมันเอง
นักชีววิทยาจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า การที่มนุษย์เป็นอย่างไร(เช่นต้องกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร)
ไม่ได้เป็นอิสระจากการควบคุมโดยธรรมชาติ
หมายความว่าธรรมชาตินั้นมีอำนาจมากกว่ามนุษย์ การที่เราถูกสร้างมาให้กินเนื้อสัตว์ก็เพราะธรรมชาติเห็นว่าจะช่วยให้เกิดสมดุลในเชิงนิเวศวิทยานั่นเอง พิจารณาจากแง่นี้
การบริโภคเนื้อสัตว์ในระดับสังคมก็มีเหตุผลและมีบทบาทบางอย่างที่เราสามารถเข้าใจได้[2]
อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ถูกหยิบขึ้นมาสนับสนุนการกินอาหารมังสวิรัติก็สามารถเข้าใจได้เช่นกัน
กลุ่มผู้บริโภคให้เหตุผลทางด้านจริยศาสตร์ว่า
ต้องการตัดวงจรทารุณกรรมสัตว์ในกระบวนการผลิต เหตุผลที่น่าสนใจคือ
การบริโภคเนื้อสัตว์ในยุคปัจจุบันมักจะมีอะไรมากไปกว่ามิติในเชิงนิเวศวิทยาที่กล่าวมาแล้วนั้น
เพราะมีสัตว์อีกประเภทหนึ่งที่มนุษย์เป็นผู้เพาะเลี้ยงและควบคุมปริมาณได้เวลานี้การบริโภคเนื้อสัตว์ได้หันมาทางนี้มากขึ้น
ในแง่เศรษฐศาสตร์
การมีอาชีพจับสัตว์ตามธรรมชาติเพื่อขายนั้นไม่แน่นอนเท่ากับการเลี้ยงสัตว์เพื่อฆ่าขายเอง
ด้วยเหตุนี้แนวโน้มการบริโภคเนื้อสัตว์ของมนุษย์จึงเอียงไปในทางที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงเองมากขึ้นตามลำดับ
เมื่อสัตว์ที่มนุษย์กินส่วนใหม่มาจากสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยง เหตุผลด้านนิเวศวิทยาก็ไม่อาจใช้สนับสนุนการกินเนื้อสัตว์ได้[3]   
เหตุผลข้อต่อมาคือเรื่องสุขภาพของผู้บริโภค
กลุ่มผู้นิยมบริโภคเนื้อสัตว์มักอ้างเหตุผลว่า
มนุษย์ต้องกินเนื้อสัตว์เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี โดยอ้างผลการวิจัยว่า
มนุษย์ต้องอาศัยโปรตีนจากเนื้อสัตว์เป็นส่วนสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อ และเด็กๆ
ก็ต้องการเนื้อสัตว์เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์  หากรับประทานเนื้อสัตว์ในปริมาณที่เหมาะสมจะไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ
และเนื้อสัตว์ยังเป็นแหล่งวิตามิน บี ๑๒ ที่ดีที่สุด และมีไขมันอิ่มตัวที่ดี
กลุ่มนิยมบริโภคมังสวิรัติ
ให้ความเห็นแย้งว่า การรับประทานอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ (รับประทานผัก ผลไม้
และผลผลิตจากสัตว์ เช่น นม หรือไข่) รวมทั้งวีแกน
(ไม่รับประทานอาหารหรือวัตถุดิบใดๆ ที่ผลิตจากสัตว์)
จะช่วยลดความเสี่ยงทั้งโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ ส่วนหมู่คนที่มักกินเนื้อเป็นหลัก
กินเนื้อเป็นส่วนมาก มักจะมีโรคมากและอายุสั้น เช่นชาวเอสกิโม
มีโอกาสที่จะตายตั้งแต่อายุยังไม่ถึง ๓๐ ด้วยเหตุแห่งโรคเช่น มะเร็ง ในทางกลับกันชาวฮันซา[4]  ได้ชื่อว่าอายุยืนนั้น
มักจะไม่กินเนื้อสัตว์ กินพืชเป็นหลัก มีผลทำให้อายุเฉลี่ยประมาณ ๑๒๐ ปี
และไม่มีอาการป่วยจากโรคยอดฮิตเช่น มะเร็ง เบาหวาน ฯลฯ ชาวฮันซาที่อายุ ๙๐
ยังแข็งแรงและสามารถเต้นได้ ในจูฬกัมมวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
“การที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นคนหยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด
ฝักใฝ่ในการประหัตประหาร ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย
นี้เป็นปฏิปทา(ข้อปฏิบัติ)ที่เป็นไปเพื่อความมีอายุสั้น”[5]   
เหตุผลอีกข้อหนึ่ง
เรื่อง ศาสนา ผู้บริโภคมังสวิรัติชาวอินเดียโบราณบางกลุ่มมีความเชื่อว่า
“ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยอาหาร” ชาวอินเดียในหมู่ผู้ปฏิบัติโยคะ
และผู้นับถือศาสนาฮินดูส่วนหนึ่ง
ผู้กินเจและมังสวิรัติมักเป็นผู้ถือศีลปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว
มีเมตตาจิตอยู่เป็นทุนเดิม ผู้กินมังสวิรัติที่มาจากอินเดียยังเสนอว่า
ที่แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าก็กินมังสวิรัติเช่นเดียวกัน เพราะ
ประเพณีชาวเนปาลบริเวณที่เป็นถิ่นฐานศากยวงศ์เขาไม่กินเนื้อสัตว์อยู่แล้วเป็นปกติ
อย่างไรก็ดีในพุทธบัญญัติมิได้กำหนดการกินมังสวิรัติ
ก็อาจด้วยเหตุที่ไม่ต้องการให้ตึงเกินไปนักสำหรับกุลบุตรของ ชาวพุทธที่จะเข้ามาบวช
ต่อเมื่อศรัทธาแล้วจึงค่อยปฏิบัติเอง[6]
นอกจากนี้ชาวมังสวิรัติยังมีความเชื่อว่า
การบริโภคอาหารมังสวิรัติให้คุณค่าทางด้านจิตใจ ได้แก่ ทำให้จิตใจสงบ เยือกเย็น
สุขุม บังเกิดเมตตาจิตอย่างเต็ม เปี่ยม อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว ไม่โกรธง่าย
ไม่มุ่งร้ายอาฆาตพยาบาท มีสติมั่นคงไม่หวั่นไหวในเหตุการณ์ ต่างๆ มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ชั้นสูงต่างสรรเสริญยินดี อวยพรให้ไม่มีช่องทางที่ วิญญาณต่างๆ
ทุกประเภทเข้าแอบแฝงหรือทำอันตรายใดๆ ได้[7]
แม้ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนจะหันมาบริโภคอาหารมังสวิรัติกันมากขึ้น
แต่เมื่อเทียบกับอัตรา พุทธศาสนิกชนทั้งประเทศแล้วยังมีจำนวนน้อยอยู่
การบริโภคอาหารมังสวิรัตินั้นมีคุณประโยชน์ มากมายหลายด้าน
และเป็นความเชื่อและความศรัทธาของมนุษย์แต่ละคนว่าควรจะต้องปฏิบัติใจใน การดำรงชีวิตการอยู่กิน
และผลของการปฏิบัติจะส่งผลดีต่อตนเองอย่างไร แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า
จะต้องเชื่อและศรัทธาเหมือนกันหมด จะเชื่ออะไรเชื่ออย่างไรและปฏิบัติอย่างไรขึ้นอยู่กับ
วิจารณญาณของเรา ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือความเชื่อ ความศรัทธาและปฏิบัติต่างๆ
จะต้องไม่ก่อเกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่นด้วย 
อย่างไรก็ตามผู้วิจัยเห็นด้วยกับการบริโภคอาหารมังสวิรัติ
เพราะการบริโภคเนื้อสัตว์ทำ ให้พบโรคที่เกิดจากการกินเนื้อสัตว์
การกินเนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์ใหญ่ตั้งแต่ ๕ ส่วนขึ้นไปของปริมาณ
อาหารที่บริโภคเข้าไปต่อสัปดาห์เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้ออักเสบได้
เพราะโปรตีนคอลาเจนใน เนื้อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่อและในเนื้อมีธาตุเหล็กสูงอาจจะสะสมในข้อ
ทำให้อนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นได้ คนที่กินเนื้อสัตว์มากๆ เสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้
เพราะเนื้อมี ไขมันอิ่มตัวสูง เพิ่มโคเลสเตอรอลในเลือด ทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
สมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ เพราะ เกิดการสร้างโปรตีนผิดปกติในสมอง เกิดปัญหาความจำเสื่อมลง
แต่วิตามิน สารคุณค่าพืชผัก และสาร ต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีฟีนอลส์ จะพบมากในผัก
ผลไม้ ช่วยป้องกันการสร้างโปรตีนผิดปกติใน สมอง การกินโปรตีนจากเนื้อแดงมากเกินไปจะมีผลเสียต่อกระดูก
ทำให้กระดูกโปร่งบางหรือกระดูก พรุน ซึ่งเกิดจากการย่อยโปรตีนทำให้เกิดภาวะกรดมากเกินที่ต้องขับออกทางไต
และก่อนขับออกต้อง มีการดึงด่าง โดยเฉพาะแคลเซียมจากกระดูกไปช่วยขับกรดออก ทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมมาก
ขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทเนื้อสัตว์
เป็นสาเหตุของโรคร้ายที่สำคัญมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน
โรคเก๊าท์ วัณโรค โรคลำไส้ โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต โรคถุงน้ำดี ฯลฯ
แม้เนื้อสัตว์จะอร่อย หอมหวานเหมือนดอกกุหลาบ แต่ก็มีหนามมาทิ่มแทงผู้ที่จะมา
เด็ดดอกไม้นั้นไปชม เนื่องจากในสัตว์ มีสิ่งสกปรกโสโครก เช่น ยูเรีย
(ผงผลึกสีขาวที่อยู่ในปัสสาวะ) และกรดยูริคในน้ำมันของเนื้อนั้น ที่น่าตกใจคือ
รสชาติที่หอมอร่อยของเนื้อสัตว์นั้น คือน้ำอันนี้นี่เอง
สรุปว่า ข้อถกเถียงเรื่องการบริโภคอาหารมังสวิรัติด้วยเหตุผลทางสังคม , ชีววิทยา,และศาสนา
ทั้งสามประเด็นล้วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางในการโต้แย้ง
ฝ่ายที่อ้างเหตุผลด้านนิเวศวิทยาว่า
มนุษย์ถูกกำหนดโดยธรรมชาติให้กินสัตว์เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศโลกเอาไว้
หรือเหตุผลด้านสุขภาพที่มนุษย์ยกขึ้นมาอ้างว่า
สัตว์เป็นแหล่งโปรตีนและวิตามินที่สำคัญสำหรับใช้ในการเจริญเติบโตของมนุษย์
ทั้งสองเหตุผลนี้ล้วนเป็นแนวคิดแบบยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง
เหตุผลทางด้านศาสนาเข้ามาอธิบายให้เห็นว่า
“การกินมังสวิรัติมิได้เป็นทางออกของปัญหา” แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวมนุษย์ที่มีความโลภ
โกรธ หลง ดังคำกล่าวของมหาตมะ คานธี ที่กล่าวไว้ว่า “ธรรมชาตินั้นเพียงพอที่จะเลี้ยงดูทุกชีวิต แต่ไม่มีสิ่งใดเพียงพอที่จะสนองความละโมบของคนแม้เพียงคนเดียวได้”[8]
ผู้วิจัยจึงต้องการหา
เหตุผลในมิติทางพระพุทธศาสนาเข้ามาอธิบายให้เห็นว่า “หากต้องการปรับเปลี่ยนมาบริโภคอาหารมังสวิรัติ การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งอย่างไรต่อมนุษย์ ดังนั้นเพื่อให้ปัญหาทางเรื่องการบริโภคอาหารมังสวิรัติได้รับการคลี่คลา
ผู้เขียนจึงหยิบยกเอาประเด็นดังกล่าวมาพิจารณาและหาคำตอบในทัศนะของพระพุทธศาสนาอย่างเป็นสัดส่วนเป็นเรื่องๆ ไป และนำเอาประเด็นที่ได้ตั้งไว้แล้วนั้นมาวิเคราะห์และสรุปผล พร้อมทั้งนำเสนอแนวคิดเรื่องการบริโภคอาหารมังสวิรัติเพื่อการพัฒนาชีวิต
และเสนอให้การบริโภคอาหารมังสวิรัติในพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่สังคมชาวพุทธควรนำมากำหนดเป็นนโยบายเพื่อคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่ดีทั้งคุณค่าภายนอกและภายในอย่างสมบูรณ์ในอนาคต


[1] สมภาร  พรมทา,บทความชุด “ความคิดพื้นฐานทางปรัชญาที่สำคัญของพระพุทธเจ้า”,วารสารปัญญา ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๖. หน้า ๓๓๕.
“ความคิดพื้นฐานทางปรัชญาที่สำคัญของพระพุทธเจ้า”,วารสารปัญญา ปีที่ ๓ ฉบับที่
๖ มีนาคม ๒๕๕๖. หน้า ๓๓๕.
                [2] สมภาร พรมทา, กิน : มุมมองของพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. (กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พรมทา, กิน : มุมมองของพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. (กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการคณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ ๒๕๔๗),หน้า ๑๒๔.
            [3] อ้างแล้ว.
                [4] ชาวฮันซา(Hunza)อาศัยอยู่เชิงเขาหิมาลัยตอนเหนือของประเทศปากีสถาน มีอายุขัยเฉลี่ย ๑๒๐ปี และมีจำนวนมากที่อายุเกิน ๑๓๐ ปีและ ๑๔๐ ปี โดยมีร่างกายแข็งแรง เดินได้ ทำงานได้ ชาวฮันซาไม่บริโภคเนื้อสัตว์ แต่มีโอกาสบริโภคเนื้อแพะเพียงปีละ ๑-๒ ครั้งเท่านั้นซึ่งจะมีในงานประเพณีประจำปี ชาวฮันซาบริโภคพืชผักวันละ ๑ กิโลกรัม ส่วนใหญ่เป็นของสด ชาวฮันซาไม่มีไฟฟ้า ไม่มีเตาแก๊สแม้แต่น้ำมันก๊าดและเทียนไขก็เป็นของต้องห้ามในดินแดนฮันซา การหุงหาอาหารจะทำเท่าที่จำเป็นเพราะเชื้อเพลิงคือไม้ฟืนเป็นของหายาก. อ้างใน, วิธีธรรมชาติของชาวฮันซา, มีอายุขัยเฉลี่ย ๑๒๐ปี และมีจำนวนมากที่อายุเกิน ๑๓๐ ปีและ ๑๔๐ ปี โดยมีร่างกายแข็งแรง
เดินได้ ทำงานได้ ชาวฮันซาไม่บริโภคเนื้อสัตว์ แต่มีโอกาสบริโภคเนื้อแพะเพียงปีละ
๑-๒ ครั้งเท่านั้นซึ่งจะมีในงานประเพณีประจำปี ชาวฮันซาบริโภคพืชผักวันละ ๑
กิโลกรัม ส่วนใหญ่เป็นของสด ชาวฮันซาไม่มีไฟฟ้า
ไม่มีเตาแก๊สแม้แต่น้ำมันก๊าดและเทียนไขก็เป็นของต้องห้ามในดินแดนฮันซา
การหุงหาอาหารจะทำเท่าที่จำเป็นเพราะเชื้อเพลิงคือไม้ฟืนเป็นของหายาก. อ้างใน, วิธีธรรมชาติของชาวฮันซา,
http://www.chlorophyll.tht.in/hunza.html. 6/2/2561.
             [5] ม. อุ. (ไทย) ๑๔/๒๙๐/๓๕๐.
(ไทย) ๑๔/๒๙๐/๓๕๐.
            [6] พระอภิชาติ  ปภสฺสโร (ทองดอนเหมือน)
(ทองดอนเหมือน), “วิเคราะห์แนวคิดการบริโภคมังสวิรัติตามทฤษฎีประโยชน์นิยม”วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต,
(บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย, ๒๕๕๙). หน้า ๗๙.
หน้า ๗๙.
            [7] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๘.
            [8] รสนา  โตสิตระกูล, ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว: ทางออกของเกษตรกรรมและอารยธรรม.(กรุงเทพมหานคร : โกมลคีมทอง. ๒๕๓๐). หน้า ๔.
ทางออกของเกษตรกรรมและอารยธรรม.(กรุงเทพมหานคร : โกมลคีมทอง. ๒๕๓๐). หน้า ๔.

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564

บทความพิเศษ: จากไฮพาเทีย ถึง มะแซจิน แรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่

 

จากไฮพาเทีย ถึง มะแซจิน แรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่
...วีรสตรีสร้างเรื่องราวในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอยู่เสมอ ทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ในยุคที่ปรัชญากรีกรุ่งเรือง ยุคที่ผู้ชายเป็นผู้นำและผู้หญิงอยู่แต่เพียงในครัว แต่บรรดาสตรีเหล่านี้ก็ได้แหวกม่านแห่งสังคมยุคนั้นออกมาอย่างกล้าหาญ และแสดงพลังแห่งความคิดและสติปัญญาของสตรีให้โลกได้จดจำ
...คนแรก ชื่อของเธอคือ ไฮพาเทีย นักคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์และปรัชญา หญิงคนเดียวที่ได้รับเกียรติสูงสุดนี้ ภาพของเธอปรากฏอยู่ด้านซ้ายของภาพเขียนชื่อ "โรงเรียนแห่งเอเธนส์" ร่วมกับโสเครตีส เพลโต อาริสโตเติลและบรรดานักปรัชญากรีกเลื่องชื่อท่านอื่นๆ คำพูดอมตะของเธอ คือ
...."เราควรได้รับการสงวนสิทธิ์ที่จะคิด แม้ว่า การคิดผิด ก็ยังดีกว่าการไม่คิดเอาเสียเลย" ....
....วาระสุดท้ายของชีวิตเธอถูกคริตจักรสังหารอย่างโหดเหี้ยมเพราะพวกนั้นคิดว่าเธอเป็นพวกนอกรีต แต่โลกก็ไม่เคยลืมเธอผู้หญิงผู้ที่ยืนหยัดในความจริงแท้ และเสียสละแม้ชีวิต
...คนต่อมา คือ มะ แซ จิน หรือ แองเจิล หรือ จาล ซิน สาวน้อยวัย 19 ปีเธอเสียชีวิตจากการถูกยิงเข้าที่ศีรษะด้วยกระสุนจริง ก่อนจะมีการเผยภาพของเธอในนาทีที่กำลังพยายามจะหมอบหลบกระสุน และถูกยิงเสียชีวิตในเวลาต่อมา การเสียชีวิตของ จาล ซิน นั้นสร้างความสะเทือนใจให้กับผู้ชุมนุมและประชาชนชาวพม่าเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ จาล ซิน เธอเป็นลูกสาวเพียงคนเดียวของครอบครัว และยังเป็นเจ้าของร้านบิวตี้ซาลอนแห่งหนึ่ง นอกจากนี้เธอยังเป็นสาวน้อยที่มากความสามารถ เธอเรียนศิลปะป้องกันตัวต่าง ๆ เป็นนักเต้น และยังเป็นนักร้องที่มีเสียงที่ไพเราะที่มาพร้อมกับเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร และเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมานั้นเธอก็เพิ่งปล่อยเพลงที่ทำเอ็มวีและร้องเพลงเอง ในเพลงที่มีชื่อว่า No Reason (ไม่มีเหตุผล)
....ตั้งแต่เกิดการรัฐประหารขึ้นจาล ซินก็เป็นหนึ่งที่ออกไปประท้วง เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริง ทั้งนี้การที่เธอออกไปประท้วงนั้น บิดาของเธอก็ไม่เคยคัดค้านและยังสนับสนุนเธอมาโดยตลอด ซึ่งเธอเคยโพสต์ภาพที่พ่อของเธอเอาผ้าสีแดงมาผูกข้อมือให้ก่อนออกไปร่วมการชุมนุม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการชุมนุมและสร้างขวัญกำลังใจให้กับลูกสาวสุดที่รัก
....จาล ซิน เธอได้โพสต์ข้อความสุดท้ายบนเฟซบุ๊กส่วนตัวของเธอระบุว่า “เลือดของฉันคือกรุ๊ป A หากต้องการติดต่อสามารถติดต่อได้ทันที ฉันนั้นได้ลงชื่อบริจาคอวัยวะและร่างกายไว้เรียบร้อยแล้ว หากใครต้องการสามารถมาติดต่อเอาไปได้เลย หวังว่ามันจะมีประโยชน์”
...ฉันนำเรื่องนี้มาเล่า เพื่อสะท้อนอะไรบางอย่างให้คุณเห็น การปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างคนรุ่นเก่าที่มีกรอบแนวคิดแบบเดิม กับ กระบวนการทางปัญญาของคนรุ่นใหม่ การไม่ยอมรับแนวคิดใหม่ ๆ ของคนรุ่นเก่าทำให้โลกต้องสูญเสียโอกาสในการพัฒนาทางสติปัญญา เพราะคนรุ่นเก่ามัวแต่ขบคิคถึงอุดมคติอันสูงส่งของศาสนาที่ตนนับถือ จนละเลยชีวิตจริง และความเป็นจริง จนในที่สุดการแสวงหาความจริงด้วยปัญญาของคนรุ่นใหม่ก็กลายเป็นภัยต่อพวกเก่า และจะต้องถูกกำจัดออกไปให้พ้นทาง และเมื่อมันเกิดขึ้นมันคือความเลวร้าย และโศกนาฏกรรมที่โลกต้องจารึก รวมทั้งเป็นคำสัญญาว่า โลกจะไม่หยุดที่จะเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ และปลดปล่อยตนเองจากการกดขี่
...." วีรบุรุษและวีรสตรีที่แท้จริงพวกเขาตายในสนามรบ และโลกต้องหลั่งน้ำตาให้กับพวกเธอ... ( อ. อาทิจฺจพโลภิกฺขุ )
.....................................................
Special article: From Hypatia to Masaejin, inspiration to new generation
... The heroines always make up the pages of the history of mankind. All ages Since the era of Greek philosophy The era when men are leaders and women are only in the kitchen. But these women boldly broke the veil of that society And show the power of thinking and wisdom of women for the world to remember
... First, her name was Hypatia, a mathematician. Astronomy and Philosophy The only woman who received this highest honor. Her picture appears to the left of the painting titled The "School of Athens" was joined by Socrates, Plato, Aristotle and other famous Greek philosophers. Her immortal words are
.... "We should be reserved to think, even if it is better to think wrong than not think about it" ....
.... At the end of her life, she was brutally murdered by the church because they thought she was a heretic. But the world never forgot you, a woman who stands up for the truth. And sacrificing even life
... The next one is Ma Sae Jin or Angel or Jalsin, a 19-year-old girl. Before her footage was revealed, the minute she was trying to dodge a bullet. And later shot and killed The death of Jalsin has been deeply moved by protesters and Burmese people, she is the only daughter of her family. And also owns a beauty salon In addition, she is a very talented young woman. She studied martial arts, was a dancer, and was also a singer with a beautiful voice with a unique personality. And in September of last year, she just released a song that she made her own MV and sang. In a song called No Reason (No Reason)
.... Since the coup d'état. Xin was the one who went out to protest. To claim true democracy In which she went to protest Her father never objected and continued to support her. She previously posted a photo of her father tied with red cloth on her wrist before going out to a rally. To be a part of the gathering and to strengthen the morale of my beloved daughter.
.... Jalsin, she posted the last message on her personal Facebook page, stating “My blood is type A. If you want to contact you can contact immediately. I have already signed the donation of organs and body. If anyone wants, you can come and contact to get it. Hope it will be useful. "
... I bring this story to tell. To reflect something for you The intense clash between the older generation with the conventional paradigm and the intellectual processes of the new generation. The old generation's refusal to embrace new ideas leads to the loss of intellectual development opportunities in the world. Because the older generation is devoted to the high ideals of their religion Until they neglect real life And reality In the end, the new generation's quest for truth has become a threat to the old. And must be removed from the way And when it does, it is bad. And the tragedy that the world must write Including a promise that The world will never cease to claim freedom. And free yourself from oppression.
.... " heroes and heroines, they die on the battlefield. And the world has to shed tears for you ... (A. Adiccabalobhikku )

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564

ข้อพิจารณา(ร่าง) กฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่


โดย ด๊อกเตอร์ถังขยะ

...วันนี้นำเสนอประเด็นร้อนละอุทะลุองศา กระแสว่าจะมีการแก้กฎหมายพ.ร.บ คณะสงฆ์ 2505 แบบสุดโต่ง และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
...เริ่มตั้งแต่ การกำหนดว่า จะไม่ให้พระรับเงินหรือปัจจัย ไม่ให้พระมีบัญชีธนาคาร จนถึงกับว่า บวชแล้วห้ามสึก หรือรับมรดก เอาแค่สามประเด็นนี้ก็จะเห็นว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาของไทยอย่างแน่นอน
...เริ่มจากประเด็นแรกคือ ห้ามพระรับเงิน หรือรับแล้วเงินนั้นก็จะต้องตกเป็นของวัด รวมไปถึงเงินทุกประเภท เงินสวด เงินบริจาค หรือทุกประเภทที่เรียกว่าเงิน ห้ามทั้งหมด เราจึงต้องมาตั้งคำถามว่า " กฎหมายมาตรานี้ เอาเกณฑ์อะไรมาใช้ในการบัญญัติกฎหมาย หากเอาเกณฑ์พระธรรมวินัยมาพิจารณา "การที่พระภิกษุรับเงินทองถือว่าเป็นอาบัตินิสัคคียปาจิตตีย์ ระบุชัดเจน (ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น)" แต่ปัญหามันไม่ได้มีอยู่แค่ประเด็นด้านพระวินัยเพียงอย่างเดียว แต่มันขึ้นอยู่กับความมั่นคงของสถาบันพระพุทธศาสนาด้วย ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าสำคัญเท่าๆ​กับประเด็นแรก ถ้าพระไม่รับเงินแล้วมันจะมีวิธีปฏิบัติอย่างอื่นใดที่จะทำให้พระเณรของเรา สามารถดำรงอยู่ได้ในโลกปัจจุบัน
...หากญาติโยมไม่ถวายเงินพระอันนี้จะทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองขึ้นจริงหรือ? บรรดาวัดวาอารามต่างๆจะสามารถดำรงความเป็นวัดอยู่ได้อย่างไร? เป็นคำถามที่น่าคิดนะ เพราะทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารถ ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ซึ่งหากนำมาใช้กับพระ(บางรูป)ที่ท่านมีเหลือเฟือ จะไปไหนมีรถประจำตำแหน่งมีคนถวายค่าน้ำมัน จะไปฉันที่ไหนก็มีคนถวายภัตตาหาร แค่จะเดินก็มีคนปูพรมให้ กฎหมายนี้ก็น่าจะเป็นคุณตรงที่จะทำให้ท่านเหล่านั้นกลับมาเป็นพระธรรมดาเท่าๆ กับพระรูปอื่นๆ
...แต่ในทางปรัชญาเวลามองเราไม่มองแค่แง่มุมเดียว จะต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อสถาบันพระพุทธศาสนาซึ่งสำคัญที่สุดด้วย ถ้าใช้กับพระทั้งประเทศซึ่งพระสงฆ์สามเณรส่วนใหญ่ ท่านก็ไม่ได้มีทรัพย์สมบัติอะไรเราควรจะใช้กับท่านหรือไม่? มีเงินที่ญาติโยมถวายเป็นปัจจัยสวดศพ สวดบังสกุล หรือใส่ซองทำบุญให้ไม่กี่ร้อยบาท ท่านก็นำมาใช้เป็นค่ารถไปเรียน ค่าหนังสือ ค่าของใช้ฉุกเฉินที่จำเป็น และบางครั้งก็ใช้ดูแลญาติพี่น้องที่ลำบากมาขอท่านบ้าง บางทีทั้งเดือนมีปัจจัยที่โยมถวายให้ไม่ถึงพันบาท กฎหมายนี้ไม่สมเหตุสมผล และไม่เป็นผลดีต่อพระพุทธศาสนาใน เรื่องนี้อาตมาแสดงความคิดเห็นในฐานะพระธรรมดารูปหนึ่ง
...ประเด็นที่สองยิ่งหนักเข้าไปอีก คือ บวชแล้วห้ามสึก หากกฎหมายนี้บังคับใช้ โครงการบวชเณรภาคฤดูร้อน โครงการบวชอื่นๆ บวชตามประเพณี จะหมดสิ้นไปจากประเทศไทย การผลิตศาสนทายาทสืบทอดพระพุทธศาสนาจะลดจำนวนลงอย่างมากเป็นประวัติการณ์ ภายใน ๕ ปี จำนวนพระสงฆ์จะลดลงอย่างรวดเร็ว และในที่สุดเมื่อจำนวนพระสงฆ์น้อยลงถึงภาวะวิกฤต วัดจะร้างมากขึ้นในทุกพื้นที่จนไม่มีกำลังเพียงพอที่จะชักนำศรัทธาของประชาชนให้หันมาประพฤติปฏิบัติธรรมเหมือนในอดีต ลองไปถามดูแถว ๆ มุกดาหาร นครพนมบ้านอาตมา ตอนนี้แต่ละวัดก็เหลือเพียงพระชราภาพเพียงรูป หรือสองรูปรักษาวัดเอาไว้เท่านั้น
...และที่หายนะยิ่งกว่า คือการนำมาใช้กับกฎหมายควบคุมทรัพย์สิน ห้ามรับมรดก ห้ามรับเงิน จะยิ่งตีกรอบเข้มงวดมากยิ่งขึ้นจนพระดำรงอยู่ในปัจจุบันไม่มีความสามารถในการรักษาวัด รักษาศรัทธาเอาไว้ได้ ที่สำคัญรัฐบาลจะทำอย่างไร จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้วัดทุกวัด พระทุกรูป เณรทุกรูปกระนั้นหรืออาตมาคิดว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะรัฐบาลเอาแค่ดูแลประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รับมือกับเศรษฐกิจ เท่านั้นก็แย่อยู่แล้ว แล้วจะเอาความสามารถที่ไหนมาดูแลพระเณร เช่น ค่าศึกษาเล่าเรียน ค่ารถ ค่าภัตตาหาร ค่าอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากหน้าที่ที่รัฐจะต้องจัดหามาให้อีก
...ดังนั้นการที่พระรับเงิน จากการไปสวด มนต์ ไปฉันเพล ตามที่ญาติโยมเขานิมนต์มานั้น จึงเท่ากับการแบ่งเบาภาระที่รัฐบาลจะต้องจ่าย ซึ่งเป็นผลดีกับรัฐบาลเสียอีก ..หรือจะบอกให้เข้าใจว่า "ที่วัดทุกวัดอยู่ได้ตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้ ไม่ใช่เพราะเงินจากรัฐบาลหามาให้นะครับ แต่เป็นเงินที่ญาติโยมนำมาถวายพระนั่นเอง"
...ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าอาตมาเห็นด้วยกับการที่พระมีเงิน จับเงิน ได้รับเงิน ฯลฯ แต่เป็นเพียงการแสดงทรรศนะว่าหากเราจะพิจารณาออกกฎหมายใด ให้ดูให้รอบด้าน การยึดแนวทางเดียวอย่างสุดโต่งโดยไม่มองความจำเป็นเงื่อนไขอื่น ๆ เลย อาจเป็นเรื่องโง่เขลาโดยไม่รู้ตัว จริงอยู่พระไม่ควรจับเงิน ยินดีในเงินทอง ตามพระวินัยและต้องกระทำอย่างเคร่งครัดบิดเบือนมิได้ แต่เป้าประสงค์ตรงนี้เพื่อให้พระที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรลุพระนิพพานได้ถือปฏิบัติเพื่อนำพาตนเองไปสู่การหลุดพ้น ดังนั้นการนำพระวินัยข้อนี้มาใช้จึงต้องกระทำอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงผู้ปฏิบัติตามเป็นสำคัญว่า พระ-เณร รูปนั้นบวชเข้ามาเพื่อกิจอันใด เพื่อมรรคผลนิพพาน หรือเพื่อการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งอาตมาเห็นว่า มีสองฝ่าย ฝ่ายที่มุ่งพระนิพพานโดยตรง ท่านคงไม่มีปัญหาว่า ทำได้หรือไม่ได้ เพราะทรงห้ามเอาไว้อยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นสามเณร พระภิกษุที่บวชเรียน และพระที่ทำงานในมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนา ในโลกยุคใหม่ ท่านเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้มุ่งไปเพื่อพระนิพพาน แต่เพื่อชีวิตที่ดี อาจไม่ได้หมายถึงเงินทอง แต่หมายถึง คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตรงนี้เราจะตอบอย่างไร
...หากเราบอกว่าไม่ได้ พระเหล่านี้ก็จะหมายไปจากระบบ แล้วจะเหลือพระที่มุ่งพระนิพพานกี่รูป วัดก็จะร้างกันทั้งประเทศ แล้วอย่างนี้เรายังจะยืนกระต่ายขาเดียวได้อย่างไร ( อ. อาทิจฺจพโลภิกฺขุ

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564

ความเหมา​ะสมและความจำเป็นในการใช้ยานพาหนะ​ของพระสงฆ์​ร่วมสมัย​

 


ใคร ๆ ก็ทำกัน!

...โดยธรรมชาติแล้วตัวเราไม่มีค่าต่ออะไร หรือต่อใคร เราจะมีค่าก็ต่อเมื่อเราทำตัวให้มีค่า คนดีก็ไม่ใช่อยู่ที่กำเนิด หรือเกิดมาดี  คนดีคือคนธรรมดาที่เป็นได้ทั้งดีและชั่ว แต่เขาเลือกจะทำความดี ไม่ทำความชั่ว

...เราจะเห็นคุณค่าของใครต่อเมื่อเขาตกอยู่ในสถานการณ์ที่จำต้องเลือกระหว่าง "ดี กับ "ชั่ว" ดังนั้นเราจึงไม่ตัดสินคนจากชาติกำเนิดหรือจากสิ่งที่เขาเป็น ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร เป็นคนแบบไหน เขาย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกทำ และท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่เขาทำจะเป็นเครื่องหมายบอกคนอื่น ๆ ได้ว่าเขา "เป็นคนแบบไหน" ดี หรือ ไม่ดี

..สมมุติว่า เรามีโอกาสเลือกในการที่จะทำใบขับขี่ เพื่อให้ได้สิทธิ์ในการขับรถอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย โดยผู้ให้สิทธิ์นั้นเป็นของรัฐ และรัฐก็อนุญาต คำถามจึงไม่ใช่ว่า เรามีสิทธิ์ขับรถหรือไม่? แต่คือ เราเลือกที่จะขับหรือไม่? 

...พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามไปเสียหมดทุกอย่างเพราะทรงรู้ดีว่า มนุษย์นั้นมีกิเลสอย่างไรบ้าง และอนาคตก็จะเกิดมีเหตุการณ์ที่เป็นมากกว่าในยุคของพระองค์ที่นอกเหนือจากที่ทรงบัญญัติห้ามเอาไว้เกิดขึ้น จึงทรงตรัสเป็นแนวทางวินิจฉัยเฉพาะในทางพระวินัย (great authorities; principal references)เอาไว้อย่างกว้าง ๆ ความว่า

       1. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร 

       2. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร 

       3. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร 

       4. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร 

...การที่ทรงตรัสอย่างนี้ก็เพื่อเป็นหลักการตีความการปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์(ในทางพระวินัย)ในอนาคตว่า หากเกิดเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่จำเป็นต้องเลือก หรือเกิดความอิหลักอิเหลื่อในทางศีลธรรม จริยธรรม ให้ใช้หลักนี้

...การที่รัฐออกมาให้สิทธิ์แก่พระภิกษุสงฆ์สามารถเลือกได้ ไม่ใช่เรื่องทางพระวินัย เพราะรัฐไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามพระวินัยหรือหลักการตีความในทางพระวินัยแต่อย่างใด แต่พระภิกษุ-สามเณร ผู้ครองเพศบรรพชิตต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกไม่ใช่กฎหมายของรัฐ แต่เป็นกฎเกณฑ์ทางพระวินัยและมองภาพความมั่นคงของพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นเรื่องใหญ่ แม้รัฐจะให้พระใช้สิทธิ์ส่วนตนได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง

...หากเราเลือกจะใช้สิทธิ์ที่รัฐหยิบยื่นให้ก็จะเกิดกรณีต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ใช่แค่ใบขับขี่ แต่มันจะหมายถึงการที่พระภิกษุจะมีอะไร ๆ เหมือนฆราวาสมากขึ้น ลองนึกภาพว่า " พระไปกิจนิมนต์ขับรถราคาแพงไป " ฯลฯ อีกมากตามมาที่กระทบกระเทือนศรัทธาของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป หรืออาจมีกรณีเกิดอุบัติเหตุทางถนน ที่ทำให้พระ กลายเป็น ผู้ต้องหา หรือ เป็นคู่กรณี ฟ้องร้องในศาล หรือ ตกเป็นจำเลยในคดีที่เกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย  เพราะสิ่งเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นบนท้องถนน มากกว่าในที่อื่น ๆ 

...การอ้างว่า " ที่ไหนก็ทำกัน " เป็นการใช้เหตุผลวิบัติในทางตรรกศาสตร์ เรียกว่า "การอ้างคนส่วนใหญ่ทำกัน" หรือ Fallacy ในภาษาอังกฤษ การใช้เหตุผลแบบนี้ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป เพราะสิ่งที่คนอื่น ๆ เขาทำก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งนั้นถูกต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัย หรือตามความเหมาะสม ดังนั้นจึงใช้อ้างไม่ได้...

...การเสวนานี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการสรรหาวิทยากรผู้มีความรู้จากหลากหลายสาขาอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ตำรวจ ขนส่ง นักวิชาการ​ สำนักงาน​พระพุทธศาสนา​ พระผู้ขับขี่ มาให้ความคิดเห็น เป็นการเปิดเวทีสาธารณะให้สนทนาซักถามพูดคุยกัน ก่อนที่จะตัดสินใจทำหรือไม่ทำ  เราจะไม่ด่วนตัดสินผิด ถูก ควรไม่ควรหากเรายังไม่ได้ใช้ปัญญาขบคิด ตั้งคำถาม และวินิจฉัยอย่างรอบด้านเสียก่อน อริยชนเขาทำกันแบบนี้ แต่จะเป็นเมื่อไหร่นั้นยังไม่แน่นอนครับ  ( อ. อาทิจฺจพโลภิกฺขุ )

ระบบสังคมนิยมในพระพุทธศาสนา


...ปิดคอร์สหมดทุกวิชาแล้ววันนี้เพื่อให้นิสิตอ่านหนังสือเตรียมสอบภาคเรียนที่ 2/2563  ซัมเมอร์นี้มีวิชาที่ต้องรับผิดชอบอีก 3 วิชา คือ ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น, พุทธปรัชญาเถรวาท,และพระพุทธศาสนามหายาน

...ส่วนตัวแล้วมีหลักว่า "หากจะสอนวิชาใดก็จะต้องทผลงานวิชาการในวิชานั้น ๆ ก่อนจึงจะสอน สามวิชานี้ก็อาจจะเขียนเป็นบทความ หนังสือ ตำรา หรือวิจัยก็ได้แล้วแต่เวลาและโอกาส

...เทอมหน้านี้ที่จริงมีผลงานที่เขียนไว้ก่อนหน้านี้แล้วคือหนังสือ"พุทธปรัชญา" ส่วนงานคณะสงฆ์เลิกทำไปนานแล้วครับ มันมีอะไรที่มืดมิดซ่อนอยู่ที่แก้ไขไม่ได้มากกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว   เพราะมีระบบอำนาจนิยมที่อิงอยู่กับ พรบ.คณะสงฆ์ ตำแหน่งเจ้าอาวาส  เจ้าคณะ ฯลฯ เป็นอุปสรรคใหญ่ ( ระบบนี้สวนทางกับแนวคิดโดยรวมของพระพุทธศาสนา) 

...พระพุทธศาสนาเป็นแบบสังคมนิยม พระพุทธเจ้าทรงมอบสิทธิในการปกครองและการบริหารแก่พระภิกษุทุกรูปเท่าเทียมกัน แม้พระองค์จะทรงเป็นประธานแต่การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ นั้นทรงมอบให้คณะสงฆ์ เวลามีทรัพย์สินเกิดขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ก็ทรงให้นำเข้าส่วนกลางเพื่อแจกจ่ายให้แก่พระสงฆ์อื่น ๆ อย่างเท่าเทียมกัน พระที่ทำหน้าที่ดูแล ก็ทำแค่เพียงดูแลให้เกิดความสะดวกแก่สมาชิกเท่านั้น 

...ส่วนระบบอำนาจนิยมนั้นไม่มีในพระพุทธศาสนา แต่มีมาตามกฎหมายบ้านเมือง เมื่อมี พรบ.คณะสงฆ์ มีกฎมหาเถรสมาคม, บัญญัติขึ้น พระภิกษุได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน, เป็นเจ้าคณะ ฯลฯ เป็นพระครู เป็นเจ้าคุณฯ ตำแหน่งพวกนี้มาจากระบบอำนาจนิยมทั้งสิ้น ระบบนี้มีประโยชน์คือสามารถใช้ปกครองในสภาวะวิกฤตได้ชั่วคราว (บางครั้งก็ต้องจัดการอย่างเด็ดขาด รวดเร็ว ) แต่หากปล่อยเอาไว้ในระยะยาวจะเกิดผลเสียหายร้ายแรงต่อการพระพุทธศาสนาในทีสุด เพราะจะทำให้พระสงฆ์หลงไหลในอำนาจ ยึดติดกับลาภ ยศ สุข ที่เป็นเรื่องทางบ้านเมือง

...แม้จะเป็นที่รู้กันในทางปรัชญาการเมืองว่า "ไม่มีระบบใดที่ดีที่สุด" แต่อย่างน้อยเราก็พอจะรู้ได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้ระบบใดในการทำงานบริหารคณะสงฆ์ ในพุทธประวัติพระพุทธองค์จะไม่ทรงใช้ระบบอำนาจนิยมในการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์เลย ทรงยกให้สงฆ์เป็นใหญ่เหนือพระองค์ แม้จะทรงอยู่ในฐานะผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนาก็ตามที ทั้งนี้ก็เพราะทรงต้องการให้คณะสงฆ์มีอิสระในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ แม้ในเรื่องพระวินัยก็ทรงผ่อนปรนให้คณะสงฆ์สามารถถอดถอนบัญญัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้หากเห็นว่าสมควร ที่ทรงทำอย่างนั้นก็อาจเป็นเพราะทรงอยากให้คณะสงฆ์มีอายุยืนเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกและมนุษย์ต่อไปนาน ๆ 

...งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน ต้องการความเป็นอิสระสูง เช่น อิสระทางวิชาการ อิสระทางความคิด และอิสระทางการตัดสินใจ  จะมีใครไปใช้อำนาจในทางใด ๆ เข้ามาสั่ง มาแทรกแซงบิดเบือนให้เป็นไปตามความต้องการของตนเองเท่านั้น รังแต่จะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อพระพุทธศาสนาในที่สุด 

...ปัจจุบัน ระบบอำนาจนิยมในคณะสงฆ์ไทยหยั่งรากลึกฝังแน่นเกินกว่าจะขจัดออกไปได้ พระพุทธองค์ไม่ได้มอบให้ใครเป็นใหญ่เหนือคณะสงฆ์ในทางใด ๆ แต่การมีมหาเถรสมาคม  มี พรบ.คณะสงฆ์ มีเจ้าคณะหน เจ้าคณะภาค ที่อยู่ภายใต้การควบคุมสั่งการโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงเป็นสิ่งที่หันเหทิศทางจากเดิมไปคนละทิศทาง พระสงฆ์ที่ได้ตำแหน่งดังกล่าวก็ยึดโยงผูกติดอยู่กับอำนาจที่ได้ประเคนจากรัฐ จนหลงตัวหลงตนไปกับรสชาติอันหอมหวานแห่งอำนาจ มีสถานะไม่ต่างจากการเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ  สวนทางกับแนวทางดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง ( อ. อาทิจฺจพโลภิกฺขุ )

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ศาสนากับรัฐ : คุณค่าในโลกร่วมสมัย


โดย ด๊อกเตอร์ถังขยะ
..ช่วงนี้สถานการณ์พระพุทธศาสนาแรงมาก หลายคนคงติดตามข่าวและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเสรี คำสุภาพ คำผรุสวาท คำเสียดสี ยุยง บิดเบือน พรั่งพรูออกมามากมาย เพื่อให้อุณหภูมิลดลง บทความว่าด้วยศาสนากับรัฐ จะขอเล่าอะไรให้ท่านได้ฟังก่อนสักเล็กน้อยว่า ศาสนาคืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? ก่อนจะวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ได้ยินได้ฟังได้เห็นมา
***รัฐและศาสนาเป็นองค์กรที่ใหญ่ที่รวมหัวกันกดขี่ประชาชน***
....ตอลสตอยกล่าวว่า “มนุษย์ที่มีเหตุผลไม่สามารถมีชีวิตอยู่โดยปราศจากศาสนา เพราะมีเพียงสิ่งนี้ประการเดียวเท่านั้นที่จะมอบเครื่องชี้นำที่สำคัญให้กับเขา เพื่อจะได้รู้ว่าเขาจะต้องทำอะไรก่อนอะไรหลัง หรือกล่าวอย่างชัดเจนคือเพราะศาสนาเป็นสิ่งที่ติดมากับธรรมชาติของเขา อันทำให้ผู้มีเหตุผลไม่อาจดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากศาสนา” ตอลสตอยเริ่มเปิดประเด็นสำคัญเพื่อตอบคำถามถึง “ศาสนาที่แท้” โดยเริ่มด้วยประโยคที่ผู้เขียนเห็นว่านี่คือหัวใจของความเชื่อมั่นอันนำไปสู่การอุทิศชีวิตของเขา “ การยอมรับความเสมอภาคของมนุษย์เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นที่สำคัญของศาสนา”
... น่าสนใจไปกว่านั้น ตอลสตอยอธิบายต่อไปว่า “ดังนั้นไม่ว่าในกาละและเทศะใดที่ความเสมอภาคนี้ดำรงอยู่ และไม่ว่าอีกนานสักเท่าไร สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ในทันทีที่คำสอนของศาสนาใหม่ปรากฏขึ้น (รวมทั้งเมื่อทุกคนสำนึกถึงความเท่าเทียมกัน) ผู้ที่ได้ประโยชน์จากความไม่เท่าเทียมจะพยายามปกปิดความไม่เสมอภาคนี้ไว้ทันที” นี่เป็นจุดเชื่อมที่สำคัญระหว่างมิติทางวิญญาณกับมิติทางสังคม
...ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับรัฐ ณ ปัจจุบันมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ตอลสตอยให้คำตอบว่า "คนส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่อย่างขาดศรัทธา ฝ่ายหนึ่งเป็นชนส่วนน้อยที่มีการศึกษาและมั่งคั่งร่ำรวย พวกนี้ไม่เชื่อศาสนา แต่เห็นว่ามีประโยชน์ในการควบคุมมวลชน ซึ่งคืออีกฝ่ายหนึ่งอันเป็นชนส่วนใหญ่ที่ยากจนและไร้การศึกษา คนกลุ่มนี้เข้าใจว่าตนเองศรัทธา แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ ตอลสตอยใช้คำว่าพวกเขาโดน “สะกดจิต” ซึ่งคือการถูกชักจูงให้ออกจากศาสนาที่แท้จริงโดยไม่รู้ตัว แต่เดินไปในหนทางที่ชนกลุ่มน้อยต้องการ
...การชักจูงที่ว่านี้มีกรรมวิธี ๓ ประการ คือ
.....๑. มีบุคคลพิเศษบางคนที่เป็นตัวกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า(หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์บางอย่างตามทรรศนะของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย)
.....๒. อภินิหารต่างๆ ที่เคยมีหรือยังมีอยู่มักถูกนำมาแสดง เพื่อพิสูจน์และยืนยันสัจธรรมที่ตัวกลางเป็นผู้กล่าวไว้ และ
.....๓. มีการใช้คำพูดที่เคยกล่าวย้ำไว้ด้วยวาจาหรือจารึกไว้ในหนังสือเพื่อแสดงถึงเจตจำนงของพระเจ้า พูดสั้นๆ คือ ชอบอ้างคัมภีร์เพื่อให้ตนได้ผลประโยชน์
...กรรมวิธีทั้งสามนี้จะรับรองในสิ่งที่ตัวกลางพูดว่าเป็นสัจธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ตอลสตอยบอกว่าผลของการชักจูงเหล่านี้รับรองความไม่เสมอภาคและเกิดการแบ่งแยก
****เมื่อพิจารณาสถานการณ์ของศาสนาในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้เขียนเห็นว่าที่ใดที่มี “ศาสนาจัดตั้ง” ย่อมมีกรรมวิธีที่คล้ายกัน สถานการณ์ทางศาสนาในประเทศไทยยามนี้ดูจะสะท้อนภาพอดีตของออร์โธด๊อกซ์ในรัสเซียเมื่อร้อยกว่าปีก่อนได้อย่างไม่น่าเชื่อ จึงไม่น่าแปลกใจว่าคริสตจักรรัสเซียประกาศขับตอลสตอยออกจากคริสต์ศาสนาเขาจึงกลายเป็นพวกนอกรีตไปโดยปริยาย
...อีกกลุ่มหนึ่งที่ตอลสตอยโจมตีคือ นักวิชาการ ซึ่งเป็น “ชนกลุ่มเดียวที่สามารถปลดปล่อยตัวเองออกจากอิทธิพลแห่งการสะกดจิต” และนำพาประชาชนให้พ้นจากแอก แต่กลับไม่ทำหน้าที่หนำซ้ำยังทิ้งให้ประชาชนงมงาย เพื่อ “พวกเขาจะได้รักษาไว้ซึ่งสถานภาพที่มีอภิสิทธิ์ในหมู่ชนส่วนน้อยของตน”
...กลุ่มสุดท้ายคือ รัฐบาล อันตอลสตอยบอกว่าเป็นความหวังของนักปฏิรูปในทุกยุคทุกสมัยที่ผู้ปกครองจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจที่ครอบงำและกดทับประชาชน ให้นำไปสู่ความรักและการรับใช้ แต่ทว่า หากเราพิจารณาในความเป็นจริงมวลชนรุ่นแล้วรุ่นเล่ามีชีวิตอยู่และตายไปภายใต้ภาวะเดิมๆ ซึ่งถูกยึดกุมไว้โดยนักบวชและรัฐบาล ชนชั้นนำย่อมไม่เปิดเผยความเท็จของศาสนาที่ดำรงอยู่ เพราการเผยแพร่ศาสนาที่แท้ คือการทำลายโครงสร้างอำนาจเปรียบเทียบได้กับการตัดกิ่งไม้ที่พวกเขากำลังนั่งอยู่
...เหตุผลเหล่านี้ผู้เขียนเห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างแน่นอนและเริ่มเข้าใจแล้วว่าเหตุใดนักปฏิวัติเช่นเลนินจึงกล่าวว่า “ตอลสตอยยิ่งใหญ่ในฐานะโฆษกทางความคิดและความรู้สึกที่เกิดขึ้นในหมู่กสิกรชาวรัสเซียนับล้านในช่วงปฏิวัติกฏุมพีที่กำลังจะเกิดขึ้นในรัสเซีย” เพราะความคิดของตอลสตอยนั้นเป็นขบถต่ออำนาจ อำนาจที่ไม่มีใครกล้าขัดขืนมาก่อน รัฐและศาสนาเป็นองค์กรที่ใหญ่ที่มีภาพลักษณ์ว่ารวมหัวกันกดขี่ประชาชน หากแต่สิ่งเหล่านี้ ตอลสตอยทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ...

วิเคราะห์เชิงปรัชญา พระอัครสาวก

  พระธาตุพนม บรมเจดีย์                                                                                                                      ...