วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2566

ความเห็นผิด!เกี่ยวกับ อธิปไตย ๓

 


...พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเกี่ยวกับอธิปไตย หรือความเป็นใหญ่ 3 ประการคือ อัตตาธิปไตยโลกาธิปไตยธรรมาธิปไตย  แต่มีการตีความผิดไป คือ  

...ตีความผิด

        1. อัตตาธิปไตยคือ การถือตัวเองเป็นใหญ่ อันได้แก่ การยึดถือความคิดของตนเองเป็นศูนย์กลางและต้องการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรอบข้างเชื่อถือและทำตามความคิดแห่งตน

        ดังนั้น ผู้ที่ยึดถือแนวคิดนี้ จึงเห็นได้อย่างชัดเจนจากการที่ไม่ต้องการให้ใครคัดค้านหรือปฏิเสธความคิดแห่งตน จึงเทียบได้กับผู้นำที่เป็นเผด็จการ หรือลัทธิเผด็จการ

        2. โลกาธิปไตยคือ การถือโลกหรือคนหมู่มากเป็นใหญ่ ผู้ที่ยึดถือแนวคิดนี้จะเห็นด้วยและคล้อยตามกระแสแห่งโลกเป็นหลัก โดยไม่คำนึงว่าจะสอดคล้องกับแนวคิดของตนเอง หรือให้พูดง่ายๆ ก็คือ แล้วแต่กระแสจะพาไป จึงง่ายต่อการเป็นเหยื่อของกระแสโลก

        ดังนั้น จะเป็นคนโชคดีถ้าเผอิญกระแสโลกที่พาเขาไปเป็นสิ่งถูกต้อง และเป็นธรรม ในทางกลับกันอาจเป็นคนโชคร้ายถ้าเผอิญกระแสที่ว่านี้เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง และก่อทุกข์ให้โทษแก่ตนเอง และสังคมในโอกาสต่อมา

        3. ธรรมาธิปไตยคือ การถือธรรมหรือความถูกต้องเป็นใหญ่ ผู้ที่ดำเนินตามแนวคิดนี้ได้จะต้องประพฤติตนให้อยู่ในทำนองคลองธรรมจนถึงขั้นยกระดับจิตใจให้อยู่เหนือความต้องการอย่างหยาบ ที่จะเป็นต้นเหตุให้เกิดพฤติกรรมทุจริตทางกาย และวาจารุนแรงถึงขั้นผิดศีลธรรมอันเป็นกติการักษาความเรียบร้อยของสังคม หรือที่เรียกว่า นิจศีลหรือศีล 5


ที่ถูกต้องคือ 

...เธอทำตนเองแลให้เป็นใหญ่ แล้วละ อกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอัตตาธิปไตย 

...เธอทำโลก ให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มี โทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโลกาธิปไตย

...เธอย่อม สำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้ว จักไม่หลงลืมกายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมี อารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญ กุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่าธรรมาธิปไตย


...อธิบายง่ายๆ ได้ว่า " อธิปไตย  ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงมีนัย สรุปคือ

1.   คุณที่เกิดโดยทำตนให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าอัตตาธิปไตย

2.  คุณที่เกิดโดยทำชาวโลกให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าโลกาธิปไตย

3.  คุณที่เกิดโดยทำโลกุตรธรรม  ให้เป็นใหญ่ ชื่อว่าธัมมาธิปไตย.  


...อธิปไตย  ตามที่ทรงแสดงไว้นั้น มีความหมายแสดงให้เห็นวิธีการในการปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ แต่มีผู้ตีความผิดไปจากพุทธประสงค์กลายเป็น มติที่มีนัยยะการประพฤติที่ไม่ดี ไม่น่าปราถนา และไม่ควรปฏิบัติ เช่น ตีความว่า อัตตาธิปไตย คือ การเอาแต่ใจตนเอง ถือความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เผด็จการ ฯลฯ เป็นต้น 

...ซึ่งการตีความแบบนี้ดูไม่สอดคล้องและไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย . (ด๊อกเตอร์ถังขยะ)

วันเสาร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2566

การเมืองบนเส้นทางใหม่

 


….เมื่อประเทศเดินทางมาถึงยุคที่พลเมืองทุกคนต้องเข้ามาช่วยกันเลือกเส้นทางใหม่ผ่านมุมมอง ความคิดของตนตามวัยของแต่ละคน การพูดแสดงความคิดเห็นทางการเมือง สามารถที่จะทำที่ไหน เวลาใด ก็ได้วันนี้จึงขอยกคำวลี  หนึ่งที่เขียนเอาไว้ว่า 

นกบางตัวไม่ได้เกิดมาเพื่ออยู่ในกรง เพราะขนของมันเจริดจรัสจนเกินไป "

...เมื่อก่อนการเมืองมักจะถูกมองว่าเป็นเรื่องของผู้ใหญ่และผู้มีอำนาจบางกลุ่ม  เด็กๆเยาวชนจะต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง​ และเขาก็จะได้รับจัดสรรกฎ ระเบียบ กรอบเกณฑ์ต่างๆ มากมายเสียจน กลายเป็น การลดทอนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการอันเจริดจรัสทางการเมืองลงเหลือเพียง การดำเนินชีวิตตามโปรแกรมคำสั่ง ต้องการให้ทำอะไรก็ออกคำสั่ง แล้วเราก็ทำตามโดยไม่เคยมีคำถาม ใครปฏิบัติตามได้สังคมก็จะบอกว่า "เธอเป็นคนดีแต่หากมีใครก็ตามพยายามคิดนอกกรอบ แหกกฏ หรือขบถต่อกฎเกณฑ์ขบธรรมเนียม เขาก็จะกลายเป็นคนเลว และถูกประณามจากสังคม

...ชีวิตแห่งการเมืองในแบบนี้ ก็ไม่มีอะไรแตกต่างจาก การเขียนโปรแกรมขึ้นมาด้วยคำสั่งชนิดต่าง แล้วป้อนเข้าไปในระบบฮาร์ดแวร์ จากนั้นสมองกลเหล่านั้นก็จะคิดและคำนวณออกมาเป็นผลลัพภ์ที่ถูกต้อง ตรงตามที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องการ นี่คือระบบการเมืองไทยแบบเก่าที่ยังคงมีอิทธิพลอยู่ในบ้านเราตอนนี้

..บรรดารัฐบาลทั้งหลายที่ผ่านมาในอดีตก็มักจะมองว่า " การควบคุมประเทศโดยกฏเกณฑ์ต่างๆ  นั้นเป็นเรื่องที่ดี และจำเป็นต้องมีในระบบการเมือง โดยกลุ่มพวกเขาจะพากันร่างต้นฉบับ ระเบียบ แบบแผนออกมาชุดหนึ่งและใช้มัน เสมือนหนึ่งว่า เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ใครจะละเมิดมิได้ มีสถานะที่คอยบังคับว่า “ พลเมืองอย่างเราต้องทำอย่างไร ประชาชนต้องพูด ห้ามพูดอะไร " (ตามนโยบาย หรือ ซอฟแวร์ ที่รัฐบาลกำหนดไว้ )

...คำถามที่เหมาะสมสำหรับเรื่องนี้จึงมีว่า " หากมีนักการเมืองคนหนึ่งมาบอกว่า รู้จักประชาชนดีที่สุด รู้จักการเมืองการปกครองดีที่สุดและอาสามาเพื่อลิขิตกฎเกณฑ์ให้ประชาชนทำตาม หรือไม่ให้ทำอะไร ให้ทำอะไรมาก หรือ ให้ทำอะไรน้อย " คุณจะยอมทำตามหรือไม่คงไม่มีมนุษย์คนใดยอมให้เขาทำเช่นนั้นเป็นแน่

...เพราะเหตุว่า พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์นั้นมีมากมายเกินจินตนาการ มีพลังอำนาจที่สามารถสร้างสิ่งมหัศจรรย์ต่าง  ได้ยิ่งเสียกว่าตัวนักการเมืองผู้นั้นเองจะคาดไปถึง ขีดความสามารถแห่งสติปัญญาของประชาชนจึงขัดแย้งกับกฎเกณฑ์และกรอบต่าง  ที่นักการเมืองผู้นั้นพยายามจะเขียนและล้อมกรอบเอาไว้เสมอ  และแน่นอนว่า มันจะพยายามทำลายกรอบเมื่อมีโอกาส ซึ่งไม่ใช่ความชั่วร้ายไม่ใช่ความเลว แต่เพราะหัวใจของเขาเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งชีวิต มีอิสระและเสรีภาพ มากกว่าที่จะถูกขังไว้ ให้ตายไปอย่างเงียบงัน นั่นเอง ด๊อกเตอร์ถังขยะ)

วิเคราะห์เชิงปรัชญา พระอัครสาวก

  พระธาตุพนม บรมเจดีย์                                                                                                                      ...