วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564

บทความพิเศษ: จากไฮพาเทีย ถึง มะแซจิน แรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่

 

จากไฮพาเทีย ถึง มะแซจิน แรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่
...วีรสตรีสร้างเรื่องราวในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอยู่เสมอ ทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ในยุคที่ปรัชญากรีกรุ่งเรือง ยุคที่ผู้ชายเป็นผู้นำและผู้หญิงอยู่แต่เพียงในครัว แต่บรรดาสตรีเหล่านี้ก็ได้แหวกม่านแห่งสังคมยุคนั้นออกมาอย่างกล้าหาญ และแสดงพลังแห่งความคิดและสติปัญญาของสตรีให้โลกได้จดจำ
...คนแรก ชื่อของเธอคือ ไฮพาเทีย นักคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์และปรัชญา หญิงคนเดียวที่ได้รับเกียรติสูงสุดนี้ ภาพของเธอปรากฏอยู่ด้านซ้ายของภาพเขียนชื่อ "โรงเรียนแห่งเอเธนส์" ร่วมกับโสเครตีส เพลโต อาริสโตเติลและบรรดานักปรัชญากรีกเลื่องชื่อท่านอื่นๆ คำพูดอมตะของเธอ คือ
...."เราควรได้รับการสงวนสิทธิ์ที่จะคิด แม้ว่า การคิดผิด ก็ยังดีกว่าการไม่คิดเอาเสียเลย" ....
....วาระสุดท้ายของชีวิตเธอถูกคริตจักรสังหารอย่างโหดเหี้ยมเพราะพวกนั้นคิดว่าเธอเป็นพวกนอกรีต แต่โลกก็ไม่เคยลืมเธอผู้หญิงผู้ที่ยืนหยัดในความจริงแท้ และเสียสละแม้ชีวิต
...คนต่อมา คือ มะ แซ จิน หรือ แองเจิล หรือ จาล ซิน สาวน้อยวัย 19 ปีเธอเสียชีวิตจากการถูกยิงเข้าที่ศีรษะด้วยกระสุนจริง ก่อนจะมีการเผยภาพของเธอในนาทีที่กำลังพยายามจะหมอบหลบกระสุน และถูกยิงเสียชีวิตในเวลาต่อมา การเสียชีวิตของ จาล ซิน นั้นสร้างความสะเทือนใจให้กับผู้ชุมนุมและประชาชนชาวพม่าเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ จาล ซิน เธอเป็นลูกสาวเพียงคนเดียวของครอบครัว และยังเป็นเจ้าของร้านบิวตี้ซาลอนแห่งหนึ่ง นอกจากนี้เธอยังเป็นสาวน้อยที่มากความสามารถ เธอเรียนศิลปะป้องกันตัวต่าง ๆ เป็นนักเต้น และยังเป็นนักร้องที่มีเสียงที่ไพเราะที่มาพร้อมกับเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร และเมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมานั้นเธอก็เพิ่งปล่อยเพลงที่ทำเอ็มวีและร้องเพลงเอง ในเพลงที่มีชื่อว่า No Reason (ไม่มีเหตุผล)
....ตั้งแต่เกิดการรัฐประหารขึ้นจาล ซินก็เป็นหนึ่งที่ออกไปประท้วง เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริง ทั้งนี้การที่เธอออกไปประท้วงนั้น บิดาของเธอก็ไม่เคยคัดค้านและยังสนับสนุนเธอมาโดยตลอด ซึ่งเธอเคยโพสต์ภาพที่พ่อของเธอเอาผ้าสีแดงมาผูกข้อมือให้ก่อนออกไปร่วมการชุมนุม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการชุมนุมและสร้างขวัญกำลังใจให้กับลูกสาวสุดที่รัก
....จาล ซิน เธอได้โพสต์ข้อความสุดท้ายบนเฟซบุ๊กส่วนตัวของเธอระบุว่า “เลือดของฉันคือกรุ๊ป A หากต้องการติดต่อสามารถติดต่อได้ทันที ฉันนั้นได้ลงชื่อบริจาคอวัยวะและร่างกายไว้เรียบร้อยแล้ว หากใครต้องการสามารถมาติดต่อเอาไปได้เลย หวังว่ามันจะมีประโยชน์”
...ฉันนำเรื่องนี้มาเล่า เพื่อสะท้อนอะไรบางอย่างให้คุณเห็น การปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างคนรุ่นเก่าที่มีกรอบแนวคิดแบบเดิม กับ กระบวนการทางปัญญาของคนรุ่นใหม่ การไม่ยอมรับแนวคิดใหม่ ๆ ของคนรุ่นเก่าทำให้โลกต้องสูญเสียโอกาสในการพัฒนาทางสติปัญญา เพราะคนรุ่นเก่ามัวแต่ขบคิคถึงอุดมคติอันสูงส่งของศาสนาที่ตนนับถือ จนละเลยชีวิตจริง และความเป็นจริง จนในที่สุดการแสวงหาความจริงด้วยปัญญาของคนรุ่นใหม่ก็กลายเป็นภัยต่อพวกเก่า และจะต้องถูกกำจัดออกไปให้พ้นทาง และเมื่อมันเกิดขึ้นมันคือความเลวร้าย และโศกนาฏกรรมที่โลกต้องจารึก รวมทั้งเป็นคำสัญญาว่า โลกจะไม่หยุดที่จะเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ และปลดปล่อยตนเองจากการกดขี่
...." วีรบุรุษและวีรสตรีที่แท้จริงพวกเขาตายในสนามรบ และโลกต้องหลั่งน้ำตาให้กับพวกเธอ... ( อ. อาทิจฺจพโลภิกฺขุ )
.....................................................
Special article: From Hypatia to Masaejin, inspiration to new generation
... The heroines always make up the pages of the history of mankind. All ages Since the era of Greek philosophy The era when men are leaders and women are only in the kitchen. But these women boldly broke the veil of that society And show the power of thinking and wisdom of women for the world to remember
... First, her name was Hypatia, a mathematician. Astronomy and Philosophy The only woman who received this highest honor. Her picture appears to the left of the painting titled The "School of Athens" was joined by Socrates, Plato, Aristotle and other famous Greek philosophers. Her immortal words are
.... "We should be reserved to think, even if it is better to think wrong than not think about it" ....
.... At the end of her life, she was brutally murdered by the church because they thought she was a heretic. But the world never forgot you, a woman who stands up for the truth. And sacrificing even life
... The next one is Ma Sae Jin or Angel or Jalsin, a 19-year-old girl. Before her footage was revealed, the minute she was trying to dodge a bullet. And later shot and killed The death of Jalsin has been deeply moved by protesters and Burmese people, she is the only daughter of her family. And also owns a beauty salon In addition, she is a very talented young woman. She studied martial arts, was a dancer, and was also a singer with a beautiful voice with a unique personality. And in September of last year, she just released a song that she made her own MV and sang. In a song called No Reason (No Reason)
.... Since the coup d'état. Xin was the one who went out to protest. To claim true democracy In which she went to protest Her father never objected and continued to support her. She previously posted a photo of her father tied with red cloth on her wrist before going out to a rally. To be a part of the gathering and to strengthen the morale of my beloved daughter.
.... Jalsin, she posted the last message on her personal Facebook page, stating “My blood is type A. If you want to contact you can contact immediately. I have already signed the donation of organs and body. If anyone wants, you can come and contact to get it. Hope it will be useful. "
... I bring this story to tell. To reflect something for you The intense clash between the older generation with the conventional paradigm and the intellectual processes of the new generation. The old generation's refusal to embrace new ideas leads to the loss of intellectual development opportunities in the world. Because the older generation is devoted to the high ideals of their religion Until they neglect real life And reality In the end, the new generation's quest for truth has become a threat to the old. And must be removed from the way And when it does, it is bad. And the tragedy that the world must write Including a promise that The world will never cease to claim freedom. And free yourself from oppression.
.... " heroes and heroines, they die on the battlefield. And the world has to shed tears for you ... (A. Adiccabalobhikku )

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2564

ข้อพิจารณา(ร่าง) กฎหมายคณะสงฆ์ฉบับใหม่


โดย ด๊อกเตอร์ถังขยะ

...วันนี้นำเสนอประเด็นร้อนละอุทะลุองศา กระแสว่าจะมีการแก้กฎหมายพ.ร.บ คณะสงฆ์ 2505 แบบสุดโต่ง และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
...เริ่มตั้งแต่ การกำหนดว่า จะไม่ให้พระรับเงินหรือปัจจัย ไม่ให้พระมีบัญชีธนาคาร จนถึงกับว่า บวชแล้วห้ามสึก หรือรับมรดก เอาแค่สามประเด็นนี้ก็จะเห็นว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาของไทยอย่างแน่นอน
...เริ่มจากประเด็นแรกคือ ห้ามพระรับเงิน หรือรับแล้วเงินนั้นก็จะต้องตกเป็นของวัด รวมไปถึงเงินทุกประเภท เงินสวด เงินบริจาค หรือทุกประเภทที่เรียกว่าเงิน ห้ามทั้งหมด เราจึงต้องมาตั้งคำถามว่า " กฎหมายมาตรานี้ เอาเกณฑ์อะไรมาใช้ในการบัญญัติกฎหมาย หากเอาเกณฑ์พระธรรมวินัยมาพิจารณา "การที่พระภิกษุรับเงินทองถือว่าเป็นอาบัตินิสัคคียปาจิตตีย์ ระบุชัดเจน (ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น)" แต่ปัญหามันไม่ได้มีอยู่แค่ประเด็นด้านพระวินัยเพียงอย่างเดียว แต่มันขึ้นอยู่กับความมั่นคงของสถาบันพระพุทธศาสนาด้วย ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าสำคัญเท่าๆ​กับประเด็นแรก ถ้าพระไม่รับเงินแล้วมันจะมีวิธีปฏิบัติอย่างอื่นใดที่จะทำให้พระเณรของเรา สามารถดำรงอยู่ได้ในโลกปัจจุบัน
...หากญาติโยมไม่ถวายเงินพระอันนี้จะทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองขึ้นจริงหรือ? บรรดาวัดวาอารามต่างๆจะสามารถดำรงความเป็นวัดอยู่ได้อย่างไร? เป็นคำถามที่น่าคิดนะ เพราะทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ารถ ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ซึ่งหากนำมาใช้กับพระ(บางรูป)ที่ท่านมีเหลือเฟือ จะไปไหนมีรถประจำตำแหน่งมีคนถวายค่าน้ำมัน จะไปฉันที่ไหนก็มีคนถวายภัตตาหาร แค่จะเดินก็มีคนปูพรมให้ กฎหมายนี้ก็น่าจะเป็นคุณตรงที่จะทำให้ท่านเหล่านั้นกลับมาเป็นพระธรรมดาเท่าๆ กับพระรูปอื่นๆ
...แต่ในทางปรัชญาเวลามองเราไม่มองแค่แง่มุมเดียว จะต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อสถาบันพระพุทธศาสนาซึ่งสำคัญที่สุดด้วย ถ้าใช้กับพระทั้งประเทศซึ่งพระสงฆ์สามเณรส่วนใหญ่ ท่านก็ไม่ได้มีทรัพย์สมบัติอะไรเราควรจะใช้กับท่านหรือไม่? มีเงินที่ญาติโยมถวายเป็นปัจจัยสวดศพ สวดบังสกุล หรือใส่ซองทำบุญให้ไม่กี่ร้อยบาท ท่านก็นำมาใช้เป็นค่ารถไปเรียน ค่าหนังสือ ค่าของใช้ฉุกเฉินที่จำเป็น และบางครั้งก็ใช้ดูแลญาติพี่น้องที่ลำบากมาขอท่านบ้าง บางทีทั้งเดือนมีปัจจัยที่โยมถวายให้ไม่ถึงพันบาท กฎหมายนี้ไม่สมเหตุสมผล และไม่เป็นผลดีต่อพระพุทธศาสนาใน เรื่องนี้อาตมาแสดงความคิดเห็นในฐานะพระธรรมดารูปหนึ่ง
...ประเด็นที่สองยิ่งหนักเข้าไปอีก คือ บวชแล้วห้ามสึก หากกฎหมายนี้บังคับใช้ โครงการบวชเณรภาคฤดูร้อน โครงการบวชอื่นๆ บวชตามประเพณี จะหมดสิ้นไปจากประเทศไทย การผลิตศาสนทายาทสืบทอดพระพุทธศาสนาจะลดจำนวนลงอย่างมากเป็นประวัติการณ์ ภายใน ๕ ปี จำนวนพระสงฆ์จะลดลงอย่างรวดเร็ว และในที่สุดเมื่อจำนวนพระสงฆ์น้อยลงถึงภาวะวิกฤต วัดจะร้างมากขึ้นในทุกพื้นที่จนไม่มีกำลังเพียงพอที่จะชักนำศรัทธาของประชาชนให้หันมาประพฤติปฏิบัติธรรมเหมือนในอดีต ลองไปถามดูแถว ๆ มุกดาหาร นครพนมบ้านอาตมา ตอนนี้แต่ละวัดก็เหลือเพียงพระชราภาพเพียงรูป หรือสองรูปรักษาวัดเอาไว้เท่านั้น
...และที่หายนะยิ่งกว่า คือการนำมาใช้กับกฎหมายควบคุมทรัพย์สิน ห้ามรับมรดก ห้ามรับเงิน จะยิ่งตีกรอบเข้มงวดมากยิ่งขึ้นจนพระดำรงอยู่ในปัจจุบันไม่มีความสามารถในการรักษาวัด รักษาศรัทธาเอาไว้ได้ ที่สำคัญรัฐบาลจะทำอย่างไร จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้วัดทุกวัด พระทุกรูป เณรทุกรูปกระนั้นหรืออาตมาคิดว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะรัฐบาลเอาแค่ดูแลประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รับมือกับเศรษฐกิจ เท่านั้นก็แย่อยู่แล้ว แล้วจะเอาความสามารถที่ไหนมาดูแลพระเณร เช่น ค่าศึกษาเล่าเรียน ค่ารถ ค่าภัตตาหาร ค่าอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากหน้าที่ที่รัฐจะต้องจัดหามาให้อีก
...ดังนั้นการที่พระรับเงิน จากการไปสวด มนต์ ไปฉันเพล ตามที่ญาติโยมเขานิมนต์มานั้น จึงเท่ากับการแบ่งเบาภาระที่รัฐบาลจะต้องจ่าย ซึ่งเป็นผลดีกับรัฐบาลเสียอีก ..หรือจะบอกให้เข้าใจว่า "ที่วัดทุกวัดอยู่ได้ตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้ ไม่ใช่เพราะเงินจากรัฐบาลหามาให้นะครับ แต่เป็นเงินที่ญาติโยมนำมาถวายพระนั่นเอง"
...ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าอาตมาเห็นด้วยกับการที่พระมีเงิน จับเงิน ได้รับเงิน ฯลฯ แต่เป็นเพียงการแสดงทรรศนะว่าหากเราจะพิจารณาออกกฎหมายใด ให้ดูให้รอบด้าน การยึดแนวทางเดียวอย่างสุดโต่งโดยไม่มองความจำเป็นเงื่อนไขอื่น ๆ เลย อาจเป็นเรื่องโง่เขลาโดยไม่รู้ตัว จริงอยู่พระไม่ควรจับเงิน ยินดีในเงินทอง ตามพระวินัยและต้องกระทำอย่างเคร่งครัดบิดเบือนมิได้ แต่เป้าประสงค์ตรงนี้เพื่อให้พระที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรลุพระนิพพานได้ถือปฏิบัติเพื่อนำพาตนเองไปสู่การหลุดพ้น ดังนั้นการนำพระวินัยข้อนี้มาใช้จึงต้องกระทำอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงผู้ปฏิบัติตามเป็นสำคัญว่า พระ-เณร รูปนั้นบวชเข้ามาเพื่อกิจอันใด เพื่อมรรคผลนิพพาน หรือเพื่อการศึกษาเล่าเรียน ซึ่งอาตมาเห็นว่า มีสองฝ่าย ฝ่ายที่มุ่งพระนิพพานโดยตรง ท่านคงไม่มีปัญหาว่า ทำได้หรือไม่ได้ เพราะทรงห้ามเอาไว้อยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นสามเณร พระภิกษุที่บวชเรียน และพระที่ทำงานในมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนา ในโลกยุคใหม่ ท่านเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้มุ่งไปเพื่อพระนิพพาน แต่เพื่อชีวิตที่ดี อาจไม่ได้หมายถึงเงินทอง แต่หมายถึง คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตรงนี้เราจะตอบอย่างไร
...หากเราบอกว่าไม่ได้ พระเหล่านี้ก็จะหมายไปจากระบบ แล้วจะเหลือพระที่มุ่งพระนิพพานกี่รูป วัดก็จะร้างกันทั้งประเทศ แล้วอย่างนี้เรายังจะยืนกระต่ายขาเดียวได้อย่างไร ( อ. อาทิจฺจพโลภิกฺขุ

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564

ความเหมา​ะสมและความจำเป็นในการใช้ยานพาหนะ​ของพระสงฆ์​ร่วมสมัย​

 


ใคร ๆ ก็ทำกัน!

...โดยธรรมชาติแล้วตัวเราไม่มีค่าต่ออะไร หรือต่อใคร เราจะมีค่าก็ต่อเมื่อเราทำตัวให้มีค่า คนดีก็ไม่ใช่อยู่ที่กำเนิด หรือเกิดมาดี  คนดีคือคนธรรมดาที่เป็นได้ทั้งดีและชั่ว แต่เขาเลือกจะทำความดี ไม่ทำความชั่ว

...เราจะเห็นคุณค่าของใครต่อเมื่อเขาตกอยู่ในสถานการณ์ที่จำต้องเลือกระหว่าง "ดี กับ "ชั่ว" ดังนั้นเราจึงไม่ตัดสินคนจากชาติกำเนิดหรือจากสิ่งที่เขาเป็น ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร เป็นคนแบบไหน เขาย่อมมีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกทำ และท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่เขาทำจะเป็นเครื่องหมายบอกคนอื่น ๆ ได้ว่าเขา "เป็นคนแบบไหน" ดี หรือ ไม่ดี

..สมมุติว่า เรามีโอกาสเลือกในการที่จะทำใบขับขี่ เพื่อให้ได้สิทธิ์ในการขับรถอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทย โดยผู้ให้สิทธิ์นั้นเป็นของรัฐ และรัฐก็อนุญาต คำถามจึงไม่ใช่ว่า เรามีสิทธิ์ขับรถหรือไม่? แต่คือ เราเลือกที่จะขับหรือไม่? 

...พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามไปเสียหมดทุกอย่างเพราะทรงรู้ดีว่า มนุษย์นั้นมีกิเลสอย่างไรบ้าง และอนาคตก็จะเกิดมีเหตุการณ์ที่เป็นมากกว่าในยุคของพระองค์ที่นอกเหนือจากที่ทรงบัญญัติห้ามเอาไว้เกิดขึ้น จึงทรงตรัสเป็นแนวทางวินิจฉัยเฉพาะในทางพระวินัย (great authorities; principal references)เอาไว้อย่างกว้าง ๆ ความว่า

       1. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร 

       2. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร 

       3. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร 

       4. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร 

...การที่ทรงตรัสอย่างนี้ก็เพื่อเป็นหลักการตีความการปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์(ในทางพระวินัย)ในอนาคตว่า หากเกิดเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่จำเป็นต้องเลือก หรือเกิดความอิหลักอิเหลื่อในทางศีลธรรม จริยธรรม ให้ใช้หลักนี้

...การที่รัฐออกมาให้สิทธิ์แก่พระภิกษุสงฆ์สามารถเลือกได้ ไม่ใช่เรื่องทางพระวินัย เพราะรัฐไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามพระวินัยหรือหลักการตีความในทางพระวินัยแต่อย่างใด แต่พระภิกษุ-สามเณร ผู้ครองเพศบรรพชิตต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกไม่ใช่กฎหมายของรัฐ แต่เป็นกฎเกณฑ์ทางพระวินัยและมองภาพความมั่นคงของพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นเรื่องใหญ่ แม้รัฐจะให้พระใช้สิทธิ์ส่วนตนได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง

...หากเราเลือกจะใช้สิทธิ์ที่รัฐหยิบยื่นให้ก็จะเกิดกรณีต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ใช่แค่ใบขับขี่ แต่มันจะหมายถึงการที่พระภิกษุจะมีอะไร ๆ เหมือนฆราวาสมากขึ้น ลองนึกภาพว่า " พระไปกิจนิมนต์ขับรถราคาแพงไป " ฯลฯ อีกมากตามมาที่กระทบกระเทือนศรัทธาของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป หรืออาจมีกรณีเกิดอุบัติเหตุทางถนน ที่ทำให้พระ กลายเป็น ผู้ต้องหา หรือ เป็นคู่กรณี ฟ้องร้องในศาล หรือ ตกเป็นจำเลยในคดีที่เกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย  เพราะสิ่งเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นบนท้องถนน มากกว่าในที่อื่น ๆ 

...การอ้างว่า " ที่ไหนก็ทำกัน " เป็นการใช้เหตุผลวิบัติในทางตรรกศาสตร์ เรียกว่า "การอ้างคนส่วนใหญ่ทำกัน" หรือ Fallacy ในภาษาอังกฤษ การใช้เหตุผลแบบนี้ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป เพราะสิ่งที่คนอื่น ๆ เขาทำก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งนั้นถูกต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัย หรือตามความเหมาะสม ดังนั้นจึงใช้อ้างไม่ได้...

...การเสวนานี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการสรรหาวิทยากรผู้มีความรู้จากหลากหลายสาขาอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น ตำรวจ ขนส่ง นักวิชาการ​ สำนักงาน​พระพุทธศาสนา​ พระผู้ขับขี่ มาให้ความคิดเห็น เป็นการเปิดเวทีสาธารณะให้สนทนาซักถามพูดคุยกัน ก่อนที่จะตัดสินใจทำหรือไม่ทำ  เราจะไม่ด่วนตัดสินผิด ถูก ควรไม่ควรหากเรายังไม่ได้ใช้ปัญญาขบคิด ตั้งคำถาม และวินิจฉัยอย่างรอบด้านเสียก่อน อริยชนเขาทำกันแบบนี้ แต่จะเป็นเมื่อไหร่นั้นยังไม่แน่นอนครับ  ( อ. อาทิจฺจพโลภิกฺขุ )

ระบบสังคมนิยมในพระพุทธศาสนา


...ปิดคอร์สหมดทุกวิชาแล้ววันนี้เพื่อให้นิสิตอ่านหนังสือเตรียมสอบภาคเรียนที่ 2/2563  ซัมเมอร์นี้มีวิชาที่ต้องรับผิดชอบอีก 3 วิชา คือ ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น, พุทธปรัชญาเถรวาท,และพระพุทธศาสนามหายาน

...ส่วนตัวแล้วมีหลักว่า "หากจะสอนวิชาใดก็จะต้องทผลงานวิชาการในวิชานั้น ๆ ก่อนจึงจะสอน สามวิชานี้ก็อาจจะเขียนเป็นบทความ หนังสือ ตำรา หรือวิจัยก็ได้แล้วแต่เวลาและโอกาส

...เทอมหน้านี้ที่จริงมีผลงานที่เขียนไว้ก่อนหน้านี้แล้วคือหนังสือ"พุทธปรัชญา" ส่วนงานคณะสงฆ์เลิกทำไปนานแล้วครับ มันมีอะไรที่มืดมิดซ่อนอยู่ที่แก้ไขไม่ได้มากกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว   เพราะมีระบบอำนาจนิยมที่อิงอยู่กับ พรบ.คณะสงฆ์ ตำแหน่งเจ้าอาวาส  เจ้าคณะ ฯลฯ เป็นอุปสรรคใหญ่ ( ระบบนี้สวนทางกับแนวคิดโดยรวมของพระพุทธศาสนา) 

...พระพุทธศาสนาเป็นแบบสังคมนิยม พระพุทธเจ้าทรงมอบสิทธิในการปกครองและการบริหารแก่พระภิกษุทุกรูปเท่าเทียมกัน แม้พระองค์จะทรงเป็นประธานแต่การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ นั้นทรงมอบให้คณะสงฆ์ เวลามีทรัพย์สินเกิดขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ก็ทรงให้นำเข้าส่วนกลางเพื่อแจกจ่ายให้แก่พระสงฆ์อื่น ๆ อย่างเท่าเทียมกัน พระที่ทำหน้าที่ดูแล ก็ทำแค่เพียงดูแลให้เกิดความสะดวกแก่สมาชิกเท่านั้น 

...ส่วนระบบอำนาจนิยมนั้นไม่มีในพระพุทธศาสนา แต่มีมาตามกฎหมายบ้านเมือง เมื่อมี พรบ.คณะสงฆ์ มีกฎมหาเถรสมาคม, บัญญัติขึ้น พระภิกษุได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน, เป็นเจ้าคณะ ฯลฯ เป็นพระครู เป็นเจ้าคุณฯ ตำแหน่งพวกนี้มาจากระบบอำนาจนิยมทั้งสิ้น ระบบนี้มีประโยชน์คือสามารถใช้ปกครองในสภาวะวิกฤตได้ชั่วคราว (บางครั้งก็ต้องจัดการอย่างเด็ดขาด รวดเร็ว ) แต่หากปล่อยเอาไว้ในระยะยาวจะเกิดผลเสียหายร้ายแรงต่อการพระพุทธศาสนาในทีสุด เพราะจะทำให้พระสงฆ์หลงไหลในอำนาจ ยึดติดกับลาภ ยศ สุข ที่เป็นเรื่องทางบ้านเมือง

...แม้จะเป็นที่รู้กันในทางปรัชญาการเมืองว่า "ไม่มีระบบใดที่ดีที่สุด" แต่อย่างน้อยเราก็พอจะรู้ได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้ระบบใดในการทำงานบริหารคณะสงฆ์ ในพุทธประวัติพระพุทธองค์จะไม่ทรงใช้ระบบอำนาจนิยมในการเผยแผ่ศาสนาของพระองค์เลย ทรงยกให้สงฆ์เป็นใหญ่เหนือพระองค์ แม้จะทรงอยู่ในฐานะผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนาก็ตามที ทั้งนี้ก็เพราะทรงต้องการให้คณะสงฆ์มีอิสระในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ๆ แม้ในเรื่องพระวินัยก็ทรงผ่อนปรนให้คณะสงฆ์สามารถถอดถอนบัญญัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้หากเห็นว่าสมควร ที่ทรงทำอย่างนั้นก็อาจเป็นเพราะทรงอยากให้คณะสงฆ์มีอายุยืนเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกและมนุษย์ต่อไปนาน ๆ 

...งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน ต้องการความเป็นอิสระสูง เช่น อิสระทางวิชาการ อิสระทางความคิด และอิสระทางการตัดสินใจ  จะมีใครไปใช้อำนาจในทางใด ๆ เข้ามาสั่ง มาแทรกแซงบิดเบือนให้เป็นไปตามความต้องการของตนเองเท่านั้น รังแต่จะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อพระพุทธศาสนาในที่สุด 

...ปัจจุบัน ระบบอำนาจนิยมในคณะสงฆ์ไทยหยั่งรากลึกฝังแน่นเกินกว่าจะขจัดออกไปได้ พระพุทธองค์ไม่ได้มอบให้ใครเป็นใหญ่เหนือคณะสงฆ์ในทางใด ๆ แต่การมีมหาเถรสมาคม  มี พรบ.คณะสงฆ์ มีเจ้าคณะหน เจ้าคณะภาค ที่อยู่ภายใต้การควบคุมสั่งการโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงเป็นสิ่งที่หันเหทิศทางจากเดิมไปคนละทิศทาง พระสงฆ์ที่ได้ตำแหน่งดังกล่าวก็ยึดโยงผูกติดอยู่กับอำนาจที่ได้ประเคนจากรัฐ จนหลงตัวหลงตนไปกับรสชาติอันหอมหวานแห่งอำนาจ มีสถานะไม่ต่างจากการเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ  สวนทางกับแนวทางดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง ( อ. อาทิจฺจพโลภิกฺขุ )

วิเคราะห์เชิงปรัชญา พระอัครสาวก

  พระธาตุพนม บรมเจดีย์                                                                                                                      ...