วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

ความแตกต่างระหว่างการใช้เหตุผลทางพระพุทธศาสนา กับการใช้เหตุผลทางพุทธปรัชญา


“ รู้อะไรรู้ให้จริงเพียงสิ่งเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล

อาจจะชักเชิดชูฟูสกล     ถึงคนจนพงไพร่คงได้ดี”

          เมื่อเราตั้งปรัชญาของมหาจุฬาฯ ว่า จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ “ เวลาท่านบูรณาการท่านบูรณาการแบบวิชาการหรือลากเข้าวัด พระพุทธศาสนาที่ท่านบูรณาการกับศาสตร์อื่น ๆ กับปรัชญาเป็นเชิงเผยแผ่คือให้คนเชื่อโดยไม่เสนอเหตุผล หรือนำเสนอเหตุผลบนหลักฐานแห่งงานวิจัยหรืออะไรต่าง ๆ ตอบได้ไหมว่าอะไรคือความแตกต่างระหว่างศาสนากับปรัชญา อะไรคือความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับพุทธปรัชญา

          มีพระรูปหนึ่งไปเรียนมหาวิทยาลัยในยุโรป คงเรียนปรัชญา ถึงเวลาทำวิทยานิพนธ์ก็ไปเสนออาจารย์ฝรั่ง่วาจะทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ อาจารย์ก็ถามว่า แล้วจะทำเรื่องอะไรตอบว่าจะทำเรื่องตายแล้วไปไหน เกิดหรือไม่เกิด ชีวิตหลังความตาย ตายแล้วไปไหน อาจารย์ถามว่า แล้วตัวท่านเชื่อว่าตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญ พระตอบว่า อาตมาเชื่อว่าตายแล้วเกิดทำไมเชื่ออย่างนั้นฝรั่งถามอีก ถ้าเป็นพระ ไม่เชื่อว่าตายแล้วเกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง กลายเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่งเพราะฉะนั้นพระทุกรูปต้องตอบว่าตายแล้วเกิด ฝรั่งบอกว่าถ้าอย่างนั้นทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ไปทำไมในเมื่อท่านมีคำตอบอยู่แล้ว มันมี Pre supposition อยู่แล้วไม่ต้องทำ ทำเรื่องอื่น เขาไม่ให้ท่านทำ

          “งานวิจัย คือ เข้าไปสู่ดินแดนที่เรายังไม่รู้ มีความสงสัยใคร่รู้”

          แต่การที่อาจารย์พูดอย่างนี้ เขาพูดในภาควิชาปรัชญา ถ้าภาควิชาพระพุทธศาสนาทำได้ เพราะอะไร เพราะอาตมาเป็นพระ อาตมาก็ต้องเขียนว่าตายแล้วเกิด ไปเกิดที่ไหนอย่างไร แล้วก็เขียนไป เขาจะให้ท่านเขียน  ศาสนาอย่างไรก็ต้องเชื่อเรื่องศรัทธา มี Faith มีศรัทธา มี Believe ในศาสนาคริสต์เรียกว่า มี Live of Faith มีปาฏิหาริย์ มี element นี้ แต่ปรัชญาเป็นเรื่องของเหตุผลแล้วแต่ว่า เหตุผลจะนำไปหาความจริงขั้นไหน จะมีลิมิตหรือไม่มีลิมิตต้องเป็นเรื่องของเหตุผล แต่คำว่าเหตุผลในภาษาไทยเราใช้กันสองความหมาย เวลาที่เราพูดว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเหตุผล หมายถึงอะไร เราพูดกันไม่เป็น ทั้ง ๆ ที่ เป็น Key word ของปรัชญาด้วย คำว่า เหตุผล ม่าจากคำสองคำ ในภาษาอังกฤษที่สำคัญมา คำหน่งมาจากคำว่า Reason แปลว่า เหตุผล อีกคำคือคำว่า Cause และ Effect แปลว่า เหตุผลอีก Cause คือ เหตุ Effect คือ ผล ปฏิจฺจสมุปบาทเป็นเรื่องของการศึกษา Cause และ Effect “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด” เป็นเรื่องของเหตุผล แต่ปฏิจฺจสมุปบาทเป็นเรื่องของเหตุผลกับ Reason เป็นคนละเรื่อง เพราฉะนั้น พระเวลาเรียนเรื่องเหตุผล ก็จะไปนึกถึง มีเหตุทำให้เกิดผล เป็นเรื่องของกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ปรัชญาเป็นเรื่องของเหตุผล ในคนละความหมายกับ Reason คนละเรื่อง ที่เราเรียกภาษาฝรั่งว่า Rationality ความเป็นเหตุ ความมีเหตุผล

          เหตุผลในทาง Cause และ Effect หมายถึงการกระทำหรือพลังอันหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดผลอีกอย่างหนึ่ง เช่น รถมาชนคนตาย อันนี้เป็นเหตุเป็นผล ผลงคือคนตาย เหตุคือมีการกระทำ เพราฉะนั้นเรื่องกรรมเรื่องปฏิจฺจสมุปบาท ที่เราคุ้น เป็นเหตุผลในแง่ของ sequence คือ ลำดับเหตุการณ์ แต่เหตุผลในปรัชญา ไม่ใช่อย่างนั้น อย่างวันนี้ที่เรามาพูดเรื่องเหตุผล เป็นปรัชญาไม่ใช่เรื่องนั้นเลย แต่ภาษาหลอกเรา ทั้ง ๆ ที่เราพูดเรื่องเหตุผล แต่คนละเรื่อง คำว่า Rationality กับ Reason หมายถึง เวลาพูดอะไรก็ตามซึ่งเป็นประโยคประพจน์ คำพูด ท่านต้องมีหลักฐานสนับสนุน หลักฐานสนับสนุน ไม่ใช่เป็นเหตุให้เกิดอันนั้น เช่น เราคุ้นกันดี เมื่อคืนฝนตก เราตื่นเช้าขึ้นมา เดินงัวเงียขึ้นมาเปิดประตูบ้านไป ไปเห็นทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นไม่มีฝนตกตอนเช้า บอกว่า เมื่อคืนฝนตก อ้างอิง เพราะถนนเปียก ถนนเปียก เป็น Evident เป็นหลักฐาน ที่ทำให้ท่านสามารถกล่าวสรุป (หรือเช่น) มนุษย์ทุกคนเป็นสัตว์ต้องตาย โสกราตีสเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นโสกราตีสเป็นสัตว์ที่ต้องตาย เหตุผลที่ว่านี้เป็นเรื่อง Logic, Validity ความสมเหตุสมผล คนละอย่างกับ Cause และ Effect เพราะฉะนั้น เมื่อเราพูดกันในปรัชญา เราพูดหา Validity คือ เราบอกว่าวันหนึ่ง นาย ก. ต้องตาย สมมุติว่า นี้คือประโยคประพจน์ของเรา นาย ก. ต้องตาย ทำไมจึงพูดอย่างนั้น ตอนนี้ยังไม่ตาย แล้วทำไมพูด เพราะว่ามนุษย์ทุกคนเป็นสัตว์ที่ต้องตาย แล้วนาย ก. เป็นมนุษย์ไหม “เป็น” เพราะฉะนั้น นาย ก. เป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นสัตว์ที่ต้องตาย การพูดในลักษระที่มีที่อ้างที่มาที่ไปอย่างนี้เราเรียกว่าความเป็นเหตุเป็นผล ฉะนั้นเวลาพระเทศน์ มีวิธีพูดสองแบบ พูดแบบปรัชญา กับพูดแบบศาสนา โดยเหตุผลด้วยกันทั้งคู่[๑]



            [๑] พระพรหมบัณฑิต, สัมโทนียกถาต้องรับ ศ.ดร.สมภาร พรมทา, ในหนังสือ พุทธทรรศน์ , (พระนครศรีอยุธยา: ศูนย์ศึกษาพุทธปรัชญา มจร. ๒๕๕๙). หน้า ๑๙-๒๑.


 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์เชิงปรัชญา พระอัครสาวก

  พระธาตุพนม บรมเจดีย์                                                                                                                      ...