ศาสนาแห่งเสรีภาพในปรัชญายุคหลังสมัยใหม่
Freedom Religion in Postmodern Philosophy
Freedom Religion in Postmodern Philosophy
พระอดิเรก อาทิจฺจพโล
นิสิตปริญญาเอก สาขาปรัชญา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
จากการศึกษาค้นคว้าและแลกเปลี่ยนมุมมองความรู้ในปรัชญายุคหลังสมัยใหม่ ข้าพเจ้าพบว่า ปรัชญายุคหลังสมัยใหม่มีหลักการ และทฤษฎี ที่เน้นอิสรเสรีภาพของมนุษย์เป็นสำคัญ แต่มนุษย์ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงความจริงได้โดยตรง มนุษย์เข้าถึงความจริงได้ผ่านภาษา ดังนั้นโพสต์โมเดิร์นจึงไม่เชื่อว่า มีความจริงเพียงหนึ่งเดียว แต่เห็นว่าความจริงอาจมีได้หลายมุม
หลักที่สำคัญที่น่าจะเป็นหลักใหญ่ที่สุดของแนวคิดแบบโพสต์โมเดิร์นคือ
การที่โพสต์โมเดิร์น ปฏิเสธอำนาจของกรอบระเบียบโครงสร้าง
และรูปแบบจารีตประเพณีเดิมที่ยึดถือปฏิบัติตามๆ กันมา โดยสรุปแล้วนักปรัชญาในยุคหลังสมัยใหม่
จะมีแนวคิดที่ประกอบไปด้วย ๕ แนวทาง ดังต่อไปนี้
.
Resisting Grandnaratives.
การปฏิเสธอภิมหาเรื่องเล่า
.
Attacking Science การต่อต้านวิทยาศาสตร์
.
Deconstruction การรื้อสร้าง
.
Language Game เกมส์ภาษา
.
Rewriting History. การเขียนประวัติศาสตร์ใหม่
แนวทางทั้ง ๕ ประการนี้มักจะมีอยู่ในแนวคิดของนักปรัชญายุคโพสต์โมเดิร์นทุกคน
ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น
ฟูโกและการวิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่ของเขา ,Lyotard และการเล่นเกมโพสท์โมเดิร์น, อลาสแดร์ แม็คอินไทร์ กับแนวคิดประเพณีและการฟื้นคืนของจริยศาสตร์เชิงคุณธรรม
ยังมีนักปรัชญาอีกหลายคนที่เป็นตัวแทนของแนวคิดแบบโพสต์โมเดิร์นที่สำคัญ เช่น
อัลแบร์ การ์มูส์, รอว์ที, ฯลฯ
ขอยกตัวอย่างที่สามารถนำแนวคิดแบบโพสต์โมเดิร์นไปอธิบายปรากฎการณ์ของพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบันเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
พอสังเขป ดังต่อไปนี้
“เรื่องมีอยู่ว่า วัดทุกวัดในประเทศไทยปัจจุบัน
จะมีบุคคลหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง อันดับแรกก็เป็นมหาเถรสมาคม เจ้าคณะหนฯ
เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เลขาเจ้าอาวาส และพระลูกวัด สามเณร
การแบ่งระบบนี้เป็นไปตามกฎหมายคณะสงฆ์ ที่ออกมาบังคับใช้กับวัดทุกวัดทั่วประเทศ
เพื่อประโยชน์ในการปกครองดูแลวัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย อำนาจสูงสุดอยู่ที่ มหาเถรสมาคม
ไล่ลงมาตามลำดับ รั้งท้ายสุดคือ พระลูกวัดและสามเณร เมื่อถือตามรูปแบบนี้
คำสั่งต่างๆ มักจะมาจากข้างบน สั่งลงมาข้างล่าง
โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการถามความเห็นหรือการลงมติแต่อย่างใด ผู้ได้รับตำแหน่งต่างๆ
เหล่านี้คือผู้ได้รับสิทธิและอำนาจทั้งหมดในการปกครอง นั้นสามารถสั่งให้ใครอยู่หรือออกจากวัดได้ในทันที แม้จะมีพรรษามากก็ตาม
แนวคิดสมัยใหม่บอกเราว่า ให้เราทำตามกฎเกณฑ์
ระเบียบ โครงสร้างที่ผู้มีอำนาจไตร่ตรองว่าดีแล้ว และเราก็ต้องเห็นว่ามันดีงามด้วย
แต่มีหลายครั้งที่ระบบดังกล่าวสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นกับชีวิตของเรามากยิ่งขึ้น ในอดีตพระสงฆ์จะเคารพกันตามอายุพรรษา
ซึ่งก็ถือเป็นประเพณีสืบทอดต่อๆ กันมาจนกลายเป็นวัฒนธรรม
แต่เมื่อเมื่อมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ออกมาใช้วิถีทางเหล่านั้นก็เปลี่ยนไป
กลายเป็นต้องทำตามระบบโครงสร้างการบริหารงาน ที่ถูกกำหนดขึ้นโดยกฎหมาย
โดยมีมหาเถรสมาคมเป็นผู้บริหารคณะสงฆ์ ใช้อำนาจต่างๆ
ออกกฎหมายเพื่อมาบังคับใช้กับพระสงฆ์ทุกรูป โดยส่งผ่านอำนาจนั้นจากบนลงล่าง
ท้ายที่สุดบุคคลที่ไม่เคยได้ออกเสียง ไม่เคยได้ให้ความยินยอม
และต้องถือปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียวคือ พระลูกวัด หรือสามเณร ที่ไม่มีตำแหน่งใดๆ
แม้จะมีพรรษามากก็ไม่มีข้อยกเว้น
พวกเรากำลังถูกระบบบริหารงานที่ผิดพลาดอันนี้ ชี้ทางให้เดินไปสู่หายนะ
เรามีมหาเถรสมาคม มีสำนักงานพระพุทธศาสนา มีมหาวิทยาลัยสงฆ์
และการศึกษาของพระสงฆ์อีกมากมาย แต่ทำไมมีแต่ข่าวโจมตีพระสงฆ์ มีข่าวเงินทอนวัด
มีข่าวพระเสพกามมั่วสีกา มีข่าวเณรประพฤติผิดพระธรรมวินัย ระบบที่ดีที่ออกโดยกฎหมายคณะสงฆ์ทำไมแก้ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ไม่ได้
ซ้ำร้ายไปกว่านั้นยังเป็นเหตุให้เกิดระบบชนชั้นวรรณะขึ้นในคณะสงฆ์
มีสมเด็จฯ ,มีพระพรหม, พระธรรม,พระเทพฯ,พระราชาคณะหลายระดับจนจำไม่ไหว
จะเห็นได้ว่าสุดท้ายแล้วเราควรแก้ไขการใช้กฎหมายคณะสงฆ์ใหม่หรือไม่ จากนั้นรื้อสร้าง (Deconstruction)
ระบบที่มีคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนากันใหม่
เรามีกฎหมายคณะสงฆ์ แต่ทำไมถึงมีพระปลอม พระตุ๊ด พระเสพกาม
พระมั่วสุรายาเมา ฯลฯเต็มไปหมด
เรามีคณะมหาเถรสมาคม แต่พระพุทธศาสนากลับอ่อนแอ เรื่องเหล่านี้มันเกิดจากระบบที่เราคิดว่า
“ดีที่สุด”แล้วหรือ พระธรรมดาเป็นใครในสังคมแบบชนชั้น.
พระธรรมดาอยู่จุดไหนของระบบกฎหมายคณะสงฆ์
ซึ่งไม่มีแม้แต่มาตราเดียวที่กล่าวถึงสิทธิเสรีภาพของพระภิกษุธรรมดาๆ เอาไว้
เขาเหล่านั้นกลายเป็นบุคคลผู้มีตัวตนแต่ถูกทำให้ไม่มีตัวตนและจะมีตัวตนได้ก็แต่ในความคิด เวลาที่ลุกขึ้นมาพูด
เวลาที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อพระพุทธศาสนา หรือเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเสรีภาพ ภราดรภาพ
พระพุทธเจ้าเป็นบุรุษที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ เป็นมหาบุรุษผู้ยึดมั่นในแนวทางแห่งคุณความดี
เป็นต้นแบบของผู้ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
แต่ระบบที่กำลังนำพาเราอยู่นี้มันทำให้เราเห็นแต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธไม่เข้าไปข้องเกี่ยว
เพราะมันจะทำให้เสรีภาพของเราลดลง ภราดรภาพของเราถูกขัดขวาง
คุณความดีกลายเป็นธุรกิจ และความเมตตาที่แท้จริงกลายเป็น ความไม่จริงใจ
ระบบที่ข้าพเจ้าว่านี้หยั่งรากลึกลงไปในวิถีชีวิตของเรา
กัดกร่อนเราให้อ่อนแอลงทุกวันเหมือนมะเร็งร้าย
หากเราไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้แล้วรื้อสร้างและการเขียนประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาใหม่
ในไม่ช้าพระพุทธศาสนาอาจไม่เหลืออยู่บนแผ่นดินไทยของเราอีกต่อไป
ท้ายที่สุดแม้ข้าพเจ้าจะปฏิเสธหลักการใหญ่ ๆ ของกฎหมายคณะสงฆ์แบบเดิม ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ปฏิเสธกฎหมาย แต่ปฏิเสธการยกเอากฎหมายขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานเดียวแบบอำนาจเผด็จการต่างหาก ตรงกันข้ามข้าพเจ้ากลับคิดว่า “เราจะใช้ชีวิตยังไงก็ต้องใช้กฎหมาย เพราะคนเราหากไม่มีกฏหมายมันก็อยู่ไม่ได้ แต่อย่ามาเอากฎหมายมาอ้างเพียงเท่านั้น ควรคำนึงถึงทุกบริบทที่เกี่ยวข้องด้วย” ข้าพเจ้าไม่ได้ปฏิเสธกฎหมายคณะสงฆ์ไปเสียทุกเรื่อง แต่ชี้ให้เห็นว่า กฎหมายคณะสงฆ์มีช่องโหว่และกำลังนำพาเราไปสู่หายนะ ข้าพเจ้าไม่ได้เสนอให้โละกฎหมายคณะสงฆ์ทิ้ง เพียงแต่ว่าควรมีการรื้อสร้างการใช้กฎหมายกันใหม่ และต้องทำด้วยความระมัดระวัง ต้องคำนึงบริบทและปัจจัยเฉพาะที่มาเกี่ยวข้องในทุกส่วนของคณะสงฆ์ไม่ใช่หลงลืมใครบางคนไป ข้าพเจ้าต้องการชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่ากฎหมายคณะสงฆ์ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จในตัวของมันเอง.
ท้ายที่สุดแม้ข้าพเจ้าจะปฏิเสธหลักการใหญ่ ๆ ของกฎหมายคณะสงฆ์แบบเดิม ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ปฏิเสธกฎหมาย แต่ปฏิเสธการยกเอากฎหมายขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานเดียวแบบอำนาจเผด็จการต่างหาก ตรงกันข้ามข้าพเจ้ากลับคิดว่า “เราจะใช้ชีวิตยังไงก็ต้องใช้กฎหมาย เพราะคนเราหากไม่มีกฏหมายมันก็อยู่ไม่ได้ แต่อย่ามาเอากฎหมายมาอ้างเพียงเท่านั้น ควรคำนึงถึงทุกบริบทที่เกี่ยวข้องด้วย” ข้าพเจ้าไม่ได้ปฏิเสธกฎหมายคณะสงฆ์ไปเสียทุกเรื่อง แต่ชี้ให้เห็นว่า กฎหมายคณะสงฆ์มีช่องโหว่และกำลังนำพาเราไปสู่หายนะ ข้าพเจ้าไม่ได้เสนอให้โละกฎหมายคณะสงฆ์ทิ้ง เพียงแต่ว่าควรมีการรื้อสร้างการใช้กฎหมายกันใหม่ และต้องทำด้วยความระมัดระวัง ต้องคำนึงบริบทและปัจจัยเฉพาะที่มาเกี่ยวข้องในทุกส่วนของคณะสงฆ์ไม่ใช่หลงลืมใครบางคนไป ข้าพเจ้าต้องการชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่ากฎหมายคณะสงฆ์ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จในตัวของมันเอง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น