วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2566

การปฏิเสธระบบวรรณะของพระพุทธเจ้า

 


บทความวันวิสาขบูชา 2566  
เรื่อง การปฏิเสธระบบวรรณะของพระพุทธเจ้า

...คุณคงจะเคยผ่านประสบการณ์ของการถูกกดขี่มาบ้าง ในระดับส่วนตัว เช่น การที่เจ้านายใช้อำนาจบังคับให้ทำงานหนัก แต่กดค่าแรงของคุณให้ต่ำ ทั้ง  ที่คุณมีคุณสมบัติสูง เพียงเพราะคุณเป็นคนชายขอบ และไม่ใช่เด็กเส้น.

...พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธการการกดขี่ เหยียดหยามมนุษย์โดยมนุษย์ด้วยกันเอง  ทรงเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่เลวร้ายที่สุดในโลกใบนี้  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสีผิว ฐานะ ตำแหน่งอายุ พรรษา หน้าที่การงาน หรือ การเงินก็ตาม และไม่ว่ามันจะเกิดที่ไหนเมื่อไหร่กับใคร มันคือ ความป่าเถื่อน ความโหดร้าย และความอยุติธรรม

...ในประเทศไทยเองแม้จะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างล้นหลาม แต่ก็พบว่า ยังมีการเหยียดผิว และการกดขี่ทางชนชั้น เกิดขึ้นเช่นกัน เช่น เรามักจะให้ค่ากับคนที่ผิวขาว มากกว่าคนผิวดำ แต่ไม่ดูที่ความสามารถ หรือให้ค่าคนที่จบมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศสูงกว่าคนที่จบในประเทศ ให้ค่าคนที่มียศสูงตำแหน่งใหญ่โต สำคัญมากกว่าประชาชนธรรมดา  หาเช้ากินค่ำและเสียภาษี 

...หากคุณได้ศึกษาพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าทรงไม่ยอมรับระบบวรรณะในอินเดียขณะนั้น ที่แยกคนตามชาติกำเนิด แต่ทรงให้ความสำคัญกับทุกสรรพชีวิตเท่ากัน  หากพระองค์ทรงสอนพระภิกษุก็จะไม่ทรงใช้การบังคับ แม้แต่เรื่องของศีล ก็ไม่ใช่ข้อห้ามแต่เป็นแม่บทของการฝึกฝนอบรมตนเองเท่านั้น แต่พอเวลาผ่านไปก็กลับปรากฏว่า แม้แต่ในพระพุทธศาสนาก็ยังมีการกดขี่ เหยียดหยามกันเองในนามศาสนา อันนี้ก็เนื่องมาจากแนวคิดที่มองคุณค่าของคน ผ่านทางวัตถุเงินทอง ยศฐา บรรดาศักดิ์ หรือแม้แต่วุฒิการศึกษาก็ตาม  มีการเลือกปฏิบัติต่อกันอย่างไม่เป็นธรรมเสมอๆ 

...เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องคนบางคนแต่เป็นเรื่องของทุก  คนที่จะต้องร่วมมือกัน เพื่อป้องกันเราจะต้องปลูกฝังค่านิยมใหม่ให้แก่เด็กและเยาวชน ไม่ให้เกิดความคิดแบ่งแยกมนุษย์ด้วยสีผิว ด้วยฐานะ หรือวุฒิการศึกษา ด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์ ด้วยตำแหน่งหน้าที่การงาน 

...เช่นเดียวกับเราจะไม่กล่าวหาเด็กที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองว่าเป็นอาชญากร ที่จะต้องลงโทษขั้นสูง ต้องตกนรกหมกไหม้ และเราจะไม่โทษคนที่ปฏิบัติในทางศาสนาแตกต่างจากเรา หรือผิดพลาดว่าเป็นคนเลว คนร้าย คนชั่วช้า ที่เราต้องเหยียบให้จมดิน แต่เราควรกระทำกับเขาด้วยความยุติธรรม เช่นเดียวกับที่เราอยากให้คนอื่นกระทำกับตนเอง 

ในวันวิสาขบูชานี้ ขอให้เราพิจารณาเรื่องสิทธิมนุษยชนกันอย่างถ่องแท้ จึงจะเกิดประโยชน์ไม่ใช่แค่ไปวัดจุดธูปเวียนเทียน สวดมนตร์ แล้วก็กลับบ้านนอน แต่ควรพิจารณาให้ถึงแก่นของคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ “มนุษย์แต่ละคนเท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ เกิดมาเพื่อใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน แม้เขาจะทำผิดไปจากผู้อื่นอย่างไร เขาก็ยังเป็นมนุษย์มีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติด้วยมนุษยธรรมเท่าเทียมกับคนอื่น  นั่นเอง นี่แหละสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติตลอดชีวิต. ( ด๊อกเตอร์ถังขยะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์เชิงปรัชญา พระอัครสาวก

  พระธาตุพนม บรมเจดีย์                                                                                                                      ...