จดหมายเปิดผนึก ถึง มจร
(ตอนที่ 1) มูลเหตุแห่งการล่มสลาย)
ฉันเริ่มเขียนถึง มจร.ครั้งแรก ตอนงานรับน้องใหม่ของชมรมปรัชญา มจร. เมื่อหลายปีก่อน หลังจากนั้นก็ไม่เคยเขียนถึงอีกเลย แม้ชีวิตในช่วงสิบสามปีมานี้จะวนเวียนอยู่กับ มหาวิทยาลัยแห่งนี้มาตลอด แต่ก็ยังไม่คิดจะเขียนคงเขียนอย่างอื่นเสียมากกว่า ตอนนี้คิดว่าคงถึงเวลาที่จะเขียนถึง มจร.ในบทความขนาดยาวรวมเอาประสบการณ์สิบสามปี ตั้งแต่เป็นนิสิตจนถึงเป็นอาจารย์ มจร. มาลงไว้บ้างสักเล็กน้อย เพื่ออะไรนะหรือ? ฉันเองก็ไม่แน่ใจนัก เอาเป็นว่า เมื่อคุณอ่านไปเรื่อยๆ คุณก็จะพบวัตถุประสงค์ของการเขียนบทความนี้ด้วยตนเอง ไม่แน่ว่า เมื่อคนรุ่นใหม่ได้มาอ่าน บางทีองค์กรแห่งนี้อาจจะยังพอมีความหวังอยู่บ้าง ก่อนที่มันจะล่มสลายไป
1). ความสง่างาม
วรรณกรรมโบราณของอินเดียมักกล่าวถึงหลายนิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ หนึ่งในจำนวนนั้นคือ ลูกที่สง่างามเมื่ออยู่ท่ามกลางประชุมชน ความสง่างามนั้นเกิดไม่ได้หากเราไม่มีความรู้ และความรู้ที่จะทำให้เกิดความสง่างามต้องเป็นความรู้ที่มาจากความคิดของเราเอง ไม่ใช่ความรู้ในรูปชุดอันสำเร็จรูปมาแล้วของสิ่งที่คนอื่นได้พูดไก่อนหน้านี้ คนมีเงินอาจส่งลูกไปเรียนต่างประเทศได้ แต่การที่ลูกของเขาจะมีความรู้อันสง่างามหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับเงินของพ่อแม่ แต่เกี่ยวกับตัวเขาเอง ถ้าเขาเป็นคนมีความคิด เขาก็ดีด้วยตนเอง แต่ถ้าเขาไม่ใช่คนที่มีความคิด อานิสงฆ์แห่งทรัพย์ของตระกูลก็ช่วยให้เขาได้มาเพียงกระดาษแผ่นหนึ่ง กระดาษแผ่นนั้นอาจช่วยให้เขาดูเหมือนจะสง่างามได้ตราบเท่าที่เขายังไม่ได้พูดแสดงความคิดออกมา “หิโตปเทศ” กล่าวเอาไว้ตอนหนึ่งว่า " คนโง่ที่สวมใส่แพรพรรณอันงดงามอาจไปนั่งปะปนอยู่ในหมู่ของนักปราชญ์ในที่ประชุมได้ เขาอาจจะหลอกคนอื่นๆ เชื่อว่าเป็นคนฉลาด แต่เมื่อใดที่เขาเอ่ยปากพูดแสดงความคิดเห็นออกมา แพรพรรณอันงดงามนั้นก็จะไร้ความหมายทันที " แผ่นปริญญาบัตรและเสื้อครุยนั้น บางครั้งก็ซื้อได้ด้วยเงิน แต่ของพวกนี้ก็ไม่ต่างจากแพรพรรณราคาแพงที่คลุมกายของคนโง่ตามที่ “หิโตปเทศ”กล่าวเอาไว้ คนเรานั้นต้องพูดสักวันหนึ่ง ทำอย่างไรศิษย์ของเราจึงจะยืนอยู่ท่ามกลางสมาคมของผู้รู้และกล่าวแสดงความคิดออกมาได้ อย่างสง่างาม
พันธกิจทางจริยธรรมของอาจารย์มหาวิทยาลัยและเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือ " การทำตนให้สง่างามทั้งวิชาการและจริยธรรม " คำว่า อาจารย์ กับ ครู แม้มีความหมายที่แตกต่างกันแต่ก็ใช้ร่วมกันได้ หลายคนแม้มีการงานและหน้าที่ในการสอน แต่ก็ไม่เรียกว่า อาจารย์ หรือครู เพราะปัญหาที่มันไม่เป็นไปตามความหมายที่แท้ของคำ ๆ นี้นั่นเอง มีภาษิตต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับเรืองดังกล่าว ว่า
เหตุการณ์ภายในมจร.นั้น คนนอกเข้ามาเห็นเป็นของใหม่ แต่คนในจะเห็นเป็นของเก่า เวลามีคนพูดถึง มจร. พวกเขาพูดถึงพระพุทธศาสนา พูดถึงพระอริยสงฆ์ พูดถึงพระพุทธเจ้า หรือพูดถึงมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เหตุการณ์ที่คนขับรถแท็กซี่เห็นนั่นไม่ใช่เขาไม่เคยเห็น เพราะในมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ก็มีให้เห็นดาดเดื่อน มันจึงไม่แตกต่างกันเมื่อนำมามองเข้าไปในมจร. แต่การมองโดยมีอคติว่า นี่เป็นพระ นี่เป็นชี นี่เป็นโยม เข้าไปร่วมด้วย โดยไม่ได้มองว่าเป็นนิสิตนักศึกษาและเป็นมนุษย์คนหนึ่งนั่นมีปัญหา และที่ผ่านมาปัญหามันก็เกิดขึ้นเพราะมายาคติเหล่านี้ แต่ มจร.เองก็ดูเหมือนจะเข้าใจความอึดอัดใจของคนนอก จึงพยายามมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ ออกมาเพื่อป้องกันความเสียหายเหล่านี้ด้วย ซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจของนิสิตนักศึกษาหรือแม้แต่คณาจารย์มากนัก เพราะขัดแย้งกันกับหลักการของความเป็นมหาวิทยาลัย ของ มจร.อย่างแรง
มหาวิทยาลัยนั้นต้องมีความยุติธรรมโดยธรรมชาติ ไม่อาจเลือกปฏิบัติโดยอ้างสถานะของบุคคลได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร ไม่ว่าเขาจะมีสถานะใด นับถือศาสนาใด เชื้อชาติใด นุ่งห่มอย่างไร มจร.จะต้องไม่กำหนดว่า เขาไม่ควรจะทำอย่างนั้น อย่างนี้ ด้วยเหตุแห่งสถานะโดยเด็ดขาด การห้ามพระคุยกับโยม ห้ามนั่งใกล้ชิดกัน กฎพวกนี้ออกมาไม่ได้ด้วยเหตุผลดังกล่าว มีครั้งหนึ่งพระพม่า แตะบอลกันบริเวณหอพัก แล้วมีคนนอกเข้ามาเห็นเขาก็ตำหนิติเตียน มจร.ก็ออกกฎมาว่า ห้ามพระเตะฟุตบอล แม้จะเป็นเรื่องที่ดีงามตามพระธรรมวินัย แต่มหาวิทยาลัยจะกลายเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสถานะของบุคคล ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล และหลักการอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยควรต้องมีความยึดมั่นในหลักการนี้ ไม่ใช่ทำลายมันเสียเองอย่างที่เคยทำมา
ความยุติธรรมนี้ยังต้องรวมไปถึงการชำระค่าเล่าเรียนอีกด้วย มจร.มีระบบการจ่ายค่าเล่าเรียนที่แปลกประหลาดคือ ถ้าเป็นพระจ่ายครึ่งจำนวน แต่เป็นฆราวาสจ่ายเต็มจำนวน ยกตัวอย่างค่าเทอมในระดับปริญญาตรี ตามมาตรฐานของ มจร. จะอยู่ประมาณ 7,000 บาท / เทอม แต่หากเป็นพระภิกษุ หรือสามเณร จะได้รับการลดจำนวนลงอยู่ที่ประมาณ 3,500- 4,000 บาท/เทอม ด้วยเหตุผลว่า “ท่านเป็นพระ เณรไง หาเงินเองไม่ได้ เลยต้องลดราคาเพื่อช่วยเหลือให้โอกาสพระเณรที่ไม่มีทุน” แต่หากเป็นฆราวาส เหตุผลนี้จะไม่นำมาพิจารณาร่วมด้วยเพราะ มจร.ให้เหตุผลว่า ฆราวาส ทำงานหาเงินเรียนเองได้ ซึ่งทำให้นิสิตฆราวาสที่เคยเข้ามาเรียนในมจร. ต้องเก็บความขับข้องใจนี้เอาไว้แล้วก้มหน้าจ่ายค่าเล่าเรียนในอัตราเต็มกันต่อไป เพราะอย่างน้อย มจร.ก็ยังถูกกว่า มหาวิทยาลัยอื่นอยู่ดี หากเทียบกันแล้ว
เมื่อมจร เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสถานะแล้ว มจร.ย่อมสูญเสียความน่าเชื่อถือ และความเป็นกลางทางศีลธรรม เพราะไม่มีมหาวิทยาลัยแห่งใดเขามีระเบียบดังกล่าว ทำไมเราถึงเลือกปฏิบัติกับฆราวาสแตกต่างจากพระภิกษุที่เป็นนิสิต แต่กับอาจารย์เรากลับให้ค่าตอบแทนเท่ากันในอัตราปกติ เช่น อาจารย์ตำแหน่งบรรจุ ก็จะได้รับอัตราเงินเดือนตามอัตราราชการจากงบประมาณแผ่นดิน จำนวนเต็มตามวุฒิ เช่นเดียวกับฆราวาส โดยทั่วไป ก็เพราะว่า ระเบียบราชการตรงนี้ไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสถานะบุคคล เพราะถ้าคิดตามนี้ การจ่ายเงินเดือนให้กับพระก็ถือว่า ผิดพระธรรมวินัยเช่นกัน แต่ก็ไม่มีกฎหมายออกมาห้าม ทั้งนี้เพราะขัดกับหลักความเท่าเทียม ความยุติธรรมดังกล่าว แต่มจร. ก็ไม่ได้นำความยุติธรรมนี้มาใช้อย่างตรงไปตรงมา เอื้อประโยชน์ให้กับพระนิสิต มากกว่า นิสิตฆราวาส และมีท่าทีว่าจะเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกยาวนาน
อาจารย์หลายท่าน ตัดสินใจละทิ้ง มจร.เพราะเบื่อหน่ายกับระบบเส้นสาย เด็กท่าน หลานเธอ และพวกประจบสอพลอเจ้านาย รับจ้างทำวิจัย รับจ้างทำวิทยานิพนธ์ให้อาจารย์และนิสิต ฯลฯ อีกมากมายที่เป็นการละเมิดจริยธรรมทางวิชาการ ภาพของวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในอุดมคติหายไปหมดสิ้น กลายเป็นองค์กรอะไรก็ไม่รู้ ที่อาศัยพระศาสนาบังหน้า เพื่อที่อาจารย์ภายในจะได้เสพสุขสำราญกับลาภ ยศ เงิน ทอง และชื่อเสียงประดามี แม้จะรู้ทั้งรู้ว่า "สิ่งที่ทำอยู่นั้นผิดศีล" แต่ก็ไม่มีใครยี่หระเพราะได้สถาปนาตัวตนไว้ในตำแหน่งที่มั่นคง( บรรจุแล้ว ) แล้วนั่นเอง ทีนี้อาจารย์ใหม่ๆ ที่พึ่งเริ่มต้นเริ่มแรกก็จะก้มหน้าก้มตาทำงานหนัก เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน(ของตน)โดยคิดว่า มันเป็นวิธีที่ถูกต้อง และดำเนินไปตามกฎ ระเบียบ แบบแผนประเพณีอันดีงาม คนเหล่านี้กลับพบว่า ไม่ได้รับความสนใจใยดีจากผู้บริหารที่นั่งคอยคิดจะตักตวงผลประโยชน์ใส่ตนอยู่ทุกวัน หากเขาไม่ได้ให้ประโยชน์ใด ๆ ต่อเจ้านายของเขา เขาก็จะได้รับเพียงเศษอาหาร (เงินเดือนอันน้อยนิด) เพื่อแลกกับการมีงานทำ
ดังนั้นเขาถูกสอนว่าอยากก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและมีการงานที่มั่นคงมันจึงไม่ใช่การที่เขาเป็นคนดี แต่คือ การที่เขาต้องทำให้เจ้านายพอใจ ด้วยการช่วยทำให้เจ้านายได้รับประโยชน์สูงสุด เช่น เขียนงานให้เจ้านาย ทำวิจัยให้ เพื่อให้เจ้านายนำไปใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการ หากเขาทำสำเร็จ เจ้านายจะพอใจเขา และอวยประโยชน์ต่าง ๆให้เขา ความยุติธรรม ความมีศีลธรรม กลับกลายเป็นสิ่งที่จะมาขัดขวางเสียด้วยซ้ำหากอยู่ในองค์กรแบบนี้ แต่ถ้าคุณเป็นคนชอบประจบสอพลอ และไม่ต้องคิดคำนึงว่า การกระทำใดผิดจริยธรรม ขอเพียงเจ้านายชอบใจเท่านั้นคุณก็อยู่ได้และเจริญก้าวหน้าไปเท่าที่ เจ้านายคุณมีอำนาจอยู่ แต่หากเจ้านายคนนั้นหมดสิ้นอำนาจแล้ว คุณก็ต้องไปประจบคนใหม่ต่อไป นี่เป็นชะตากรรมของ คนในองค์กรที่น่าสงสาร ไม่ต่างอะไรกับระบบทาส
3) การปกปิดความล้มเหลว
เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ การไม่ยอมรับความล้มเหลวของตนเอง และดันทุรังเพื่อที่จะอยู่ในตำแหน่งที่ล้มเหลวนั้นต่อไป โดยไม่คิดจะถ่ายโอนอำนาจให้กับผู้อื่น เป็นเหตุแห่งการล่มสลายได้อย่างรวดเร็ว เพราะเมื่อผู้บริหารไม่ยอมรับความล้มเหลวที่ตนเองได้ก่อไว้ และไม่ยอมลงจากอำนาจ ก็ทำให้เกิดความล้มเหลวซ้ำ ๆ จน มจร.เองนั้นบอบช้ำจนถึงที่สุด การจัดการศึกษา ที่วน ๆ อยู่แต่เรื่องเดิม ๆ ไม่มีอะไรใหม่ในการประชุม ไม่มีอะไรเปลี่ยน แม้ว่าจะประชุมกันสักกี่ครั้ง ก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เพราะความคิดแบบเดิมๆ คนเดิมๆ วิธีการเดิมๆ ไอน์สไตน์บอกว่า มีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่ทำแบบเดิมๆ ซ้ำ ๆ แต่หวังให้ได้พบความก้าวหน้า และค้นพบสิ่งใหม่ๆ
การเรียกประชุมเป็นเหมือนการเรียกมาเพื่อจะถามว่า ใครมีอะไรใหม่
และเมื่อแต่ละคนเสนอความคิดเห็น ก็จะถูกบล๊อคจากคนที่มีความคิดแบบเดิมๆ
และถ้ายิ่งความคิดใหม่ๆ นั้นมันทำให้คนส่วนใหญ่เห็นว่า พวกตนจะยุ่งยาก และต้องลงแรงหนักขึ้น
หรือผลประโยชน์ส่วนตนถดถอย ก็จะยิ่งถูกมองผ่านไป
ดังนั้นวิธีการที่คนกลุ่มนี้ใช้ในการบริหารการศึกษาก็คือ การที่คิดว่า เอาคนใหม่ ๆ
หนุ่มๆ เข้ามาทำงาน เพื่อหวังจะให้ได้พบสิ่งใหม่
ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่น่าขบขัน
เพราะความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
แต่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ และเรียนรู้ผิดถูก
ผู้บริหารที่เอาตนเองเป็นศูนย์กลางอำนาจมาอย่างยาวนาน ทำให้ มจร.กลายเป็นบริษัทส่วนตัว ที่วนเวียนอยู่แต่กับผู้บริหารหน้าเดิมๆ ไม่มีการผลัดเปลี่ยน แม้จะมีระเบียบที่ให้เปลี่ยนทุก 4 ปี แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า คนเก่าก็สามารถเป็นต่อไป เพื่อเปิดช่องให้สืบทอดอำนาจ วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้การบริหารแบบเผด็จการในองค์กรที่เป็นเสรีชน การปกปิดความล้มเหลวของการบริหาร ด้วยการพึ่งบุคคลากรของสถาบันและหน่วยงานอื่น ๆ มีวิธี คือ ทำเสมือนว่าองค์กรของตนมีบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพ โดยการนำเสนอผลงานการฝึกอบรมบุคคลากร การไปสัมมนาและเรียนรู้มาจากองค์กรอื่นในระดับเดียวกัน การหลอกลวงนี้จะต้องทำให้เห็นได้ทั่วไป เพราะการไปอบรม ไปสัมมนา ไปเรียนรู้จากภายนอกสะท้อนให้เห็นความประสิทธิภาพของบุคคลากรในองค์กร โดยพยายามหลีกเลี่ยง ปกปิดข้อบกพร่องอันหนึ่งเอาไว้ คือ การไม่เคยเป็นผู้นำทางวิชาการให้กับหน่วยงานอื่น ๆ " ทำทีเสมือนว่าบุคคลากรที่ไปอบรม ไปสัมมนากลับมาทุกปี มีการสร้างสรรค์ผลงานที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เกิดสิ่งใหม่ๆ เกิดผลงานใหม่ๆ ขึ้น นี่คือความล้มเหลวที่จะต้องถูกปิดบังเอาไว้ การพึ่งพาองค์กรแม่ เพื่อให้หน่วยงานย่อยเป็นที่ยอมรับของสังคมและหน่วยงานอื่นๆ จะมีประโยชน์กับองค์กรที่ล้มเหลวได้เป็นอย่างดี และมักจะเกิดขึ้นกับหน่วยงานที่มีสาขาหลายสาขา เวลาเกิดวิกฤต
4) การทำคิดแบบแยกส่วน
“การศึกษาที่ถูกต้องจะส่งเสริมให้มนุษย์มีเอกภาพในความคิดความรู้สึกและโลกทัศน์อย่างลึกล้ำความเป็นเอกภาพนี้
(ไม่มองแบบแบ่งแยก) ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในการศึกษากระแสหลักที่ดำเนินอยู่ทุกวันนี้
ที่มุ่งเน้นให้ยอมจำนนเป็นทาสของค่านิยมของคนส่วนใหญ่
และให้ความสำคัญเกินควรกับเทคนิค วิธีการ
โดยไม่มีลักษณะอันสร้างสรรค์ที่เกิดจากความเข้าใจของตนเอง" (กฤษณะ
มูรติ) ............(ต่อ)...........