วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ข้อโต้แย้งเรื่องอาหาร


โดย. ด๊อกเตอร์ถังขยะ

ชาวสุขนิยมมีแนวคิดว่า " ชีวิตนี้ธรรมชาติสร้างมาและมีเวลาน้อยนิดดังนั้นคนเราควรที่จะใช้ชีวิตให้มีความสุข ควรแสวงหาชีวิตที่มีความสุขให้มากที่สุด โดยแบ่งความสุขที่ควรแสวงหาเป็น ๒ อย่างคือ ๑.สุขกาย ๒.สุขใจ ชาวสุขนิยมมีแนวคิดว่า " ชีวิตนี้ธรรมชาติสร้างมาและมีเวลาน้อยนิดดังนั้นคนเราควรที่จะใช้ชีวิตให้มีความสุข ควรแสวงหาชีวิตที่มีความสุขให้มากที่สุด โดยแบ่งความสุขที่ควรแสวงหาเป็น ๒ อย่างคือ ๑.สุขกาย ๒.สุขใจ 

...เรื่อง"อาหาร" เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต สำหรับมนุษย์ "อาหาร" เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ ให้มีความสมบูรณ์และมีอายุยืนยาว แต่พระพุทธเจ้าทรงมองว่า "อาหาร" สามารถเกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมได้ เพราะทรงเคยใช้วิธีอดอาหารเพื่อให้บรรลุธรรม แต่ไม่สำเร็จและทรงพบว่าไม่ใช่หนทางบรรลุคุณธรรมใดๆ ได้ จึงทรงกลับมาเสวยพระกระยาหารใหม่ นอกจากนั้นยังทรงสรรเสริญอาหารไว้ในคราทั้ง ๒ คือ ๑.อาหารที่ฉันแล้วทรงตรัสรู้ และ๒. อาหารที่ทรงฉันแล้วดับขันธปรินิพพาน ว่ามีอานิสงค์มากกว่ามื้ออื่นๆ ดังนั้นอาหารในพุทธปรัชญาไปไกลกว่า อาหารบำรุงร่างกาย แต่หมายถึง " อาหารเพื่อการหยั่งรู้ " การขบฉันอาหารจึงต้องกระทำไปเพื่อเป้าหมายเดียวกันคือ " เพื่อรู้แจ้งสัจธรรม " 

เมื่อนำแนวคิดสุขนิยมดังกล่าวข้างต้นมาเป็นตัวตั้ง เราจะเห็นว่า" อาหาร" เป็นมากกว่าเครื่องประทังชีวิต แต่ต้องให้ความสุขแก่ผู้กินด้วย ดังนั้นอาหารตามแนวคิดนี้จึงต้องปรุงขึ้นอย่างพิถีพิถัน ทั้งรสชาติและคุณสมบัติอื่นๆเช่น ตกแต่งให้ดูสวยงามน่ากิน รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่ดี เพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความสุขเมื่อกินเข้าไปหรือภายหลังกินแล้ว แต่ถึงอย่างไรนอกจากพุทธปรัชญาแล้วก็ยังมีแนวคิดอื่นๆ อีกที่มีความเห็นที่แตกต่างจากพวกสุขนิยม เช่น แนวคิดอสุขนิยม แนวคิดประโยชน์นิยม

บทความนี้เป็นเรื่องการส่งเสริมการบริโภคอาหารในมิติทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเกิดประเด็นที่เป็นการถกเถียงกันบ่อยครั้งเกี่ยวกับการบริโภคอาหารระหว่างนักมังสวิรัติกับกลุ่มนิยมบริโภคเนื้อสัตว์ การที่จะศึกษาทำความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ที่เราเรียกกันในภาษาฝรั่งว่า

The Nature of Human Beings” ซึ่งมีความสำคัญมาก ก่อนจะไปพูดเรื่องอะไรเกี่ยวกับคน เช่น จริยศาสตร์ ปรัชญาสังคมและการเมืองเป็นต้น จะต้องเริ่มที่เรื่องนี้ก่อน[1]ประเด็นแรกคือเรื่องที่ว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์กินพืชหรือกินเนื้อโดยมักจะเอาหลักฐานมาตอบโต้กันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของฟัน ลำไส้และระบบการย่อย ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์กินได้ทั้งพืชและเนื้อสัตว์เราสามารถย่อยและได้พลังงานจากแหล่งพลังงานทั้งสองดังจะเห็นได้ว่าทั้งพืชและเนื้อสัตว์มันกินได้เหมือนกันแต่ผลออกมาไม่เหมือนกัน

ประเด็นต่อมาคือแง่มุมทางด้านนิเวศวิทยาว่า การกินเนื้อสัตว์ถูกมองจากกลุ่มนี้ว่าเป็นการช่วยปรับความสมดุลเชิงนิเวศวิทยาหากสัตว์ไม่ถูกฆ่ากินโดยมนุษย์จำนวนสัตว์ก็จะมีมากจนเกินไปดังนั้นการกินเนื้อสัตว์ในแง่หนึ่งเป็นการช่วยปรับความสมดุลเชิงนิเวศวิทยาให้แก่โลกเช่นเดียวกับการที่สัตว์กินกันเอง หรือสัตว์กินพืช หรือพืชกินสัตว์ ที่เป็นไปตามกระบวนการทางธรรมชาติ และธรรมชาติก็มีระบบคัดเลือกความเหมาะสมในตัวมันเอง
นักชีววิทยาจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า การที่มนุษย์เป็นอย่างไร(เช่นต้องกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร)
ไม่ได้เป็นอิสระจากการควบคุมโดยธรรมชาติ
หมายความว่าธรรมชาตินั้นมีอำนาจมากกว่ามนุษย์ การที่เราถูกสร้างมาให้กินเนื้อสัตว์ก็เพราะธรรมชาติเห็นว่าจะช่วยให้เกิดสมดุลในเชิงนิเวศวิทยานั่นเอง พิจารณาจากแง่นี้
การบริโภคเนื้อสัตว์ในระดับสังคมก็มีเหตุผลและมีบทบาทบางอย่างที่เราสามารถเข้าใจได้[2]
อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ถูกหยิบขึ้นมาสนับสนุนการกินอาหารมังสวิรัติก็สามารถเข้าใจได้เช่นกัน
กลุ่มผู้บริโภคให้เหตุผลทางด้านจริยศาสตร์ว่า
ต้องการตัดวงจรทารุณกรรมสัตว์ในกระบวนการผลิต เหตุผลที่น่าสนใจคือ
การบริโภคเนื้อสัตว์ในยุคปัจจุบันมักจะมีอะไรมากไปกว่ามิติในเชิงนิเวศวิทยาที่กล่าวมาแล้วนั้น
เพราะมีสัตว์อีกประเภทหนึ่งที่มนุษย์เป็นผู้เพาะเลี้ยงและควบคุมปริมาณได้เวลานี้การบริโภคเนื้อสัตว์ได้หันมาทางนี้มากขึ้น
ในแง่เศรษฐศาสตร์
การมีอาชีพจับสัตว์ตามธรรมชาติเพื่อขายนั้นไม่แน่นอนเท่ากับการเลี้ยงสัตว์เพื่อฆ่าขายเอง
ด้วยเหตุนี้แนวโน้มการบริโภคเนื้อสัตว์ของมนุษย์จึงเอียงไปในทางที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงเองมากขึ้นตามลำดับ
เมื่อสัตว์ที่มนุษย์กินส่วนใหม่มาจากสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยง เหตุผลด้านนิเวศวิทยาก็ไม่อาจใช้สนับสนุนการกินเนื้อสัตว์ได้[3]   
เหตุผลข้อต่อมาคือเรื่องสุขภาพของผู้บริโภค
กลุ่มผู้นิยมบริโภคเนื้อสัตว์มักอ้างเหตุผลว่า
มนุษย์ต้องกินเนื้อสัตว์เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี โดยอ้างผลการวิจัยว่า
มนุษย์ต้องอาศัยโปรตีนจากเนื้อสัตว์เป็นส่วนสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อ และเด็กๆ
ก็ต้องการเนื้อสัตว์เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์  หากรับประทานเนื้อสัตว์ในปริมาณที่เหมาะสมจะไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ
และเนื้อสัตว์ยังเป็นแหล่งวิตามิน บี ๑๒ ที่ดีที่สุด และมีไขมันอิ่มตัวที่ดี
กลุ่มนิยมบริโภคมังสวิรัติ
ให้ความเห็นแย้งว่า การรับประทานอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ (รับประทานผัก ผลไม้
และผลผลิตจากสัตว์ เช่น นม หรือไข่) รวมทั้งวีแกน
(ไม่รับประทานอาหารหรือวัตถุดิบใดๆ ที่ผลิตจากสัตว์)
จะช่วยลดความเสี่ยงทั้งโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ ส่วนหมู่คนที่มักกินเนื้อเป็นหลัก
กินเนื้อเป็นส่วนมาก มักจะมีโรคมากและอายุสั้น เช่นชาวเอสกิโม
มีโอกาสที่จะตายตั้งแต่อายุยังไม่ถึง ๓๐ ด้วยเหตุแห่งโรคเช่น มะเร็ง ในทางกลับกันชาวฮันซา[4]  ได้ชื่อว่าอายุยืนนั้น
มักจะไม่กินเนื้อสัตว์ กินพืชเป็นหลัก มีผลทำให้อายุเฉลี่ยประมาณ ๑๒๐ ปี
และไม่มีอาการป่วยจากโรคยอดฮิตเช่น มะเร็ง เบาหวาน ฯลฯ ชาวฮันซาที่อายุ ๙๐
ยังแข็งแรงและสามารถเต้นได้ ในจูฬกัมมวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
“การที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นคนหยาบช้า มีมือเปื้อนเลือด
ฝักใฝ่ในการประหัตประหาร ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย
นี้เป็นปฏิปทา(ข้อปฏิบัติ)ที่เป็นไปเพื่อความมีอายุสั้น”[5]   
เหตุผลอีกข้อหนึ่ง
เรื่อง ศาสนา ผู้บริโภคมังสวิรัติชาวอินเดียโบราณบางกลุ่มมีความเชื่อว่า
“ความบริสุทธิ์มีได้ด้วยอาหาร” ชาวอินเดียในหมู่ผู้ปฏิบัติโยคะ
และผู้นับถือศาสนาฮินดูส่วนหนึ่ง
ผู้กินเจและมังสวิรัติมักเป็นผู้ถือศีลปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว
มีเมตตาจิตอยู่เป็นทุนเดิม ผู้กินมังสวิรัติที่มาจากอินเดียยังเสนอว่า
ที่แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าก็กินมังสวิรัติเช่นเดียวกัน เพราะ
ประเพณีชาวเนปาลบริเวณที่เป็นถิ่นฐานศากยวงศ์เขาไม่กินเนื้อสัตว์อยู่แล้วเป็นปกติ
อย่างไรก็ดีในพุทธบัญญัติมิได้กำหนดการกินมังสวิรัติ
ก็อาจด้วยเหตุที่ไม่ต้องการให้ตึงเกินไปนักสำหรับกุลบุตรของ ชาวพุทธที่จะเข้ามาบวช
ต่อเมื่อศรัทธาแล้วจึงค่อยปฏิบัติเอง[6]
นอกจากนี้ชาวมังสวิรัติยังมีความเชื่อว่า
การบริโภคอาหารมังสวิรัติให้คุณค่าทางด้านจิตใจ ได้แก่ ทำให้จิตใจสงบ เยือกเย็น
สุขุม บังเกิดเมตตาจิตอย่างเต็ม เปี่ยม อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว ไม่โกรธง่าย
ไม่มุ่งร้ายอาฆาตพยาบาท มีสติมั่นคงไม่หวั่นไหวในเหตุการณ์ ต่างๆ มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ชั้นสูงต่างสรรเสริญยินดี อวยพรให้ไม่มีช่องทางที่ วิญญาณต่างๆ
ทุกประเภทเข้าแอบแฝงหรือทำอันตรายใดๆ ได้[7]
แม้ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนจะหันมาบริโภคอาหารมังสวิรัติกันมากขึ้น
แต่เมื่อเทียบกับอัตรา พุทธศาสนิกชนทั้งประเทศแล้วยังมีจำนวนน้อยอยู่
การบริโภคอาหารมังสวิรัตินั้นมีคุณประโยชน์ มากมายหลายด้าน
และเป็นความเชื่อและความศรัทธาของมนุษย์แต่ละคนว่าควรจะต้องปฏิบัติใจใน การดำรงชีวิตการอยู่กิน
และผลของการปฏิบัติจะส่งผลดีต่อตนเองอย่างไร แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า
จะต้องเชื่อและศรัทธาเหมือนกันหมด จะเชื่ออะไรเชื่ออย่างไรและปฏิบัติอย่างไรขึ้นอยู่กับ
วิจารณญาณของเรา ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือความเชื่อ ความศรัทธาและปฏิบัติต่างๆ
จะต้องไม่ก่อเกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่นด้วย 
อย่างไรก็ตามผู้วิจัยเห็นด้วยกับการบริโภคอาหารมังสวิรัติ
เพราะการบริโภคเนื้อสัตว์ทำ ให้พบโรคที่เกิดจากการกินเนื้อสัตว์
การกินเนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์ใหญ่ตั้งแต่ ๕ ส่วนขึ้นไปของปริมาณ
อาหารที่บริโภคเข้าไปต่อสัปดาห์เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้ออักเสบได้
เพราะโปรตีนคอลาเจนใน เนื้อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่อและในเนื้อมีธาตุเหล็กสูงอาจจะสะสมในข้อ
ทำให้อนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นได้ คนที่กินเนื้อสัตว์มากๆ เสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้
เพราะเนื้อมี ไขมันอิ่มตัวสูง เพิ่มโคเลสเตอรอลในเลือด ทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
สมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ เพราะ เกิดการสร้างโปรตีนผิดปกติในสมอง เกิดปัญหาความจำเสื่อมลง
แต่วิตามิน สารคุณค่าพืชผัก และสาร ต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีฟีนอลส์ จะพบมากในผัก
ผลไม้ ช่วยป้องกันการสร้างโปรตีนผิดปกติใน สมอง การกินโปรตีนจากเนื้อแดงมากเกินไปจะมีผลเสียต่อกระดูก
ทำให้กระดูกโปร่งบางหรือกระดูก พรุน ซึ่งเกิดจากการย่อยโปรตีนทำให้เกิดภาวะกรดมากเกินที่ต้องขับออกทางไต
และก่อนขับออกต้อง มีการดึงด่าง โดยเฉพาะแคลเซียมจากกระดูกไปช่วยขับกรดออก ทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมมาก
ขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทเนื้อสัตว์
เป็นสาเหตุของโรคร้ายที่สำคัญมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน
โรคเก๊าท์ วัณโรค โรคลำไส้ โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต โรคถุงน้ำดี ฯลฯ
แม้เนื้อสัตว์จะอร่อย หอมหวานเหมือนดอกกุหลาบ แต่ก็มีหนามมาทิ่มแทงผู้ที่จะมา
เด็ดดอกไม้นั้นไปชม เนื่องจากในสัตว์ มีสิ่งสกปรกโสโครก เช่น ยูเรีย
(ผงผลึกสีขาวที่อยู่ในปัสสาวะ) และกรดยูริคในน้ำมันของเนื้อนั้น ที่น่าตกใจคือ
รสชาติที่หอมอร่อยของเนื้อสัตว์นั้น คือน้ำอันนี้นี่เอง
สรุปว่า ข้อถกเถียงเรื่องการบริโภคอาหารมังสวิรัติด้วยเหตุผลทางสังคม , ชีววิทยา,และศาสนา
ทั้งสามประเด็นล้วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางในการโต้แย้ง
ฝ่ายที่อ้างเหตุผลด้านนิเวศวิทยาว่า
มนุษย์ถูกกำหนดโดยธรรมชาติให้กินสัตว์เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศโลกเอาไว้
หรือเหตุผลด้านสุขภาพที่มนุษย์ยกขึ้นมาอ้างว่า
สัตว์เป็นแหล่งโปรตีนและวิตามินที่สำคัญสำหรับใช้ในการเจริญเติบโตของมนุษย์
ทั้งสองเหตุผลนี้ล้วนเป็นแนวคิดแบบยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง
เหตุผลทางด้านศาสนาเข้ามาอธิบายให้เห็นว่า
“การกินมังสวิรัติมิได้เป็นทางออกของปัญหา” แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวมนุษย์ที่มีความโลภ
โกรธ หลง ดังคำกล่าวของมหาตมะ คานธี ที่กล่าวไว้ว่า “ธรรมชาตินั้นเพียงพอที่จะเลี้ยงดูทุกชีวิต แต่ไม่มีสิ่งใดเพียงพอที่จะสนองความละโมบของคนแม้เพียงคนเดียวได้”[8]
ผู้วิจัยจึงต้องการหา
เหตุผลในมิติทางพระพุทธศาสนาเข้ามาอธิบายให้เห็นว่า “หากต้องการปรับเปลี่ยนมาบริโภคอาหารมังสวิรัติ การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งอย่างไรต่อมนุษย์ ดังนั้นเพื่อให้ปัญหาทางเรื่องการบริโภคอาหารมังสวิรัติได้รับการคลี่คลา
ผู้เขียนจึงหยิบยกเอาประเด็นดังกล่าวมาพิจารณาและหาคำตอบในทัศนะของพระพุทธศาสนาอย่างเป็นสัดส่วนเป็นเรื่องๆ ไป และนำเอาประเด็นที่ได้ตั้งไว้แล้วนั้นมาวิเคราะห์และสรุปผล พร้อมทั้งนำเสนอแนวคิดเรื่องการบริโภคอาหารมังสวิรัติเพื่อการพัฒนาชีวิต
และเสนอให้การบริโภคอาหารมังสวิรัติในพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่สังคมชาวพุทธควรนำมากำหนดเป็นนโยบายเพื่อคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่ดีทั้งคุณค่าภายนอกและภายในอย่างสมบูรณ์ในอนาคต


[1] สมภาร  พรมทา,บทความชุด “ความคิดพื้นฐานทางปรัชญาที่สำคัญของพระพุทธเจ้า”,วารสารปัญญา ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๖. หน้า ๓๓๕.
“ความคิดพื้นฐานทางปรัชญาที่สำคัญของพระพุทธเจ้า”,วารสารปัญญา ปีที่ ๓ ฉบับที่
๖ มีนาคม ๒๕๕๖. หน้า ๓๓๕.
                [2] สมภาร พรมทา, กิน : มุมมองของพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. (กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พรมทา, กิน : มุมมองของพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. (กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการคณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ ๒๕๔๗),หน้า ๑๒๔.
            [3] อ้างแล้ว.
                [4] ชาวฮันซา(Hunza)อาศัยอยู่เชิงเขาหิมาลัยตอนเหนือของประเทศปากีสถาน มีอายุขัยเฉลี่ย ๑๒๐ปี และมีจำนวนมากที่อายุเกิน ๑๓๐ ปีและ ๑๔๐ ปี โดยมีร่างกายแข็งแรง เดินได้ ทำงานได้ ชาวฮันซาไม่บริโภคเนื้อสัตว์ แต่มีโอกาสบริโภคเนื้อแพะเพียงปีละ ๑-๒ ครั้งเท่านั้นซึ่งจะมีในงานประเพณีประจำปี ชาวฮันซาบริโภคพืชผักวันละ ๑ กิโลกรัม ส่วนใหญ่เป็นของสด ชาวฮันซาไม่มีไฟฟ้า ไม่มีเตาแก๊สแม้แต่น้ำมันก๊าดและเทียนไขก็เป็นของต้องห้ามในดินแดนฮันซา การหุงหาอาหารจะทำเท่าที่จำเป็นเพราะเชื้อเพลิงคือไม้ฟืนเป็นของหายาก. อ้างใน, วิธีธรรมชาติของชาวฮันซา, มีอายุขัยเฉลี่ย ๑๒๐ปี และมีจำนวนมากที่อายุเกิน ๑๓๐ ปีและ ๑๔๐ ปี โดยมีร่างกายแข็งแรง
เดินได้ ทำงานได้ ชาวฮันซาไม่บริโภคเนื้อสัตว์ แต่มีโอกาสบริโภคเนื้อแพะเพียงปีละ
๑-๒ ครั้งเท่านั้นซึ่งจะมีในงานประเพณีประจำปี ชาวฮันซาบริโภคพืชผักวันละ ๑
กิโลกรัม ส่วนใหญ่เป็นของสด ชาวฮันซาไม่มีไฟฟ้า
ไม่มีเตาแก๊สแม้แต่น้ำมันก๊าดและเทียนไขก็เป็นของต้องห้ามในดินแดนฮันซา
การหุงหาอาหารจะทำเท่าที่จำเป็นเพราะเชื้อเพลิงคือไม้ฟืนเป็นของหายาก. อ้างใน, วิธีธรรมชาติของชาวฮันซา,
http://www.chlorophyll.tht.in/hunza.html. 6/2/2561.
             [5] ม. อุ. (ไทย) ๑๔/๒๙๐/๓๕๐.
(ไทย) ๑๔/๒๙๐/๓๕๐.
            [6] พระอภิชาติ  ปภสฺสโร (ทองดอนเหมือน)
(ทองดอนเหมือน), “วิเคราะห์แนวคิดการบริโภคมังสวิรัติตามทฤษฎีประโยชน์นิยม”วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต,
(บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย, ๒๕๕๙). หน้า ๗๙.
หน้า ๗๙.
            [7] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๘.
            [8] รสนา  โตสิตระกูล, ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว: ทางออกของเกษตรกรรมและอารยธรรม.(กรุงเทพมหานคร : โกมลคีมทอง. ๒๕๓๐). หน้า ๔.
ทางออกของเกษตรกรรมและอารยธรรม.(กรุงเทพมหานคร : โกมลคีมทอง. ๒๕๓๐). หน้า ๔.

วิเคราะห์เชิงปรัชญา พระอัครสาวก

  พระธาตุพนม บรมเจดีย์                                                                                                                      ...